ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ห้องเรียนวิทยาศาสตร์บ้านฉัน จากการเรียนรู้สู่การเฝ้าระวัง

ออกอากาศ8 มี.ค. 68

เรียนวิทยาศาสตร์ไปทำไม คงเป็นคำถามของใครหลายคน แต่ตอนนี้ดูเหมือนเด็กนักเรียนที่ จ.น่าน ได้คำตอบแล้ว เพราะวิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวเรา การเรียนวิทย์ให้สนุก ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน การปรับวิธีการสอนในระบบของสถานศึกษาสำคัญมาก วันนี้เราเห็นแผนการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่สอดรับกับวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง ที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่จริงในชุมชน ที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โรงเรียนก็มีความพยายามปรับหลักสูตร ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์กระแสหลักผนวกเข้ากับวิทยาศาสตร์พลเมือง ที่ทั้งครูและเด็กได้เรียนรู้ไปด้วยกัน นอกจากจะเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันยังเข้าใจ รู้จักชุมชนของตัวเองเพิ่มขึ้นอีกด้วย สำคัญคือคุณครูและชุมชนที่เป็นพี่เลี้ยงหลักในพื้นที่ ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ปัญหาจาก พื้นที่จริง และได้ออกแบบกระบวนการในการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งตอบโจทย์เรื่องการเรียนรู้ในพื้นที่ รู้เท่าทันปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นจุดเริ่มต้นให้เด็ก ๆ หวงแหนในท้องถิ่นและร่วมรักษาชุมชนของตน อีกทั้งก็เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์

ชวนคุณกันต่อว่าเมื่อเกิดการเรียนรู้รูปแบบนี้ พยายามผลักดันออกแบบร่วมกับหลักสูตรแกนกลางจะไปต่ออย่างไร หลักสูตรการเรียนรู้การเฝ้าระวังชุมชน ร่วมเฝ้าสังเกตชุมชนไปด้วย กับแขกรับเชิญ 2 ท่าน ได้แก่ สมพร เพ็งค่ำ นักวิชาการและผู้จัดการชุดโครงการวิจัยเชิงปฎิบัติการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนกรณีมลพิษข้ามแดนจากโรงไฟฟ้าหงสา และ ปรานอม จินะสาม ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

ติดตามได้ในรายการคุณเล่าเราขยาย ตอน โจทย์ที่อยู่อาศัยบนที่ดินรถไฟ วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 17.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

เรียนวิทยาศาสตร์ไปทำไม คงเป็นคำถามของใครหลายคน แต่ตอนนี้ดูเหมือนเด็กนักเรียนที่ จ.น่าน ได้คำตอบแล้ว เพราะวิทยาศาสตร์อยู่รอบตัวเรา การเรียนวิทย์ให้สนุก ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน การปรับวิธีการสอนในระบบของสถานศึกษาสำคัญมาก วันนี้เราเห็นแผนการการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่สอดรับกับวิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง ที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่จริงในชุมชน ที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โรงเรียนก็มีความพยายามปรับหลักสูตร ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์กระแสหลักผนวกเข้ากับวิทยาศาสตร์พลเมือง ที่ทั้งครูและเด็กได้เรียนรู้ไปด้วยกัน นอกจากจะเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันยังเข้าใจ รู้จักชุมชนของตัวเองเพิ่มขึ้นอีกด้วย สำคัญคือคุณครูและชุมชนที่เป็นพี่เลี้ยงหลักในพื้นที่ ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ปัญหาจาก พื้นที่จริง และได้ออกแบบกระบวนการในการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งตอบโจทย์เรื่องการเรียนรู้ในพื้นที่ รู้เท่าทันปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นจุดเริ่มต้นให้เด็ก ๆ หวงแหนในท้องถิ่นและร่วมรักษาชุมชนของตน อีกทั้งก็เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์

ชวนคุณกันต่อว่าเมื่อเกิดการเรียนรู้รูปแบบนี้ พยายามผลักดันออกแบบร่วมกับหลักสูตรแกนกลางจะไปต่ออย่างไร หลักสูตรการเรียนรู้การเฝ้าระวังชุมชน ร่วมเฝ้าสังเกตชุมชนไปด้วย กับแขกรับเชิญ 2 ท่าน ได้แก่ สมพร เพ็งค่ำ นักวิชาการและผู้จัดการชุดโครงการวิจัยเชิงปฎิบัติการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชนกรณีมลพิษข้ามแดนจากโรงไฟฟ้าหงสา และ ปรานอม จินะสาม ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

ติดตามได้ในรายการคุณเล่าเราขยาย ตอน โจทย์ที่อยู่อาศัยบนที่ดินรถไฟ วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 17.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย