มัมมี่นกแก้ว หลายร้อยไมล์สู่ทะเลทรายอาตากามา
ในยามที่นักโบราณคดีขุดค้นอารยธรรมยุคโบราณ สุสานของชนชั้นสูงในอดีตเป็นสถานที่ชั้นยอดในการทำความเข้าใจถึงคุณค่า หรือสิ่งพวกเขาหวงแหนเมื่อยามมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแอลกอฮอล์ไปจนถึงอัญมณี หรือแม้แต่กระทั่งสัตว์เลี้ยง ซึ่งมักถูกฝังเคียงข้างผู้วายชนม์ที่มั่งคั่ง
สำหรับอียิปต์โบราณ คงหรือไม่พ้นมัมมี่แมว หรือสุนัข แต่ช่วง ค.ศ.1100-1450 ที่ทะเลทรายอาตากามาในทวีปอเมริกาใต้กลับพบนกแก้วมัมมี่ ที่อยู่ห่างจากแหล่งที่อยู่ดั้งเดิมของมันราว 300 ไมล์
อ้างอิงจากการรายงานของซีเอ็นเอ็น ทีมนักค้นคว้าที่ทำงานในพื้นที่ทางตอนเหนือของชิลีเผยว่า คนในยุคนั้นขนส่งนกหายากด้วยระยะทางนับร้อยไมล์ ข้ามเทือกเขาแอนดีส ก่อนจะจับมันทำเป็นมัมมี่
ที่ต้องขนส่งกันมาไกลกันขนาดนี้ เพราะนกแก้วและนกมาคอว์ไม่ใช่สัตว์ท้องถิ่นทะเลทรายอาตากามา ซึ่งเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก แต่กลับสามารถขุดค้นพบขนนก และมัมมี่นกในสถานที่ขุดค้นทางโบราณสถานในพื้นที่บริเวณนั้นได้ อ้างอิงจากข่าวเผยแพร่ของมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 มี.ค.)
โดยมีการพบนกแก้วจำนวนมากถูกทำเป็นมัมมี่หลังตาย บางตัวอ้าจะงอยปากและยื่นลิ้นออกมา บางตัวกางปีกสยายราวกับกำลังโบยบิน
"มันตีความยาก" ผู้ร่วมค้นคว้า โฮเซ เอ็ม กาปริเลส (José M. Capriles) ศาสตราจารย์ผู้ช่วยสาขามานุษยวิทยาที่เพนน์ สเตตให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ็น คาดเดาว่าวิธีการทำเป็นมัมมี่อาจเป็นส่วนหนึ่งของพิธีธรรมที่เชื่อมโยงกับความสามารถของนกแก้ว ที่สามารถเลียนเสียงของมนุษย์ก็ได้
นักค้นคว้าเดินทางไปเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์ทั่วชิลีตอนเหนือเป็นเวลาเกือบสามปี เพื่อศึกษานกแก้วและซากนกมาคอร์ที่พบในภูมิภาคนี้ ฟากนักวิทยาศาสตร์ใช้การวิเคราะห์ซากสัตว์จากแหล่งโบราณคดี (Zooarchaeological analysis) เทคนิคไอโซโทป การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon dating) และการทดสอบ DNA โบราณเพื่อสร้างภาพของนกตอนยังมีชีวิต
ซึ่งทำให้ทีมค้นคว้าพบว่านกเหล่านั้นถูกนำไปยังทะเลทรายอาตากามาแอมะซอน ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 ไมล์ระหว่างปี ค.ศ. 1100 ถึง 1450
กาปริเลสระบุว่า ช่วงยุคสมัยนั้นเป็นยุคที่การพาณิชย์เฟื่องฟู คาราวานลามาจำนวนมากเคลื่อนย้ายขนส่งไปมาจากสถานที่ต่าง ๆ ตามแนวเทือกเขาแอนดีส
"ข้อเท็จจริงที่ว่า นกเป็น ๆ ถูกขนส่งข้ามเทือกเขาแอนดีสที่มีความสูงกว่า 10,000 ฟุต เป็นอะไรที่สุดยอดมาก” กาปริเลสกล่าว "พวกมันต้องถูกขนส่งข้ามที่ราบขนาดใหญ่ อากาศที่หนาวเย็น ภูมิประเทศที่โหดร้ายของทะเลทรายอาตากามา แล้วตอนขนส่งต้องดูแลให้มันยังคงมีชีวิตอยู่ด้วย”
พวกนกมาถึงที่นี่ก่อนจักรวรรดิอินคา และการยึดครองอาณานิคมในภูมิภาคโดยสเปน ซึ่งมีการนำเข้าม้ามาสู่อเมริกาใต้เป็นครั้งแรก
“ตัวลามาไม่ใช่สัตว์บรรทุกสินค้าชั้นยอด เพราะมันไม่ได้แข็งแรงขนาดนั้น” กาปริเลสเผยระบุในเอกสารข่าวที่เผยแพร่ออกมา
"ข้อเท็จจริงที่ว่าคาราวานลามานำนกมาคอว์ และนกแก้วข้ามเทือกเขาแอนดีส และฝ่าทะเลทรายมาถึงโอเอซิสที่นี่ได้มันมหัศจรรย์มาก”
เมื่อนกมาถึงทะเลทรายอาตากามา พวกมันถูกเลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยง แต่บางครั้งก็ถูกจับถอนขนเป็นเครื่องประดับผม เพื่อแสดงถึงความมั่งคั่งและอำนาจ
.พวกนกถูกเลี้ยงด้วยอาหารเช่นเดียวกับเจ้าของมันกิน ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างพวกมันกับมนุษย์ค่อนข้างซับซ้อน มุมมองของสัตว์เลี้ยงในอดีตแตกต่างออกไป “นกบางตัวไม่ได้ใช้ชีวิตสบาย พวกมันถูกเก็บเอาไว้ผลิตขนนก ซึ่งจะถูกทันทีที่งอกออกมา”
คำถามมากมายที่มีเกี่ยวกับเหล่านก รวมถึงการใช้สอยประโยชน์พวกมันในอดีตยังคงอยู่ กาปริเลสวางแผนว่าจะเดินหน้าค้นคว้าในภูมิภาคนี้ต่อไป เพื่อไขปริศนายุคโบราณ
หมายเหตุ บทความนี้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ Proceedings of the National Academy of Sciences
มัมมี่นกแก้ว หลายร้อยไมล์สู่ทะเลทรายอาตากามา
ในยามที่นักโบราณคดีขุดค้นอารยธรรมยุคโบราณ สุสานของชนชั้นสูงในอดีตเป็นสถานที่ชั้นยอดในการทำความเข้าใจถึงคุณค่า หรือสิ่งพวกเขาหวงแหนเมื่อยามมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแอลกอฮอล์ไปจนถึงอัญมณี หรือแม้แต่กระทั่งสัตว์เลี้ยง ซึ่งมักถูกฝังเคียงข้างผู้วายชนม์ที่มั่งคั่ง
สำหรับอียิปต์โบราณ คงหรือไม่พ้นมัมมี่แมว หรือสุนัข แต่ช่วง ค.ศ.1100-1450 ที่ทะเลทรายอาตากามาในทวีปอเมริกาใต้กลับพบนกแก้วมัมมี่ ที่อยู่ห่างจากแหล่งที่อยู่ดั้งเดิมของมันราว 300 ไมล์
อ้างอิงจากการรายงานของซีเอ็นเอ็น ทีมนักค้นคว้าที่ทำงานในพื้นที่ทางตอนเหนือของชิลีเผยว่า คนในยุคนั้นขนส่งนกหายากด้วยระยะทางนับร้อยไมล์ ข้ามเทือกเขาแอนดีส ก่อนจะจับมันทำเป็นมัมมี่
ที่ต้องขนส่งกันมาไกลกันขนาดนี้ เพราะนกแก้วและนกมาคอว์ไม่ใช่สัตว์ท้องถิ่นทะเลทรายอาตากามา ซึ่งเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก แต่กลับสามารถขุดค้นพบขนนก และมัมมี่นกในสถานที่ขุดค้นทางโบราณสถานในพื้นที่บริเวณนั้นได้ อ้างอิงจากข่าวเผยแพร่ของมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 มี.ค.)
โดยมีการพบนกแก้วจำนวนมากถูกทำเป็นมัมมี่หลังตาย บางตัวอ้าจะงอยปากและยื่นลิ้นออกมา บางตัวกางปีกสยายราวกับกำลังโบยบิน
"มันตีความยาก" ผู้ร่วมค้นคว้า โฮเซ เอ็ม กาปริเลส (José M. Capriles) ศาสตราจารย์ผู้ช่วยสาขามานุษยวิทยาที่เพนน์ สเตตให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ็น คาดเดาว่าวิธีการทำเป็นมัมมี่อาจเป็นส่วนหนึ่งของพิธีธรรมที่เชื่อมโยงกับความสามารถของนกแก้ว ที่สามารถเลียนเสียงของมนุษย์ก็ได้
นักค้นคว้าเดินทางไปเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์ทั่วชิลีตอนเหนือเป็นเวลาเกือบสามปี เพื่อศึกษานกแก้วและซากนกมาคอร์ที่พบในภูมิภาคนี้ ฟากนักวิทยาศาสตร์ใช้การวิเคราะห์ซากสัตว์จากแหล่งโบราณคดี (Zooarchaeological analysis) เทคนิคไอโซโทป การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon dating) และการทดสอบ DNA โบราณเพื่อสร้างภาพของนกตอนยังมีชีวิต
ซึ่งทำให้ทีมค้นคว้าพบว่านกเหล่านั้นถูกนำไปยังทะเลทรายอาตากามาแอมะซอน ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 ไมล์ระหว่างปี ค.ศ. 1100 ถึง 1450
กาปริเลสระบุว่า ช่วงยุคสมัยนั้นเป็นยุคที่การพาณิชย์เฟื่องฟู คาราวานลามาจำนวนมากเคลื่อนย้ายขนส่งไปมาจากสถานที่ต่าง ๆ ตามแนวเทือกเขาแอนดีส
"ข้อเท็จจริงที่ว่า นกเป็น ๆ ถูกขนส่งข้ามเทือกเขาแอนดีสที่มีความสูงกว่า 10,000 ฟุต เป็นอะไรที่สุดยอดมาก” กาปริเลสกล่าว "พวกมันต้องถูกขนส่งข้ามที่ราบขนาดใหญ่ อากาศที่หนาวเย็น ภูมิประเทศที่โหดร้ายของทะเลทรายอาตากามา แล้วตอนขนส่งต้องดูแลให้มันยังคงมีชีวิตอยู่ด้วย”
พวกนกมาถึงที่นี่ก่อนจักรวรรดิอินคา และการยึดครองอาณานิคมในภูมิภาคโดยสเปน ซึ่งมีการนำเข้าม้ามาสู่อเมริกาใต้เป็นครั้งแรก
“ตัวลามาไม่ใช่สัตว์บรรทุกสินค้าชั้นยอด เพราะมันไม่ได้แข็งแรงขนาดนั้น” กาปริเลสเผยระบุในเอกสารข่าวที่เผยแพร่ออกมา
"ข้อเท็จจริงที่ว่าคาราวานลามานำนกมาคอว์ และนกแก้วข้ามเทือกเขาแอนดีส และฝ่าทะเลทรายมาถึงโอเอซิสที่นี่ได้มันมหัศจรรย์มาก”
เมื่อนกมาถึงทะเลทรายอาตากามา พวกมันถูกเลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยง แต่บางครั้งก็ถูกจับถอนขนเป็นเครื่องประดับผม เพื่อแสดงถึงความมั่งคั่งและอำนาจ
.พวกนกถูกเลี้ยงด้วยอาหารเช่นเดียวกับเจ้าของมันกิน ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างพวกมันกับมนุษย์ค่อนข้างซับซ้อน มุมมองของสัตว์เลี้ยงในอดีตแตกต่างออกไป “นกบางตัวไม่ได้ใช้ชีวิตสบาย พวกมันถูกเก็บเอาไว้ผลิตขนนก ซึ่งจะถูกทันทีที่งอกออกมา”
คำถามมากมายที่มีเกี่ยวกับเหล่านก รวมถึงการใช้สอยประโยชน์พวกมันในอดีตยังคงอยู่ กาปริเลสวางแผนว่าจะเดินหน้าค้นคว้าในภูมิภาคนี้ต่อไป เพื่อไขปริศนายุคโบราณ
หมายเหตุ บทความนี้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ Proceedings of the National Academy of Sciences