ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อัลไซเมอร์ไม่เท่ากับสมองเสื่อม

ออกอากาศ14 ก.ย. 66
  • รู้สู้โรค : อัลไซเมอร์ไม่เท่ากับสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคหลอดเลือด ความดัน เบาหวาน อ้วนลงพุง ภาวะเหล่านี้หากคุมไม่ดีจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัว เส้นเลือดแข็ง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ดีส่งผลทำให้สมองเสื่อม ส่วนอัลไซเมอร์คือ ภาวะสมองเสื่อมประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของสมรรถภาพสมอง ทำให้ความสามารถทางการรับรู้และเข้าใจลดลง โดยผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องของความจำ เส้นทาง ผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรค ความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม และผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ติดตามความรู้จาก ผศ. พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน สาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

  • ปรับก่อนป่วย : ท่าตรวจและท่าบริหารอาการพังผืดรัดเส้นประสาทข้อเท้าด้านใน

อาการพังผืดรัดเส้นประสาทข้อเท้าด้านในสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายนอก คือรองเท้าที่รัดข้อเท้าเกิดการกดรัดมากเกินไปทำให้กดเส้นประสาทได้ และปัจจัยภายใน คือเอ็นด้านในเกิดการบวมเพราะข้อเท้าแพลง หรือเกิดการบาดเจ็บซ้ำ ๆ บริเวณข้อเท้า โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภาวะเท้าแบนจะทำให้ข้อเท้าเกิดการกดเบียดที่เพิ่มความเสี่ยงเป็นพังผืดรัดเส้นประสาทได้มากขึ้น อาการชาจากพังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อเท้าตาตุ่มหากไม่รักษา จะทำให้กล้ามเนื้อฝ่าเท้าอ่อนแรงลงเรื่อย ๆ ส่งผลทำให้ยืนเดินได้ไม่สะดวก และหกล้มง่าย ติดตามความรู้จาก กภ.วัลย์ลิกา ประเสริฐกุล คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

  • รู้สู้โรค : อัลไซเมอร์ไม่เท่ากับสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคหลอดเลือด ความดัน เบาหวาน อ้วนลงพุง ภาวะเหล่านี้หากคุมไม่ดีจะทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัว เส้นเลือดแข็ง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ดีส่งผลทำให้สมองเสื่อม ส่วนอัลไซเมอร์คือ ภาวะสมองเสื่อมประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของสมรรถภาพสมอง ทำให้ความสามารถทางการรับรู้และเข้าใจลดลง โดยผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องของความจำ เส้นทาง ผู้ดูแลจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรค ความเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม และผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ติดตามความรู้จาก ผศ. พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน สาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

  • ปรับก่อนป่วย : ท่าตรวจและท่าบริหารอาการพังผืดรัดเส้นประสาทข้อเท้าด้านใน

อาการพังผืดรัดเส้นประสาทข้อเท้าด้านในสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายนอก คือรองเท้าที่รัดข้อเท้าเกิดการกดรัดมากเกินไปทำให้กดเส้นประสาทได้ และปัจจัยภายใน คือเอ็นด้านในเกิดการบวมเพราะข้อเท้าแพลง หรือเกิดการบาดเจ็บซ้ำ ๆ บริเวณข้อเท้า โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภาวะเท้าแบนจะทำให้ข้อเท้าเกิดการกดเบียดที่เพิ่มความเสี่ยงเป็นพังผืดรัดเส้นประสาทได้มากขึ้น อาการชาจากพังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อเท้าตาตุ่มหากไม่รักษา จะทำให้กล้ามเนื้อฝ่าเท้าอ่อนแรงลงเรื่อย ๆ ส่งผลทำให้ยืนเดินได้ไม่สะดวก และหกล้มง่าย ติดตามความรู้จาก กภ.วัลย์ลิกา ประเสริฐกุล คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย

Failed to load player resources

Please refresh the page to try again.

ERROR_BYTEARK_PLAYER_REACT_100001

00:00

00:00

ให้คะแนนการอ่านข่าวนี้