ในปัจจุบัน แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้พัฒนากลโกงให้ทันสมัยและซับซ้อนมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อมาหลอกลวง สถิติจากข้อมูลล่าสุดพบว่า มีคนที่ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกกว่า 6 แสนคดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเกือบ 7 หมื่นล้านบาท แม้จะมีการเตือนภัยอย่างแพร่หลาย แต่ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ก็ยังมีคนตกเป็นเหยื่ออย่างต่อเนื่อง
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ยุคใหม่มีจุดแข็งคือการรู้จุดอ่อนและข้อมูลของเหยื่ออย่างละเอียด พร้อมใช้จิตวิทยาสร้างความกลัว กดดัน และเร่งรัดให้เหยื่อตัดสินใจเร็ว จนไม่ทันได้ไตร่ตรอง มุกที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์นิยมใช้มีหลากหลาย เช่น
จากการทดลองในรายการ ได้แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนหลักที่ทำให้คนตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แม้จะรู้เท่าทันข่าวสารและเคยได้ยินเรื่องราวแก๊งคอลเซ็นเตอร์มาก่อน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนหลงเชื่อ ได้แก่
การป้องกันตัวจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทำได้โดยรู้เท่าทันเทคนิคและจุดสังเกตของมิจฉาชีพ ดังนี้
แก๊งคอลเซ็นเตอร์มักจะพูดเรื่องเงินเป็นหลัก เช่น อ้างว่าคุณติดหนี้ มีปัญหากับบัญชีธนาคาร หรือมีพัสดุผิดกฎหมาย จากนั้นจะใช้คำพูดชวนให้สับสนเพื่อหลอกให้เปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น
ให้ระวังเบอร์โทรที่ไม่คุ้นหรือเบอร์แปลก ๆ จากต่างประเทศหรือในประเทศ เพราะปัจจุบันมิจฉาชีพสามารถใช้เทคโนโลยีแปลงสัญญาณโทรศัพท์เป็นหมายเลขของหน่วยงานที่แอบอ้างได้ หากสงสัย ให้วางสายและโทรกลับไปที่หมายเลขทางการของหน่วยงานนั้นเพื่อตรวจสอบ
หลายคนเข้าใจผิดว่าการคุยเล่นกับมิจฉาชีพที่โทรมาไม่เป็นอันตราย แต่ความจริงแล้ว การคุยเล่นแม้เพียง 1-2 นาที อาจทำให้มิจฉาชีพได้เสียงของคุณไปใช้เทคโนโลยี AI ปลอมแปลงเนื้อหา แล้วโทรไปหลอกคนรอบข้าง ญาติสนิทมิตรสหาย หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ลูกหลาน
หากเจอสถานการณ์ที่น่าสงสัย ให้ตั้งสติและปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้:
เทคนิคของแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีการอัพเดทและพัฒนาตลอดเวลา การรู้เท่าทันและระมัดระวังจะช่วยปกป้องตัวเองและคนรอบข้างจากการถูกหลอกลวงได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนรุ่นไหน การทำความเข้าใจและแชร์ข้อมูลเตือนภัยอาจช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
ติดตามชมได้ในรายการ TIC TAC TECH เรื่องไม่เล็กเทคโนโลยี วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2568 เวลา 06.05 - 06.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ในปัจจุบัน แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้พัฒนากลโกงให้ทันสมัยและซับซ้อนมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อมาหลอกลวง สถิติจากข้อมูลล่าสุดพบว่า มีคนที่ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกกว่า 6 แสนคดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเกือบ 7 หมื่นล้านบาท แม้จะมีการเตือนภัยอย่างแพร่หลาย แต่ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ก็ยังมีคนตกเป็นเหยื่ออย่างต่อเนื่อง
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ยุคใหม่มีจุดแข็งคือการรู้จุดอ่อนและข้อมูลของเหยื่ออย่างละเอียด พร้อมใช้จิตวิทยาสร้างความกลัว กดดัน และเร่งรัดให้เหยื่อตัดสินใจเร็ว จนไม่ทันได้ไตร่ตรอง มุกที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์นิยมใช้มีหลากหลาย เช่น
จากการทดลองในรายการ ได้แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนหลักที่ทำให้คนตกเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แม้จะรู้เท่าทันข่าวสารและเคยได้ยินเรื่องราวแก๊งคอลเซ็นเตอร์มาก่อน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนหลงเชื่อ ได้แก่
การป้องกันตัวจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ทำได้โดยรู้เท่าทันเทคนิคและจุดสังเกตของมิจฉาชีพ ดังนี้
แก๊งคอลเซ็นเตอร์มักจะพูดเรื่องเงินเป็นหลัก เช่น อ้างว่าคุณติดหนี้ มีปัญหากับบัญชีธนาคาร หรือมีพัสดุผิดกฎหมาย จากนั้นจะใช้คำพูดชวนให้สับสนเพื่อหลอกให้เปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น
ให้ระวังเบอร์โทรที่ไม่คุ้นหรือเบอร์แปลก ๆ จากต่างประเทศหรือในประเทศ เพราะปัจจุบันมิจฉาชีพสามารถใช้เทคโนโลยีแปลงสัญญาณโทรศัพท์เป็นหมายเลขของหน่วยงานที่แอบอ้างได้ หากสงสัย ให้วางสายและโทรกลับไปที่หมายเลขทางการของหน่วยงานนั้นเพื่อตรวจสอบ
หลายคนเข้าใจผิดว่าการคุยเล่นกับมิจฉาชีพที่โทรมาไม่เป็นอันตราย แต่ความจริงแล้ว การคุยเล่นแม้เพียง 1-2 นาที อาจทำให้มิจฉาชีพได้เสียงของคุณไปใช้เทคโนโลยี AI ปลอมแปลงเนื้อหา แล้วโทรไปหลอกคนรอบข้าง ญาติสนิทมิตรสหาย หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ลูกหลาน
หากเจอสถานการณ์ที่น่าสงสัย ให้ตั้งสติและปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้:
เทคนิคของแก๊งคอลเซ็นเตอร์มีการอัพเดทและพัฒนาตลอดเวลา การรู้เท่าทันและระมัดระวังจะช่วยปกป้องตัวเองและคนรอบข้างจากการถูกหลอกลวงได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนรุ่นไหน การทำความเข้าใจและแชร์ข้อมูลเตือนภัยอาจช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
ติดตามชมได้ในรายการ TIC TAC TECH เรื่องไม่เล็กเทคโนโลยี วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2568 เวลา 06.05 - 06.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live