ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วันพืชมงคล 2568 วันสำคัญของเกษตรกรไทย ถือเป็น “วันเกษตรกร” ประจำปี

สังคม
7 พ.ค. 68
16:58
446
Logo Thai PBS
วันพืชมงคล 2568 วันสำคัญของเกษตรกรไทย ถือเป็น “วันเกษตรกร” ประจำปี
ในวันพระราชพิธีพืชมงคล นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้เป็น “วันเกษตรกร” ประจำปี โดยในปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 และมีการมอบรางวัลประกาศเกียรติคุณให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรดีเด่นในสาขาต่างๆ

       “วันเกษตรกร” ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานในการประกอบพระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองแก่อาชีพของตน เนื่องด้วยการเกษตรเป็นภาคการผลิตและเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

โดยพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จะกำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งเป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนา อันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย  

กำหนดการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปี 2568

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2568

เวลา 07.00 น.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระอุโอสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีพืชมงคล

วันศกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568

เวลา 07.19 น.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาแรกนาขึ้นรถยนต์หลวงที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามออกจากพระบรมมหาราชวัง ไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง แล้วเดินขบวนอิสริยายศแห่ไปส่งที่โรงพิธีพราหมณ์ จุดธูปเทียนถวายสักการะเทวรูปสำคัญแล้ว พระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกายไว้พร้อม

เวลา 08.30 น.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพลับพลาที่ประทับ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

ฤกษ์พิธีไถหว่าน

ระหว่างเวลา 08.09 - 09.09 น.

การแต่งกาย

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2568 แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 แต่งกายเครื่องแบบปกติขาว

ผลการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่น

โดยในปีนี้ มีเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่น ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2568 ในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในประเภทต่าง ๆ ดังนี้

ปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน

จำนวน 3 สาขา ได้แก่

1. สาขาปราชญ์เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ร้อยตรี สุรชัย บุญคง จังหวัดปราจีนบุรี
2. สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายสวง คุ้มวิเชียร จังหวัดนครปฐม
3. สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ได้แก่ นายวันนา บุญกลม จังหวัดอำนาจเจริญ

เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

จำนวน 16 สาขาอาชีพ ได้แก่

1. อาชีพทำนา ได้แก่ นางสาวกรียา สุไชยแสงจังหวัดกาฬสินธุ์
2. อาชีพทำสวน ได้แก่ นายวสันต์ รื่นรมย์ จังหวัดระยอง
3. อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายเพทัย แตงโสภา จังหวัดสุพรรณบุรี
4. อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นางรุ่งลาวัลย์ เบ้าคำ จังหวัดสระแก้ว
5. อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางสาวนงนุช วงคง จังหวัดฉะเชิงเทรา 6. อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายอนุพงษ์ พิพัฒน์วัชราภรณ์ จังหวัดนครปฐม
7. อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายสมประสงค์ เนตรทิพย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
8. อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายณรงค์ แก้วมณี จังหวัดสตูล
9. อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายศักดิ์ชัย ตันอริยะมีศิริกุล จังหวัดราชบุรี
10. อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายสุนทร มีจำนงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
11. สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นางณัฐกานต์ ศรียาน จังหวัดสตูล
12. สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นางราตรี บัวพนัส จังหวัดนครสวรรค์
13. สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายจักรินทร์ โพธิ์พรม จังหวัดอุดรธานี
14. สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นางสาวณัฐรินี สกุลจงเกษมสุข จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
15. ที่ปรึกษากลุ่มยุวชนเกษตรกร ได้แก่ นายสุวิทย์ เกิดศรี จังหวัดสตูล 
16. สมาชิกกลุ่มยุวชนเกษตรกร ได้แก่ นายวัชรินทร์ มะณีนิล จังหวัดศรีสะเกษ

สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ

จำนวน 12 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มเกษตรกรทำนา กลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงาม จังหวัดอุบลราชธานี
2. กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนตลิ่งชัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
3. กลุ่มเกษตรกรทำไร่ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำไร่หนองกราด จังหวัดนครราชสีมา
4. กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่โคนมโคกก่อ จังหวัดมหาสารคาม
5. กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลบ้านแพรกเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
6. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาเวียง จังหวัดยโสธร
7. กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านหัววัง จังหวัดวัดสุพรรณบุรี
8. กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
9. สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำอ่างเก็บน้ำคลองหยา จังหวัดกระบี่
10. ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนนาแปลงใหญ่ตำบลเกาะแก้ว จังหวัดสุรินทร์
11. ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวอื่นๆ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหันเทา จังหวัดอุดรธานี 
12. วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกกล้วยหอมทองและไม้ผลปลอดภัย จังหวัดพัทลุง 

สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ

จำนวน 7 สหกรณ์ ได้แก่

1. สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรปง จำกัด จังหวัดพะเยา
2. สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมเทพสถิต จำกัด จังหวัดชัยภูมิ
3. สหกรณ์ประมง ได้แก่ สหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัด จังหวัดสมุทรสงคราม 4. สหกรณ์ผู้ผลิตยางพารา ได้แก่ สหกรณ์ชาวสวนยางพาราภูผาหมอก จำกัด จังหวัดศรีสะเกษ
5. สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจพังงา จำกัด จังหวัดพังงา
6. สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ร้านสหกรณ์โรงพยาบาลพัทลุง จำกัด จังหวัดพัทลุง 
7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเขื่อนเพชรโค้งข่อย จำกัด จังหวัดเพชรบุรี

อ่านข่าว :

เดือนพฤษภาคมมีวันแรงงาน - ฉัตรมงคล - พืชมงคล - วิสาขบูชา ธนาคารหยุดวันไหนบ้าง ?

เหนื่อยล้า เครียดนอนไม่หลับ เช็กร่างกายกำลังขาด "แมกนีเซียม" โดยไม่รู้ตัวหรือไม่

จู่ ๆ ก็ "ง่วงฉับพลัน" เรื่องเล็ก ๆ ที่บ่งบอกปัญหาใหญ่ในสมอง

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง