รัฐมานิปูร์ สกัดชาวเมียนมา ไม่ให้เข้าหลบภัยในอินเดีย
การปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมของทหาร ตำรวจเมียนมา ที่รุนแรงขึ้นทุกวัน ยิงไม่เลือกหน้า ไม่เลือกสถานที่ มีทั้งยิงเข้าไปกลางพิธีศพ ขณะที่ประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยกำลังร่วมไว้อาลัยให้กับผู้ชุมนุมที่เสียชีวิต รวมทั้งตามไล่ล่า ไล่ยิงผู้ชุมนุมที่หนีเข้าไปหลบในโรงพยาบาล และใช้เครื่องบินรบทิ้งระเบิดถล่มหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงใกล้พรมแดนไทยด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นเหตุให้มีการอพยพลี้ภัยออกจากเมียนมาเพิ่มมากขึ้นทุกวัน แต่ความพยายามของพวกเขาก็ไม่ได้ราบรื่น
The Time of India รายงานว่า กระทรวงมหาดไทยรัฐบาลท้องถิ่นรัฐมานิปูร์ ได้มีหนังสือแจ้งนายอำเภอในพื้นที่ติดพรมแดนเมียนมา ทั้ง 5 อำเภอ ไม่ให้อำนวยความสะดวกเปิดพรมแดนให้ชาวเมียนมาที่หนีภัยการปราบปรามของรัฐบาลทหาร เข้าประเทศอินเดีย ยกเว้นกรณีผู้ได้รับบาดเจ็บ ให้เจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือรักษาพยาบาลตามหลักมนุษยธรรม
หนังสือของกระทรวงมหาดไทยรัฐมานิปูร์ ที่แจ้งไปยังนายอำเภอ 5 ท้องที่ เมื่อวันจันทร์ (29 มี.ค. 64) มีคำสั่งห้ามมิให้มีการเปิดค่ายรองรับผู้อพยพ จัดหาอาหารและที่พัก ให้กับชาวเมียนมา รวมทั้งไม่อนุญาตให้องค์กรภาคประชาสังคมเดินทางเข้าพื้นที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเมียนมา
“เจ้าหน้าที่รัฐมานิปูร์ มีหน้าที่แจ้งชาวเมียนมา ด้วยกิริยาสุภาพว่า อินเดียไม่มีนโยบายรับผู้ลี้ภัย และปฏิเสธไม่ให้พวกเขาเดินทางเข้าประเทศอินเดีย” สื่ออินเดียอ้างข้อความในคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยรัฐมานิปูร์
กระทรวงมหาดไทยรัฐมานิปูร์ แจ้งให้นายอำเภอทั้ง 5 ท้องถิ่น รายงานผลการปฏิบัติตามคำสั่งในวันอังคารที่ 30 มีนาคม
Time of India รายงานว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ชาวเมียนมากลุ่มหนึ่งซึ่งมีผู้หญิงและเด็กรวมอยู่ด้วยพยายามเข้าประเทศอินเดีย ผ่านชายแดนด้าน Moreh-Tamu แต่ถูกเจ้าหน้าที่อินเดียผลักดันกลับเมียนมา
ก่อนหน้านี้กระทรวงมหาดไทยรัฐบาลกลางอินเดีย มีหนังสือสั่งการถึงรัฐบาลท้องถิ่น 4 รัฐที่มีพรมแดนติดประเทศเมียนมา ย้ำว่า อินเดียไม่มีนโยบายเปิดรับผู้อพยพ ซึ่งนายโซรัมทังกา มุขมนตรีรัฐมิโซรัม ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ เขาได้ทำหนังสือถึงนายนเรนทรา โมดี้ นายกรัฐมนตรีอินเดีย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ขอให้ทบทวนนโยบาย และให้ความช่วยเหลือผู้อพยพชาวเมียนมาด้วยเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม
“ผมตระหนักดีว่ารัฐบาลอินเดียต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศด้วยความระมัดระวัง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อวิกฤตทางด้านมนุษยธรรมในเมียนมา” ข้อความในหนังสือที่มุขมนตรีรัฐมิโซรัมส่งถึงนายกรัฐมนตรีอินเดีย
รัฐมิโซรัม เป็นรัฐที่มีความเห็นอกเห็นใจ อะลุ้มอล่วยกับชาวเมียนมา และเป็นรัฐที่มีชาวเมียนมาหนีเข้าไปหลบภัยมากที่สุด กว่า 1,000 คน มีทั้งตำรวจ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง และประชาชนชาวเมียนมา
ทางด้านพรมแดนที่ติดประเทศไทยองค์กรชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในเขตอิทธิพล KNU มีรายงานว่าชาวกะเหรี่ยงประมาณ 3,000 คน ที่มีบ้านเรือนใกล้แม่น้ำสาละวิน หลบหนีข้ามแม่น้ำสาละวินเข้าหลบภัยในพรมแดนไทย และบางส่วนถูกทหารไทยผลักดันกลับพรมแดนเมียนมา ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลไทยปฏิเสธ และยืนยันว่า ไม่เคยผลักดันชาวกะเหรี่ยงที่หนีภัยกลับเมียนมา แต่สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของไทย บอกรอยเตอร์สว่า รัฐบาลมีนโยบายไม่ให้ผู้อพยพหนีภัยชาวเมียนมาข้ามพรมแดนเข้าประเทศไทย
หมายเหตุภาพประกอบ ทหารสังกัดกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง KNLA ดูแลความปลอดภัยประชาชนในรัฐกะเหรี่ยงที่ร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทหาเรเมียนมา
รัฐมานิปูร์ สกัดชาวเมียนมา ไม่ให้เข้าหลบภัยในอินเดีย
การปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมของทหาร ตำรวจเมียนมา ที่รุนแรงขึ้นทุกวัน ยิงไม่เลือกหน้า ไม่เลือกสถานที่ มีทั้งยิงเข้าไปกลางพิธีศพ ขณะที่ประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยกำลังร่วมไว้อาลัยให้กับผู้ชุมนุมที่เสียชีวิต รวมทั้งตามไล่ล่า ไล่ยิงผู้ชุมนุมที่หนีเข้าไปหลบในโรงพยาบาล และใช้เครื่องบินรบทิ้งระเบิดถล่มหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงใกล้พรมแดนไทยด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นเหตุให้มีการอพยพลี้ภัยออกจากเมียนมาเพิ่มมากขึ้นทุกวัน แต่ความพยายามของพวกเขาก็ไม่ได้ราบรื่น
The Time of India รายงานว่า กระทรวงมหาดไทยรัฐบาลท้องถิ่นรัฐมานิปูร์ ได้มีหนังสือแจ้งนายอำเภอในพื้นที่ติดพรมแดนเมียนมา ทั้ง 5 อำเภอ ไม่ให้อำนวยความสะดวกเปิดพรมแดนให้ชาวเมียนมาที่หนีภัยการปราบปรามของรัฐบาลทหาร เข้าประเทศอินเดีย ยกเว้นกรณีผู้ได้รับบาดเจ็บ ให้เจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือรักษาพยาบาลตามหลักมนุษยธรรม
หนังสือของกระทรวงมหาดไทยรัฐมานิปูร์ ที่แจ้งไปยังนายอำเภอ 5 ท้องที่ เมื่อวันจันทร์ (29 มี.ค. 64) มีคำสั่งห้ามมิให้มีการเปิดค่ายรองรับผู้อพยพ จัดหาอาหารและที่พัก ให้กับชาวเมียนมา รวมทั้งไม่อนุญาตให้องค์กรภาคประชาสังคมเดินทางเข้าพื้นที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวเมียนมา
“เจ้าหน้าที่รัฐมานิปูร์ มีหน้าที่แจ้งชาวเมียนมา ด้วยกิริยาสุภาพว่า อินเดียไม่มีนโยบายรับผู้ลี้ภัย และปฏิเสธไม่ให้พวกเขาเดินทางเข้าประเทศอินเดีย” สื่ออินเดียอ้างข้อความในคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยรัฐมานิปูร์
กระทรวงมหาดไทยรัฐมานิปูร์ แจ้งให้นายอำเภอทั้ง 5 ท้องถิ่น รายงานผลการปฏิบัติตามคำสั่งในวันอังคารที่ 30 มีนาคม
Time of India รายงานว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ชาวเมียนมากลุ่มหนึ่งซึ่งมีผู้หญิงและเด็กรวมอยู่ด้วยพยายามเข้าประเทศอินเดีย ผ่านชายแดนด้าน Moreh-Tamu แต่ถูกเจ้าหน้าที่อินเดียผลักดันกลับเมียนมา
ก่อนหน้านี้กระทรวงมหาดไทยรัฐบาลกลางอินเดีย มีหนังสือสั่งการถึงรัฐบาลท้องถิ่น 4 รัฐที่มีพรมแดนติดประเทศเมียนมา ย้ำว่า อินเดียไม่มีนโยบายเปิดรับผู้อพยพ ซึ่งนายโซรัมทังกา มุขมนตรีรัฐมิโซรัม ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ เขาได้ทำหนังสือถึงนายนเรนทรา โมดี้ นายกรัฐมนตรีอินเดีย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ขอให้ทบทวนนโยบาย และให้ความช่วยเหลือผู้อพยพชาวเมียนมาด้วยเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม
“ผมตระหนักดีว่ารัฐบาลอินเดียต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศด้วยความระมัดระวัง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อวิกฤตทางด้านมนุษยธรรมในเมียนมา” ข้อความในหนังสือที่มุขมนตรีรัฐมิโซรัมส่งถึงนายกรัฐมนตรีอินเดีย
รัฐมิโซรัม เป็นรัฐที่มีความเห็นอกเห็นใจ อะลุ้มอล่วยกับชาวเมียนมา และเป็นรัฐที่มีชาวเมียนมาหนีเข้าไปหลบภัยมากที่สุด กว่า 1,000 คน มีทั้งตำรวจ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง และประชาชนชาวเมียนมา
ทางด้านพรมแดนที่ติดประเทศไทยองค์กรชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในเขตอิทธิพล KNU มีรายงานว่าชาวกะเหรี่ยงประมาณ 3,000 คน ที่มีบ้านเรือนใกล้แม่น้ำสาละวิน หลบหนีข้ามแม่น้ำสาละวินเข้าหลบภัยในพรมแดนไทย และบางส่วนถูกทหารไทยผลักดันกลับพรมแดนเมียนมา ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลไทยปฏิเสธ และยืนยันว่า ไม่เคยผลักดันชาวกะเหรี่ยงที่หนีภัยกลับเมียนมา แต่สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของไทย บอกรอยเตอร์สว่า รัฐบาลมีนโยบายไม่ให้ผู้อพยพหนีภัยชาวเมียนมาข้ามพรมแดนเข้าประเทศไทย
หมายเหตุภาพประกอบ ทหารสังกัดกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง KNLA ดูแลความปลอดภัยประชาชนในรัฐกะเหรี่ยงที่ร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทหาเรเมียนมา