ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

BCG โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน

ออกอากาศ28 ส.ค. 64

โลกกำลังเผชิญวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้เกินขีดจำกัด ผลกระทบที่ตามมา คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปัญหาขยะล้นโลก

ปัญหาขยะ ขยายไปสู่การค้นคว้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยการใช้วัสดุธรรมชาติทดแทน มีการคิดค้นพัฒนาฟิล์มพลาสติก “กินได้” ที่ใช้ “หัวบุก” วัตถุดิบธรรมชาติ สามารถช่วยป้องกันการปนเปื้อนและถนอมอาหารที่เคลือบผิวไว้

นักวิจัยกำลังเร่งพัฒนาพลาสติกรูปแบบใหม่ เพื่อลดภาระโลก ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ ภายใน 4 เดือน ถุงหายใจได้ หรือ ActivePAK งานวิจัยการใช้ความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ นำมาออกแบบโครงสร้างพอลิเมอร์ เพื่อช่วยยืดอายุผักผลไม้ให้คงความสดนานขึ้น เพื่อลดปัญหาของสดเสียง่าย

วันนี้ยุทธศาสตร์ชาติ BCG โมเดล กำลังเริ่มขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตั้งแต่การออกแบบ การผลิตที่สร้างของเสียน้อยที่สุด ใช้วัสดุทางเลือก และนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อลดปริมาณของเสียจนถึงศูนย์ หรือ Zero Waste ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy อนาคตที่เราต้องพร้อมในก้าวต่อไป

ร่วมหาคำตอบไปกับ

  • ดร.นพดล เกิดดอนแฝก : ทีมวิจัยเทคโนโลยีพลาสติก กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.
  • ดร.วิชชุดา เดาด์ : หัวหน้าเทคโนโลยีพลาสติก กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
  • รศ.ดร.ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล : หัวหน้าทีมวิจัยจากภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศ.ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต : หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.วิจารย์ สิมาฉายา : ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

คิดค้น เพื่อสร้างสรรค์ เปลี่ยนความรู้สู่นวัตกรรม พัฒนาสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ติดตามชมได้ในรายการ The NEXT คลื่นอนาคต ตอน BCG โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

โลกกำลังเผชิญวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้เกินขีดจำกัด ผลกระทบที่ตามมา คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปัญหาขยะล้นโลก

ปัญหาขยะ ขยายไปสู่การค้นคว้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยการใช้วัสดุธรรมชาติทดแทน มีการคิดค้นพัฒนาฟิล์มพลาสติก “กินได้” ที่ใช้ “หัวบุก” วัตถุดิบธรรมชาติ สามารถช่วยป้องกันการปนเปื้อนและถนอมอาหารที่เคลือบผิวไว้

นักวิจัยกำลังเร่งพัฒนาพลาสติกรูปแบบใหม่ เพื่อลดภาระโลก ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ ภายใน 4 เดือน ถุงหายใจได้ หรือ ActivePAK งานวิจัยการใช้ความรู้ด้านวัสดุศาสตร์ นำมาออกแบบโครงสร้างพอลิเมอร์ เพื่อช่วยยืดอายุผักผลไม้ให้คงความสดนานขึ้น เพื่อลดปัญหาของสดเสียง่าย

วันนี้ยุทธศาสตร์ชาติ BCG โมเดล กำลังเริ่มขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตั้งแต่การออกแบบ การผลิตที่สร้างของเสียน้อยที่สุด ใช้วัสดุทางเลือก และนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ เพื่อลดปริมาณของเสียจนถึงศูนย์ หรือ Zero Waste ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy อนาคตที่เราต้องพร้อมในก้าวต่อไป

ร่วมหาคำตอบไปกับ

  • ดร.นพดล เกิดดอนแฝก : ทีมวิจัยเทคโนโลยีพลาสติก กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สวทช.
  • ดร.วิชชุดา เดาด์ : หัวหน้าเทคโนโลยีพลาสติก กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
  • รศ.ดร.ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล : หัวหน้าทีมวิจัยจากภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศ.ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต : หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.วิจารย์ สิมาฉายา : ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

คิดค้น เพื่อสร้างสรรค์ เปลี่ยนความรู้สู่นวัตกรรม พัฒนาสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ติดตามชมได้ในรายการ The NEXT คลื่นอนาคต ตอน BCG โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย