ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง

ออกอากาศ10 เม.ย. 68

28 มีนาคม ค.ศ. 2025 มัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของเมียนมาสั่นสะเทือน ก่อนที่อาคารหลายแห่งจะถล่มลงมาต่อหน้าต่อตา จากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด จุดศูนย์กลางอยู่ไม่ไกลมากนักจากมัณฑะเลย์ สะเทือนรุนแรงจนสะพานขาด ถนนยุบ ซากปรักหักพังเกลื่อนเมือง แรงสั่นสะเทือนกระจายไปถึงกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของเมียนมา ที่ได้รับความเสียหายหนักหลายจุด

หลายพื้นที่ยังจมอยู่ในความมืด ไร้ไฟฟ้า ไร้ที่พึ่ง ในประเทศที่ยังไม่พ้นจากสงครามกลางเมือง แผ่นดินไหวจึงกลายเป็นอีกวิกฤติ ที่ซ้ำเติมวิกฤติในวันที่เมียนมาเปราะบางที่สุด

ยักษ์หลับใต้ผืนดินเมียนมา

เมียนมาเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มี "ความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยา" มากที่สุดในโลก จากการตั้งอยู่บนจุดรวมของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเชีย

แผ่นเปลือกโลกคือ ชั้นบนของโลกที่แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ต่อกันอยู่เหมือนจิ๊กซอว์ โอบอุ้มได้ทั้งพื้นทวีปและมหาสมุทร โดยเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เช่นบางแผ่นเคลื่อนขนานกัน แต่บางแผ่นก็เคลื่อนอยู่ด้านบนหรือล่างของอีกแผ่น

โดยเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่และทำให้ขอบชนกับแผ่นอื่นจะเกิดแรงเครียด เมื่อแรงเครียดสะสมมากขึ้น ๆ ก็สามารถปล่อยพลังออกมาได้ทันทีทันใด ทำให้เกิดคลื่นแรงดันขยายตัวไปบนพื้นผิวโลกในรูปแบบของแผ่นดินไหว

ประเทศหรือเมืองที่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อน ซึ่งหมายถึงรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก จุดที่การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเกิดขึ้น ก็จะเสี่ยงเป็นพิเศษต่อแผ่นดินไหว

โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดเพราะแผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนชนแผ่นยูเรเชีย

และทำให้รอยเลื่อนซะไกง์ (รอยเลื่อนสะกาย) รอยเลื่อนมีพลังที่ยังไม่เชื่อมสนิท ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกย่อยในอดีต 2 แผ่น คือ แผ่นซุนดา และแผ่นพม่า และปัจจุบันถือเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นยูเรเชีย เกิดขยับและเลื่อนตัวตามไปด้วย

รอยเลื่อนซะไกง์มีความยาวถึง 1,200 กิโลเมตร ทอดตัวจากเหนือลงใต้ ผ่ากลางเมียนมา ผ่านหลายเมืองสำคัญ ตั้งแต่มิตจีนา มัณฑะเลย์ ตองยี เนปิดอว์ พะโค ย่างกุ้ง และต่อยาวลงไปในทะเลอันดามัน ด้วยความเป็นรอยเลื่อนแนวตรง แผ่นดินไหวจึงแผ่ขยายเป็นบริเวณกว้างไปตามความยาวของรอยเลื่อนได้

เมียนมามีรอยเลื่อนที่ยังมีพลังอยู่หลายจุดแต่รอยเลื่อนซะไกง์คือรอยเลื่อนที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูงที่สุด จนถูกเปรียบเสมือนยักษ์ที่นอนหลับอยู่กลางแผ่นดิน เมื่อตื่นและปล่อยพลัง ความเสียหายจึงรุนแรงและกว้างขวาง

แผ่นดินไหว วิกฤตซ้ำวิกฤต

ระหว่างปี1429-1991 หรือช่วงเวลา 562 ปีรอยเลื่อนซะไกง์เคยสำแดงพลังจนเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 7 ขึ้นไปมาแล้ว 70 ครั้งใหญ่ที่สุดคือแรงสั่นสะเทือนระดับ 8 ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ในปี 1912

ส่วนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 ที่ผ่านมา สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ หรือ USGS ชี้ว่าแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ครั้งนี้ ปล่อยพลังออกมามากยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มเมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2

และแผ่นดินไหวภัยพิบัติล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านเกิดในยุคของรัฐบาลทหารที่นำโดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย หลังก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางอองซานซูจี ในปี 2021

แผ่นดินไหวจึงกลายเป็นอีกวิกฤตที่ซ้ำเติมวิกฤตในเมียนมา

ร่วมติดตามกับคุณ กรุณา บัวคำศรี ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง วันพุธที่ 9 เมษายน 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-

28 มีนาคม ค.ศ. 2025 มัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับสองของเมียนมาสั่นสะเทือน ก่อนที่อาคารหลายแห่งจะถล่มลงมาต่อหน้าต่อตา จากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด จุดศูนย์กลางอยู่ไม่ไกลมากนักจากมัณฑะเลย์ สะเทือนรุนแรงจนสะพานขาด ถนนยุบ ซากปรักหักพังเกลื่อนเมือง แรงสั่นสะเทือนกระจายไปถึงกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของเมียนมา ที่ได้รับความเสียหายหนักหลายจุด

หลายพื้นที่ยังจมอยู่ในความมืด ไร้ไฟฟ้า ไร้ที่พึ่ง ในประเทศที่ยังไม่พ้นจากสงครามกลางเมือง แผ่นดินไหวจึงกลายเป็นอีกวิกฤติ ที่ซ้ำเติมวิกฤติในวันที่เมียนมาเปราะบางที่สุด

ยักษ์หลับใต้ผืนดินเมียนมา

เมียนมาเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มี "ความเคลื่อนไหวทางธรณีวิทยา" มากที่สุดในโลก จากการตั้งอยู่บนจุดรวมของแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเชีย

แผ่นเปลือกโลกคือ ชั้นบนของโลกที่แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ต่อกันอยู่เหมือนจิ๊กซอว์ โอบอุ้มได้ทั้งพื้นทวีปและมหาสมุทร โดยเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เช่นบางแผ่นเคลื่อนขนานกัน แต่บางแผ่นก็เคลื่อนอยู่ด้านบนหรือล่างของอีกแผ่น

โดยเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่และทำให้ขอบชนกับแผ่นอื่นจะเกิดแรงเครียด เมื่อแรงเครียดสะสมมากขึ้น ๆ ก็สามารถปล่อยพลังออกมาได้ทันทีทันใด ทำให้เกิดคลื่นแรงดันขยายตัวไปบนพื้นผิวโลกในรูปแบบของแผ่นดินไหว

ประเทศหรือเมืองที่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อน ซึ่งหมายถึงรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก จุดที่การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกเกิดขึ้น ก็จะเสี่ยงเป็นพิเศษต่อแผ่นดินไหว

โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดเพราะแผ่นเปลือกโลกอินเดียเคลื่อนชนแผ่นยูเรเชีย

และทำให้รอยเลื่อนซะไกง์ (รอยเลื่อนสะกาย) รอยเลื่อนมีพลังที่ยังไม่เชื่อมสนิท ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกย่อยในอดีต 2 แผ่น คือ แผ่นซุนดา และแผ่นพม่า และปัจจุบันถือเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นยูเรเชีย เกิดขยับและเลื่อนตัวตามไปด้วย

รอยเลื่อนซะไกง์มีความยาวถึง 1,200 กิโลเมตร ทอดตัวจากเหนือลงใต้ ผ่ากลางเมียนมา ผ่านหลายเมืองสำคัญ ตั้งแต่มิตจีนา มัณฑะเลย์ ตองยี เนปิดอว์ พะโค ย่างกุ้ง และต่อยาวลงไปในทะเลอันดามัน ด้วยความเป็นรอยเลื่อนแนวตรง แผ่นดินไหวจึงแผ่ขยายเป็นบริเวณกว้างไปตามความยาวของรอยเลื่อนได้

เมียนมามีรอยเลื่อนที่ยังมีพลังอยู่หลายจุดแต่รอยเลื่อนซะไกง์คือรอยเลื่อนที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูงที่สุด จนถูกเปรียบเสมือนยักษ์ที่นอนหลับอยู่กลางแผ่นดิน เมื่อตื่นและปล่อยพลัง ความเสียหายจึงรุนแรงและกว้างขวาง

แผ่นดินไหว วิกฤตซ้ำวิกฤต

ระหว่างปี1429-1991 หรือช่วงเวลา 562 ปีรอยเลื่อนซะไกง์เคยสำแดงพลังจนเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 7 ขึ้นไปมาแล้ว 70 ครั้งใหญ่ที่สุดคือแรงสั่นสะเทือนระดับ 8 ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ในปี 1912

ส่วนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 ที่ผ่านมา สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ หรือ USGS ชี้ว่าแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ครั้งนี้ ปล่อยพลังออกมามากยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มเมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2

และแผ่นดินไหวภัยพิบัติล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านเกิดในยุคของรัฐบาลทหารที่นำโดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย หลังก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางอองซานซูจี ในปี 2021

แผ่นดินไหวจึงกลายเป็นอีกวิกฤตที่ซ้ำเติมวิกฤตในเมียนมา

ร่วมติดตามกับคุณ กรุณา บัวคำศรี ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน เมียนมา จุดเสี่ยงภัยภายใต้การเมืองที่เปราะบาง วันพุธที่ 9 เมษายน 2568 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย