ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สัญญาณความขัดแย้ง "เพื่อไทย-ภูมิใจไทย"

การเมือง
13 พ.ค. 68
12:38
408
Logo Thai PBS
สัญญาณความขัดแย้ง "เพื่อไทย-ภูมิใจไทย"
อ่านให้ฟัง
05:06อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2569 กำลังจะเข้าสภาเพื่อพิจารณาในปลายเดือนนี้แต่ทว่าก็มีกระแสข่าวว่า พรรคภูมิใจไทยจะคว่ำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณดังกล่าว ส่งผลให้ต้องยุบสภาซึ่งก็ทำให้แกนนำพรรคเพื่อไทยต้องออกมายืนยันว่า ไม่มีการยุบสภาอย่างแน่นอน หรือกระแสข่าวที่ว่านี้ เป็นเพียงเกมต่อรองทางการเมือง ของพรรคสีแดง และน้ำเงินเท่านั้น

มองกันว่า คดีฮั้วเลือก สว.เมื่อปี 2567 กำลังกลายเป็นประเด็น ที่ทำให้ทั้งพรรคเพื่อไทย และ พรรคภูมิใจไทย เกิดความแตกหักหรือไม่ เมื่อคดีฮั้วเลือก สว. 2567 มี สว.สายสีน้ำเงิน ที่มีความเชื่อมโยงกับพรรคภูมิใจไทย ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษดีเอสไอ ที่อยู่ในความดูแลของ พ.ต.ท.ทวี สอดส่อง นำหมายเรียกไปติดเอาไว้หน้าบ้าน สว. หลายสิบคน ที่ทำให้พรรคภูมิใจไทย มีความไม่พอใจ เกิดขึ้นจนเกิดกระแสข่าวว่า การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2569 ที่จะเข้าสภาฯ ในปลายเดือน พ.ค.นี้ อาจจะเป็นเหตุให้ถึงขั้นยุบสภาได้ถ้า ร่าง กฎหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายการเงินไม่ผ่านสภาฯ

ซึ่งก็ทำให้บรรดาแกนนำพรรค และ โฆษกพรรคเพื่อไทย นายดนุพร ปุณณกันต์ ออกมาย้ำว่าจะไม่มีการยุบสภาฯ เกิดขึ้นในช่วงนี้ หรืออนาคตอันใกล้นี้และมั่นใจว่าเสถียรภาพของรัฐบาลยังมั่นคง โดยพรรคร่วมรัฐบาลยังมีความสัมพันธ์ที่ดีแม้ว่าบางเรื่องอาจมีความเห็นต่างกันบ้าง แต่ก็สามารถพูดคุยกันได้

ด้านพรรคภูมิใจไทย แนน บุณย์ธิดา สมชัย สส. อุบลราชธานี ในฐานะโฆษกพรรคภูมิใจไทย ก็ออกมากลบกระแสข่าว ว่า พรรคภูมิใจไทยในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลมีรัฐมนตรีที่กำกับดูกระทรวงซึ่งมีส่วนร่วมจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณไม่มีเหตุที่จะไม่สนับสนุนการจัดสรรงบประมาณเพื่อขับเคลื่อน เพื่อพัฒนา และแก้ปัญหาประเทศ จึงขอปฏิเสธข่าวดังกล่าวว่าไม่เป็นความจริง

และหากย้อนไปไม่นาน ความขัดแย้งที่ซ่อน ระหว่าง พรรคสีแดง กับ น้ำเงิน ที่มีมาก่อนหน้านี้ด้วยเรื่อง การออกกฎหมายเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ที่เลขาพรรคภูมิใจไทย ออกมาประกาศกลางสภาว่าไม่เอา กฎหมายกาสิโนนี้ จึงมีการมองกันว่า เป็นความขัดแย้งที่วันรอปะทุหรือไม่ หรือ รอวัดกันในวันโหวตร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 ที่เสียงของพรรคภูมิใจไทยมี 69 เสียง

โดยรัฐบาลปัจจุบัน มี 324-325 เสียง จาก 15 พรรคการเมือง ขณะที่ฝ่ายค้าน มีประมาณ 170 เสียง ซึ่งเสียงเกินกึ่งหนึ่งคือ 247 เสียง

ซึ่งหากตัดพรรคภูมิใจไทยทิ้งไป 69 เสียง รัฐบาลเหลือประมาณ 255 เสียง ซึ่งก็ยังเป็นเสียงข้างมากในสภาอยู่ ไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับการผ่านงบประมาณ หรือเดินหน้านโยบายต่างๆ แค่อาจต้องอึดอัดเล็กน้อยกับเกมในสภา ที่ค่อนข้างตึงเครียด ของพรรคเพื่อไทย

ขณะเดียวกัน มีการมองกันว่าถ้าหากพรรคเพื่อไทย ไม่เอาพรรคภูมิใจไทย หันไปดูพรรคกล้าธรรมของ ของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า พันธมิตรของเพื่อไทย ที่นับวันก็มี สส.ไหลเข้ามาเพิ่มเรื่อยๆ ล่าสุด กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ สส.พรรคประชาชน จ.ชลบุรี นัดสื่อแถลงจุดแตกหักขอแยกทางพรรคประชาชน และมาซบกับพรรคกล้าธรรม 

ซึ่งนอกจาก สส.กฤษณ์ มีข่าวว่ามีอีก 2-3 ราย ที่จะย้ายเข้ามาอยู่กับพรรคกล้าธรรมอีก ทำให้จำนวน สส.เพิ่มมากขึ้น

จึงมองว่าเป็นประเด็นการเมือง ที่น่าติดตามของ 2 พรรคร่วมรัฐบาล ระหว่าง พรรคเพื่อไทย-ภูมิใจไทย นี้ จะกล้าเสี่ยง แตกหักกันจริงหรือไม่

แต่ที่ว่านี้ยังไม่นับรวมปมร้อน ๆ คดีชั้น 14 ของ นายทักษิณ ชินวัตร ที่อยู่การพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และองค์กรอิสระอีก หลังจากแพทยสภามีมติเอาผิดกับแพทย์ 3 คน แล้ว ว่า นายทักษิณไม่ได้ป่วยหนัก และคดีอาญา มาตรา 112 ที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์-จำเลย ในเดือน ก.ค.นี้แล้ว

อ่านข่าว :

"นฤมล" รับ "กล้าธรรม" เนื้อหอมหลังข่าว สส.แห่ซบ ปัดใช้เงิน 55 ล้านดูด

"กฤษฎิ์" แถลงเปิดตัวร่วมกันงาน "กล้าธรรม" พรุ่งนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง