เมื่อ ปี พ.ศ 2552 มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้ร่วมกันนำแนวทางการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่เรียกกันว่า "ศาสตร์พระราชา" และรูปแบบการพัฒนาของโครงการพัฒนาดอยตุง ที่เรียกกันว่า "ตำราแม่ฟ้าหลวง" เข้าพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จังหวัดน่าน เป็นโครงการนำร่อง เป็นการปฎิวัติการพัฒนาที่เคยทำกันมาอย่างสิ้นเชิง เป็นการพัฒนาที่ยึดโยงตามปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ได้ทรงทำมาตลอดพระชนม์ชีพ
โดยมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้บูรณาการเอาองค์ความรู้จากการพัฒนาของในหลวง รัชกาลที่ 9 และดอยตุงโมเดล เข้าไปดำเนินการในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เป็นอันดับแรก เพราะเป็นพื้นที่ต้นน้ำน่าน สายน้ำสำคัญของประเทศ ที่กำลังถูกเปลี่ยนแปลงเป็นภูเขาหัวโล้นเพื่อทำไร่ข้าวโพด
โครงการปลูกป่า สร้างคน บนวิถีพอเพียงจึงเกิดขึ้น จากการสำรวจปัญหาและความต้องการของชาวบ้านทั้งหมด 15 หมู่บ้านทุกหลังคาเรือน ทำให้ทราบว่า พวกเขาประสบปัญหาเรื่องน้ำ และองค์ความรู้ในการทำเกษตร ยากจน และข้าวไม่พอกิน ส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้ในอนาคต ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับป่าต้นน้ำ เพียงชั่วเวลาไม่ถึง 3 ปี ผืนป่าเริ่มฟื้นคืนมาอย่างเห็นได้ชัด ชาวบ้านเริ่มมีผลผลิตเหลือ เริ่มแบ่งปันกัน จนเข้าสู่การ "อยู่อย่างพอเพียง"
ติดตามชมรายการศาสตร์พระราชา ตำราสร้างชีวิต วันที่ 28 ตุลาคม 2560 เวลา 23.00 – 24.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เมื่อ ปี พ.ศ 2552 มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้ร่วมกันนำแนวทางการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่เรียกกันว่า "ศาสตร์พระราชา" และรูปแบบการพัฒนาของโครงการพัฒนาดอยตุง ที่เรียกกันว่า "ตำราแม่ฟ้าหลวง" เข้าพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จังหวัดน่าน เป็นโครงการนำร่อง เป็นการปฎิวัติการพัฒนาที่เคยทำกันมาอย่างสิ้นเชิง เป็นการพัฒนาที่ยึดโยงตามปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ได้ทรงทำมาตลอดพระชนม์ชีพ
โดยมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้บูรณาการเอาองค์ความรู้จากการพัฒนาของในหลวง รัชกาลที่ 9 และดอยตุงโมเดล เข้าไปดำเนินการในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เป็นอันดับแรก เพราะเป็นพื้นที่ต้นน้ำน่าน สายน้ำสำคัญของประเทศ ที่กำลังถูกเปลี่ยนแปลงเป็นภูเขาหัวโล้นเพื่อทำไร่ข้าวโพด
โครงการปลูกป่า สร้างคน บนวิถีพอเพียงจึงเกิดขึ้น จากการสำรวจปัญหาและความต้องการของชาวบ้านทั้งหมด 15 หมู่บ้านทุกหลังคาเรือน ทำให้ทราบว่า พวกเขาประสบปัญหาเรื่องน้ำ และองค์ความรู้ในการทำเกษตร ยากจน และข้าวไม่พอกิน ส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้ในอนาคต ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับป่าต้นน้ำ เพียงชั่วเวลาไม่ถึง 3 ปี ผืนป่าเริ่มฟื้นคืนมาอย่างเห็นได้ชัด ชาวบ้านเริ่มมีผลผลิตเหลือ เริ่มแบ่งปันกัน จนเข้าสู่การ "อยู่อย่างพอเพียง"
ติดตามชมรายการศาสตร์พระราชา ตำราสร้างชีวิต วันที่ 28 ตุลาคม 2560 เวลา 23.00 – 24.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live