ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"อิสราเอล" โจมตีทางอากาศฉนวนกาซา หลังการโจมตีด้วยจรวดของกลุ่มติดอาวุธ "​ฮามาส"

ออกอากาศ11 พ.ค. 64

"อิสราเอล" โจมตีทางอากาศฉนวนกาซา หลังการโจมตีด้วยจรวดของกลุ่มติดอาวุธ "ฮามาส"

10 พ.ค. 64 เว็บไซต์ข่าว The Guardian รายงาน กระทรวงสาธารณสุขกาซาเผยว่า มีชาวปาเลสไตน์ 20 คน ถูกสังหารจากการโจมตีของอิสราเอล หลังเหตุการณ์ที่กลุ่มชาวปาเลสไตน์ยิงจรวดใส่อิสราเอล

แต่ที่มาที่ไปการปะทะนี้คืออะไร ?...เหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ทวีความรุนแรงบานปลายในวันจันทร์ (10 พ.ค. 64) จากเหตุการณ์ที่กลุ่มติดอาวุธในฉนวนกาซายิงจรวดใส่อิสราเอล และทางอิสราเอลตอบโต้กลับด้วยการโจมตีพื้นที่ชายฝั่งของปาเลสไตน์ หลังการปะทะกันระหว่างตำรวจอิสราเอล กับชาวปาเลสไตน์ในมัสยิดอัลอักซา (Al-Aqsa Mosque) ที่เยรูซาเล็ม ซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายร้อยคน

การโจมตีด้วยจรวดเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที หลังจากการยื่นคำขาดของกลุ่มติดอาวุธฮามาส ซึ่งเป็นกองกำลังขององค์กรทางการเมืององค์กรหนึ่งของปาเลสไตน์ ที่ให้อิสราเอลถอนกองกำลังรักษาความปลอดภัยออกจากพื้นที่เยรูซาเล็ม ที่ตั้งของมัสยิดอัลอักซาและย่านชีค จาร์ราห์ (Sheikh Jarrah) ของเมืองเก่า เยรูซาเล็ม

ทั้งสองสถานที่นี้ เป็นสถานที่เกิดการปะทะอย่างรุนแรงในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ระหว่างกองกำลังความมั่นคงของอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ซึ่งสร้างความกังวลให้กับนานาชาติ

ความไม่พอใจทวีคูณขึ้นมาหลายสัปดาห์ในหมู่ชาวปาเลสไตน์ ก่อนหน้ากำหนดการพิจารณาคดีของศาลอิสราเอลที่ยืดเยื้อ ซึ่งจะตัดสินว่า เจ้าหน้าที่จะสามารถเข้าไปขับไล่ชาวปาเลสไตน์หลายคนที่อยู่อาศัยในย่านชีค จาร์ราห์ และให้กับผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวมาอยู่แทนหรือไม่

ช่วงเหตุการณ์การโจมตี ผู้อยู่อาศัยในเยรูซาเล็มเผย ว่าได้ยินเสียงไซเรนเตือนการโจมตีทางอากาศหลังเวลา 18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น เมื่อหมดเวลาตามการคำขาดและตามมาด้วยเสียงระเบิด

ทั้งยังมีรายงานได้ยินเสียงไซเรนใกล้กับเมืองชายฝั่งอัชเคลอน (Ashkelon) และในพื้นที่อื่น ๆ ใกล้กับพรมแดนฉนวนกาซา กองทัพอิสราเอลกล่าวว่ามีการระเบิดครั้งแรกของจรวด 7 ลูก หนึ่งลูกถูกสกัดไว้ได้ และยังคงมีการยิงจรวดต่อไปในทางใต้ของอิสราเอล

กระทรวงสาธารณสุขกาซาระบุว่า มีชาวปาเลสไตน์ 20 คน ซึ่งรวมถึงเด็ก 9 คน ถูกสังหารในการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลในดินแดนของปาเลสไตน์ หลังจากการระดมยิงตอบโต้ต้านอิสราเอล ด้านโฆษกทหารของอิสราเอลกล่าวว่าเป็นการเริ่มต้นโจมตีเป้าหมายทางทหารของกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา

การโจมตีของจรวดส่งสัญญาณว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มโอกาสในการตอบโต้อย่างรุนแรงของอิสราเอล Benny Gantz รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอิสราเอลกล่าวว่า “การก่อการร้ายของชาวปาเลสไตน์ต้องต่อสู้ด้วยกำปั้นเหล็ก” ในขณะที่ผู้นำฝ่ายค้าน Yair Lapid เรียกร้องให้มี "การดำเนินการที่เข้มแข็งและมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูการป้องกัน" เพิ่มโอกาสในการปฏิบัติการทางทหาร

การโจมตีด้วยจรวดและการโจมตีทางอากาศ ตามมาหลังจากวันที่ความรุนแรงมีการยกระดับ จากการที่ตำรวจอิสราเอลเข้าปะทะกับชาวปาเลสไตน์ในมัสยิดอัลอักซาในเยรูซาเล็มช่วงเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา มีการยิงระเบิดสตันที่ทำให้สับสน แก๊สน้ำตา และปะทะกับชาวปาเลสไตน์ที่อยู่ข้างในซึ่งตอบโต้ด้วยการขว้างก้อนหิน

การปะทะกันทำให้มีชาวปาเลสไตน์มากกว่า 500 คน และเจ้าหน้าที่ตำรวจ 21 คน ได้รับบาดเจ็บ ภาพจากที่เกิดเหตุแสดงให้เห็นฝูงชนที่วิ่งไปมาหน้ามัสยิดท่ามกลางกลุ่มควัน

การโจมตีดังกล่าวทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นอย่างยิ่งจากความอ่อนไหวทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ไม่น้อยในช่วงเดือนรอมฎอนอันศักดิ์สิทธิ์

ผู้บาดเจ็บ 7 คน จากการปะทะกัน เมื่อวันจันทร์อยู่ในอาการสาหัส โดยสื่อท้องถิ่นรายงานมีเด็กชาวอิสราเอลวัย 7 เดือน ได้รับบาดเจ็บเพราะถูกก้อนหินขว้างใส่รถของครอบครัว

ทางการอิสราเอลมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันอีก จึงเปลี่ยนเส้นทางการเดินขบวนของชาวยิวชาตินิยมที่วางแผนมุ่งผ่านย่านมุสลิมในเขตเมืองเก่า (Old City)

ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในเมืองเก่า มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มานานว่า การเดินขบวนธงเพื่อทำเครื่องหมายการยึดเยรูซาเล็มและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิวในปี 1967 ของอิสราเอลในช่วงสงครามหกวัน (Six-Day War) คือการยั่วยุโดยเจตนา

ผู้เดินขบวนได้รับคำสั่งให้หลีกเลี่ยงพื้นที่และถูกส่งไปยังเส้นทางอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงย่านมุสลิมระหว่างทางไปยังกำแพงประจิม (Western Wall) หรือ กำแพงโอดครวญ หรือ กำแพงอัล-บุร็อก ในเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่ชาวยิวจะเดินทางมาสวดมนต์

ทั้งนี้ ฝ่ายทหารของฮามาสได้อ้างความรับผิดชอบในการยิงจรวดระลอกแรกในแถลงการณ์ ว่าโจมตีกรุงเยรูซาเล็มเพื่อตอบโต้ "อาชญากรรมและการรุกรานในเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ของอิสราเอลและการคุกคามประชาชนของเราในย่านชีค จาร์ราห์ และมัสยิดอัลอักซา”

"นี่เป็นข้อความที่ศัตรูควรเข้าใจดี" โฆษกกล่าว ญิฮาดอิสลามในฉนวนกาซายังอ้างว่า ทำการโจมตีด้วยจรวดของตัวเองด้วย

ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นเจริญรอยตามการปะทะที่ร้ายแรงที่สุดในเมืองนี้ นับตั้งแต่ปี 2017

ชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคนและเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายสิบคน ได้รับบาดเจ็บในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาจากการปะทะกันทั้งในและรอบ ๆ เมืองเก่า รวมถึงบริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งชาวยิวรู้จักกันในชื่อ เนินพระวิหาร (Temple Mount) และสำหรับชาวมุสลิมในชื่อ Noble Sanctuary หรือ Haram al-Sharif

ความรุนแรงครั้งล่าสุดเกิดขึ้น ขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดการหารืออย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับสถานการณ์ในเยรูซาเล็มและกำลังพิจารณาข้อเสนอที่เรียกร้องให้อิสราเอลยุติการขับไล่ พร้อมเรียกร้องให้ "ยับยั้งชั่งใจ" และเคารพ "สถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์"

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษก่อนวันเยรูซาเล็ม เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กล่าวว่า "จะไม่ยอมให้กลุ่มหัวรุนแรงใด ๆ เข้ามาทำลายความสงบในเยรูซาเล็ม เราจะบังคับใช้กฎหมายและสั่งการอย่างเด็ดขาดและโดยมีความรับผิดชอบ”

Antony Blinken รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การโจมตีด้วยจรวดจากฉนวนกาซาต่ออิสราเอลควรหยุด "ทันที" และเขาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายออกมาดำเนินการเพื่อบรรเทาสถานการณ์ที่บานปลาย

"ทุกฝ่ายจำเป็นต้องยุติการยกระดับลดความตึงเครียด ทำตามขั้นตอนที่เป็นประโยชน์เพื่อทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ สงบลง" Blinken กล่าว

อิสราเอลต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนานาประเทศเกี่ยวกับการตอบโต้ของตำรวจอย่างหนักและการขับไล่ตามแผน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหน่วยงานด้านสิทธิของสหประชาชาติระบุว่าการขับไล่ชาวอาหรับออกจากบ้านเป็นอาชญากรรมสงคราม

ในเยรูซาเล็มตะวันออก ซึ่งรวมถึงเมืองเก่า ชาวปาเลสไตน์รู้สึกว่าถูกคุกคามเพิ่มขึ้นจากผู้ตั้งถิ่นฐานที่พยายามขยายการอยู่อาศัยของชาวยิวที่นั่น ผ่านการซื้อบ้านสร้างอาคารและการขับไล่ตามคำสั่งศาลเช่นกรณีในย่านชีค จาร์ราห์ (Sheikh Jarrah)

Nabeel al-Kurd วัย 77 ปี ซึ่งครอบครัวต้องเผชิญกับการสูญเสียบ้านกล่าวว่า การขับไล่ดังกล่าว เป็นความพยายามเหยียดเชื้อชาติที่จะ "ขับไล่ชาวปาเลสไตน์และแทนที่พวกเขาด้วยพวกมาตั้งถิ่นฐาน"

ภายใต้กฎหมายของอิสราเอล ชาวยิวที่สามารถพิสูจน์ชื่อได้ตั้งแต่ก่อนสงครามปี 1948 ซึ่งมาพร้อมกับการสร้างประเทศ สามารถเรียกร้องทรัพย์สินในเยรูซาเล็มของตนคืนได้ ชาวอาหรับหลายแสนคนต้องพลัดถิ่นในความขัดแย้งเดียวกัน แต่ไม่มีกฎหมายลักษณะเดียวกันนี้ สำหรับชาวปาเลสไตน์ที่ต้องสูญเสียบ้านของพวกเขาในเมืองไป

Source: The Guardian
ภาพ AFP

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

"อิสราเอล" โจมตีทางอากาศฉนวนกาซา หลังการโจมตีด้วยจรวดของกลุ่มติดอาวุธ "ฮามาส"

10 พ.ค. 64 เว็บไซต์ข่าว The Guardian รายงาน กระทรวงสาธารณสุขกาซาเผยว่า มีชาวปาเลสไตน์ 20 คน ถูกสังหารจากการโจมตีของอิสราเอล หลังเหตุการณ์ที่กลุ่มชาวปาเลสไตน์ยิงจรวดใส่อิสราเอล

แต่ที่มาที่ไปการปะทะนี้คืออะไร ?...เหตุการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ทวีความรุนแรงบานปลายในวันจันทร์ (10 พ.ค. 64) จากเหตุการณ์ที่กลุ่มติดอาวุธในฉนวนกาซายิงจรวดใส่อิสราเอล และทางอิสราเอลตอบโต้กลับด้วยการโจมตีพื้นที่ชายฝั่งของปาเลสไตน์ หลังการปะทะกันระหว่างตำรวจอิสราเอล กับชาวปาเลสไตน์ในมัสยิดอัลอักซา (Al-Aqsa Mosque) ที่เยรูซาเล็ม ซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายร้อยคน

การโจมตีด้วยจรวดเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที หลังจากการยื่นคำขาดของกลุ่มติดอาวุธฮามาส ซึ่งเป็นกองกำลังขององค์กรทางการเมืององค์กรหนึ่งของปาเลสไตน์ ที่ให้อิสราเอลถอนกองกำลังรักษาความปลอดภัยออกจากพื้นที่เยรูซาเล็ม ที่ตั้งของมัสยิดอัลอักซาและย่านชีค จาร์ราห์ (Sheikh Jarrah) ของเมืองเก่า เยรูซาเล็ม

ทั้งสองสถานที่นี้ เป็นสถานที่เกิดการปะทะอย่างรุนแรงในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ระหว่างกองกำลังความมั่นคงของอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ซึ่งสร้างความกังวลให้กับนานาชาติ

ความไม่พอใจทวีคูณขึ้นมาหลายสัปดาห์ในหมู่ชาวปาเลสไตน์ ก่อนหน้ากำหนดการพิจารณาคดีของศาลอิสราเอลที่ยืดเยื้อ ซึ่งจะตัดสินว่า เจ้าหน้าที่จะสามารถเข้าไปขับไล่ชาวปาเลสไตน์หลายคนที่อยู่อาศัยในย่านชีค จาร์ราห์ และให้กับผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวมาอยู่แทนหรือไม่

ช่วงเหตุการณ์การโจมตี ผู้อยู่อาศัยในเยรูซาเล็มเผย ว่าได้ยินเสียงไซเรนเตือนการโจมตีทางอากาศหลังเวลา 18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น เมื่อหมดเวลาตามการคำขาดและตามมาด้วยเสียงระเบิด

ทั้งยังมีรายงานได้ยินเสียงไซเรนใกล้กับเมืองชายฝั่งอัชเคลอน (Ashkelon) และในพื้นที่อื่น ๆ ใกล้กับพรมแดนฉนวนกาซา กองทัพอิสราเอลกล่าวว่ามีการระเบิดครั้งแรกของจรวด 7 ลูก หนึ่งลูกถูกสกัดไว้ได้ และยังคงมีการยิงจรวดต่อไปในทางใต้ของอิสราเอล

กระทรวงสาธารณสุขกาซาระบุว่า มีชาวปาเลสไตน์ 20 คน ซึ่งรวมถึงเด็ก 9 คน ถูกสังหารในการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลในดินแดนของปาเลสไตน์ หลังจากการระดมยิงตอบโต้ต้านอิสราเอล ด้านโฆษกทหารของอิสราเอลกล่าวว่าเป็นการเริ่มต้นโจมตีเป้าหมายทางทหารของกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา

การโจมตีของจรวดส่งสัญญาณว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มโอกาสในการตอบโต้อย่างรุนแรงของอิสราเอล Benny Gantz รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอิสราเอลกล่าวว่า “การก่อการร้ายของชาวปาเลสไตน์ต้องต่อสู้ด้วยกำปั้นเหล็ก” ในขณะที่ผู้นำฝ่ายค้าน Yair Lapid เรียกร้องให้มี "การดำเนินการที่เข้มแข็งและมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูการป้องกัน" เพิ่มโอกาสในการปฏิบัติการทางทหาร

การโจมตีด้วยจรวดและการโจมตีทางอากาศ ตามมาหลังจากวันที่ความรุนแรงมีการยกระดับ จากการที่ตำรวจอิสราเอลเข้าปะทะกับชาวปาเลสไตน์ในมัสยิดอัลอักซาในเยรูซาเล็มช่วงเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา มีการยิงระเบิดสตันที่ทำให้สับสน แก๊สน้ำตา และปะทะกับชาวปาเลสไตน์ที่อยู่ข้างในซึ่งตอบโต้ด้วยการขว้างก้อนหิน

การปะทะกันทำให้มีชาวปาเลสไตน์มากกว่า 500 คน และเจ้าหน้าที่ตำรวจ 21 คน ได้รับบาดเจ็บ ภาพจากที่เกิดเหตุแสดงให้เห็นฝูงชนที่วิ่งไปมาหน้ามัสยิดท่ามกลางกลุ่มควัน

การโจมตีดังกล่าวทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นอย่างยิ่งจากความอ่อนไหวทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ไม่น้อยในช่วงเดือนรอมฎอนอันศักดิ์สิทธิ์

ผู้บาดเจ็บ 7 คน จากการปะทะกัน เมื่อวันจันทร์อยู่ในอาการสาหัส โดยสื่อท้องถิ่นรายงานมีเด็กชาวอิสราเอลวัย 7 เดือน ได้รับบาดเจ็บเพราะถูกก้อนหินขว้างใส่รถของครอบครัว

ทางการอิสราเอลมีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันอีก จึงเปลี่ยนเส้นทางการเดินขบวนของชาวยิวชาตินิยมที่วางแผนมุ่งผ่านย่านมุสลิมในเขตเมืองเก่า (Old City)

ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในเมืองเก่า มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มานานว่า การเดินขบวนธงเพื่อทำเครื่องหมายการยึดเยรูซาเล็มและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิวในปี 1967 ของอิสราเอลในช่วงสงครามหกวัน (Six-Day War) คือการยั่วยุโดยเจตนา

ผู้เดินขบวนได้รับคำสั่งให้หลีกเลี่ยงพื้นที่และถูกส่งไปยังเส้นทางอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงย่านมุสลิมระหว่างทางไปยังกำแพงประจิม (Western Wall) หรือ กำแพงโอดครวญ หรือ กำแพงอัล-บุร็อก ในเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่ชาวยิวจะเดินทางมาสวดมนต์

ทั้งนี้ ฝ่ายทหารของฮามาสได้อ้างความรับผิดชอบในการยิงจรวดระลอกแรกในแถลงการณ์ ว่าโจมตีกรุงเยรูซาเล็มเพื่อตอบโต้ "อาชญากรรมและการรุกรานในเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ของอิสราเอลและการคุกคามประชาชนของเราในย่านชีค จาร์ราห์ และมัสยิดอัลอักซา”

"นี่เป็นข้อความที่ศัตรูควรเข้าใจดี" โฆษกกล่าว ญิฮาดอิสลามในฉนวนกาซายังอ้างว่า ทำการโจมตีด้วยจรวดของตัวเองด้วย

ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นเจริญรอยตามการปะทะที่ร้ายแรงที่สุดในเมืองนี้ นับตั้งแต่ปี 2017

ชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคนและเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายสิบคน ได้รับบาดเจ็บในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาจากการปะทะกันทั้งในและรอบ ๆ เมืองเก่า รวมถึงบริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งชาวยิวรู้จักกันในชื่อ เนินพระวิหาร (Temple Mount) และสำหรับชาวมุสลิมในชื่อ Noble Sanctuary หรือ Haram al-Sharif

ความรุนแรงครั้งล่าสุดเกิดขึ้น ขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดการหารืออย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับสถานการณ์ในเยรูซาเล็มและกำลังพิจารณาข้อเสนอที่เรียกร้องให้อิสราเอลยุติการขับไล่ พร้อมเรียกร้องให้ "ยับยั้งชั่งใจ" และเคารพ "สถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์"

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษก่อนวันเยรูซาเล็ม เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล กล่าวว่า "จะไม่ยอมให้กลุ่มหัวรุนแรงใด ๆ เข้ามาทำลายความสงบในเยรูซาเล็ม เราจะบังคับใช้กฎหมายและสั่งการอย่างเด็ดขาดและโดยมีความรับผิดชอบ”

Antony Blinken รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การโจมตีด้วยจรวดจากฉนวนกาซาต่ออิสราเอลควรหยุด "ทันที" และเขาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายออกมาดำเนินการเพื่อบรรเทาสถานการณ์ที่บานปลาย

"ทุกฝ่ายจำเป็นต้องยุติการยกระดับลดความตึงเครียด ทำตามขั้นตอนที่เป็นประโยชน์เพื่อทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ สงบลง" Blinken กล่าว

อิสราเอลต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนานาประเทศเกี่ยวกับการตอบโต้ของตำรวจอย่างหนักและการขับไล่ตามแผน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหน่วยงานด้านสิทธิของสหประชาชาติระบุว่าการขับไล่ชาวอาหรับออกจากบ้านเป็นอาชญากรรมสงคราม

ในเยรูซาเล็มตะวันออก ซึ่งรวมถึงเมืองเก่า ชาวปาเลสไตน์รู้สึกว่าถูกคุกคามเพิ่มขึ้นจากผู้ตั้งถิ่นฐานที่พยายามขยายการอยู่อาศัยของชาวยิวที่นั่น ผ่านการซื้อบ้านสร้างอาคารและการขับไล่ตามคำสั่งศาลเช่นกรณีในย่านชีค จาร์ราห์ (Sheikh Jarrah)

Nabeel al-Kurd วัย 77 ปี ซึ่งครอบครัวต้องเผชิญกับการสูญเสียบ้านกล่าวว่า การขับไล่ดังกล่าว เป็นความพยายามเหยียดเชื้อชาติที่จะ "ขับไล่ชาวปาเลสไตน์และแทนที่พวกเขาด้วยพวกมาตั้งถิ่นฐาน"

ภายใต้กฎหมายของอิสราเอล ชาวยิวที่สามารถพิสูจน์ชื่อได้ตั้งแต่ก่อนสงครามปี 1948 ซึ่งมาพร้อมกับการสร้างประเทศ สามารถเรียกร้องทรัพย์สินในเยรูซาเล็มของตนคืนได้ ชาวอาหรับหลายแสนคนต้องพลัดถิ่นในความขัดแย้งเดียวกัน แต่ไม่มีกฎหมายลักษณะเดียวกันนี้ สำหรับชาวปาเลสไตน์ที่ต้องสูญเสียบ้านของพวกเขาในเมืองไป

Source: The Guardian
ภาพ AFP

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย