เมียนมาประท้วงไม่เล่นน้ำสงกรานต์ แต่ยังมีการชุมนุมไล่รัฐบาลทหาร
13 เมษายน 2564 เข้าสู่วันปีใหม่ของชาวอุษาคเนย์ ที่ชาวเมียนมาเรียกว่า “ติ๊งจัง” คนไทยเรียกสงกรานต์ เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องกัน ที่ไม่มีการเล่นน้ำสงกรานต์ ปีที่แล้วรัฐบาลเมียนมามีคำสั่งห้ามเล่นน้ำด้วยเหตุผลทางสาธารณสุขต้องการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แต่ปีนี้เป็นการงดเล่นน้ำด้วยเหตุผลทางการเมือง
“ติ๊งจัง” กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารทางการเมือง
กลุ่มเยาวชนเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย 8 เมือง ในมณฑลย่างกุ้ง ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์งดเล่นน้ำในเทศกาล “ติ๊งจัง” และเรียกร้องให้ประชาชนร่วมบอยคอตเทศกาลติ๊งจัง ด้วย
กลุ่มเยาวชนในมณฑลย่างกุ้งประกาศว่า จะไม่เล่นน้ำในเทศกาลติ๊งจัง จนกว่าประเทศเมียนมาจะฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยได้สำเร็จ
นอกจากนี้ขบวนการอารยะขัดขืน หรือ CDM องค์กรแกนนำการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทหาร ยึดประเด็นหลักในการสื่อสารว่า “ไม่เล่นน้ำติ๊งจัง คือ การต่อต้านรัฐบาลทหาร” ด้วยเหตุผลที่ว่า การไม่เล่นน้ำติ๊งจัง สะท้อนภาวะที่ไม่ปกติในประเทศเมียนมา ฉีกหน้ารัฐบาลทหารที่พยายามประโคมข่าวว่า ประเทศกำลังกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
รูปถ่ายและคลิปวิดีโอที่เผยแพร่จากเมียนมา จำนวนมากเป็นภาพถนนที่เงียบเหงา ไร้รถรา ไร้ผู้คน ไม่มีภาพผู้คนที่สาดน้ำใส่กันอย่างสนุกสนาน ทั่วทั้งประเทศฉาบทาด้วยรอยยิ้ม เหมือนเช่นในยามที่บ้านเมืองปกติสุข
ภาพผู้คนบนท้องถนนในเมียนมา ในวันที่ 13 เมษายน 2564 จึงเต็มไปด้วยชาวเมียนมาเดินขบวนถือกระถางดอกไม้ตามประเพณีเพื่อคารวะดวงวิญญาณ แต่ปีนี้ ที่แปลกแตกต่างก็คือ ข้อความบนกระถางต้นไม้กลายเป็นข้อความรณรงค์ต่อต้านกองทัพเมียนมา
หลายเมืองในเมียนมายังมีรายงานภาพข่าวจาก netizen ทำหน้าที่สื่อพลเมืองเมียนมา รายงานการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทหาร กระจายในหลายเมืองทั่วประเทศ
บางเมืองชาวบ้านนำสีแดงสาดใส่ถนน เป็นสัญลักษณ์การปราบปรามอย่างโหดร้ายของทหาร ตำรวจเมียนมา
CDM ทวีตข้อความเมื่อคืนวันที่ 13 เมษายน ว่า มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อรายงานข่าวการใช้กำลังทหาร ตำรวจปราบปรามประชาชน ที่เมืองมิตแง (Mit-nge) ในมณฑลมัณฑะเลย์ “เราขอเรียกร้องให้สื่อและประชากรโลกให้ความสนใจ กับการปราบปรามที่มิตแง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่เช่นที่เกิดขึ้นที่เมืองพะโค
สื่อพลเมืองในเมียนมารายงานภาพประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บที่เมืองมิตแง แต่ยังไม่มีหน่วยงานใด และสื่อมวลชนตรวจสอบและรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองมิตแง
หมายเหตุภาพถนนหน้าเจดีย์สุเล่ ในนครย่างกุ้ง วันที่ 13 เมษายน 2564 ไม่มีการเล่นน้ำเทศกาลติ๊งจัง/ภาพจาก netizen เมียนมา
เมียนมาประท้วงไม่เล่นน้ำสงกรานต์ แต่ยังมีการชุมนุมไล่รัฐบาลทหาร
13 เมษายน 2564 เข้าสู่วันปีใหม่ของชาวอุษาคเนย์ ที่ชาวเมียนมาเรียกว่า “ติ๊งจัง” คนไทยเรียกสงกรานต์ เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องกัน ที่ไม่มีการเล่นน้ำสงกรานต์ ปีที่แล้วรัฐบาลเมียนมามีคำสั่งห้ามเล่นน้ำด้วยเหตุผลทางสาธารณสุขต้องการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แต่ปีนี้เป็นการงดเล่นน้ำด้วยเหตุผลทางการเมือง
“ติ๊งจัง” กลายเป็นเครื่องมือสื่อสารทางการเมือง
กลุ่มเยาวชนเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย 8 เมือง ในมณฑลย่างกุ้ง ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์งดเล่นน้ำในเทศกาล “ติ๊งจัง” และเรียกร้องให้ประชาชนร่วมบอยคอตเทศกาลติ๊งจัง ด้วย
กลุ่มเยาวชนในมณฑลย่างกุ้งประกาศว่า จะไม่เล่นน้ำในเทศกาลติ๊งจัง จนกว่าประเทศเมียนมาจะฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยได้สำเร็จ
นอกจากนี้ขบวนการอารยะขัดขืน หรือ CDM องค์กรแกนนำการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทหาร ยึดประเด็นหลักในการสื่อสารว่า “ไม่เล่นน้ำติ๊งจัง คือ การต่อต้านรัฐบาลทหาร” ด้วยเหตุผลที่ว่า การไม่เล่นน้ำติ๊งจัง สะท้อนภาวะที่ไม่ปกติในประเทศเมียนมา ฉีกหน้ารัฐบาลทหารที่พยายามประโคมข่าวว่า ประเทศกำลังกลับเข้าสู่สภาวะปกติ
รูปถ่ายและคลิปวิดีโอที่เผยแพร่จากเมียนมา จำนวนมากเป็นภาพถนนที่เงียบเหงา ไร้รถรา ไร้ผู้คน ไม่มีภาพผู้คนที่สาดน้ำใส่กันอย่างสนุกสนาน ทั่วทั้งประเทศฉาบทาด้วยรอยยิ้ม เหมือนเช่นในยามที่บ้านเมืองปกติสุข
ภาพผู้คนบนท้องถนนในเมียนมา ในวันที่ 13 เมษายน 2564 จึงเต็มไปด้วยชาวเมียนมาเดินขบวนถือกระถางดอกไม้ตามประเพณีเพื่อคารวะดวงวิญญาณ แต่ปีนี้ ที่แปลกแตกต่างก็คือ ข้อความบนกระถางต้นไม้กลายเป็นข้อความรณรงค์ต่อต้านกองทัพเมียนมา
หลายเมืองในเมียนมายังมีรายงานภาพข่าวจาก netizen ทำหน้าที่สื่อพลเมืองเมียนมา รายงานการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทหาร กระจายในหลายเมืองทั่วประเทศ
บางเมืองชาวบ้านนำสีแดงสาดใส่ถนน เป็นสัญลักษณ์การปราบปรามอย่างโหดร้ายของทหาร ตำรวจเมียนมา
CDM ทวีตข้อความเมื่อคืนวันที่ 13 เมษายน ว่า มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อรายงานข่าวการใช้กำลังทหาร ตำรวจปราบปรามประชาชน ที่เมืองมิตแง (Mit-nge) ในมณฑลมัณฑะเลย์ “เราขอเรียกร้องให้สื่อและประชากรโลกให้ความสนใจ กับการปราบปรามที่มิตแง เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่เช่นที่เกิดขึ้นที่เมืองพะโค
สื่อพลเมืองในเมียนมารายงานภาพประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บที่เมืองมิตแง แต่ยังไม่มีหน่วยงานใด และสื่อมวลชนตรวจสอบและรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองมิตแง
หมายเหตุภาพถนนหน้าเจดีย์สุเล่ ในนครย่างกุ้ง วันที่ 13 เมษายน 2564 ไม่มีการเล่นน้ำเทศกาลติ๊งจัง/ภาพจาก netizen เมียนมา