สหรัฐฯ จับมืออังกฤษ คว่ำบาตรบริษัท “ท่อน้ำเลี้ยงกองทัพเมียนมา”
สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรแบบจำเพาะเจาะจง (target sanction) ผู้นำกองทัพเมียนมา ก่อนหน้านี้ อายัดทรัพย์สินและผลประโยชน์อื่น ๆ ของนายพลเมียนมาที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร และบงการการใช้กำลังทหาร ตำรวจ ปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยอาวุธสงคราม และต่อมาได้มีการออกประกาศเพิ่มเติมให้มีมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจครอบคลุมทรัพย์สินและธุรกิจของลูก ๆ พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย รวมทั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ล่าสุดเมื่อคืนวันพฤหัสบดี นายโดมินิค ร้าบ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษทวีตข้อความ “ผมและนายแอนโทนี บลิงเค่น รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แถลงขยายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมองค์กรธุรกิจที่สร้างผลประโยชน์โดยตรงให้กับกองทัพเมียนมา”
สหรัฐอเมริกาคว่ำบาตร 2 บริษัทโฮลดิ้งของกองทัพเมียนมา คือ Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ส่วนรัฐบาลอังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรเฉพาะ MEHL
ทั้งสองบริษัทเป็นน้ำเลี้ยงหลักของอาณาจักรธุรกิจกองทัพเมียนมา ลงทุนในธุรกิจเหมืองแร่ โรงงานผลิตเบียร์ กิจการป่าไม้ ธนาคาร ธุรกิจก่อสร้าง ประกันชีวิต โรงงานยาสูบ และธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมาย
ก่อนหน้านี้ Kirin บริษัทผู้ผลิตเบียร์ชั้นนำของญี่ปุ่นก็ประกาศถอนการลงทุนใน Myanmar Brewery โรงงานผลิตเบียร์ที่ร่วมทุนกับ MEHL แถลงการณ์ ระบุชัดเจนว่า เนื่องจากรายได้จากบริษัทร่วมทุนในเมียนมา มีการนำใช้สนับสนุนกองทัพซึ่งขัดกับจริยธรรมการลงทุนของ Kirin จึงต้องประกาศถอนตัวจากการลงทุน
Andrea M.Gacki ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างชาติ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ แถลงว่า มาตรการคว่ำบาตรองค์กรธุรกิจของกองทัพเมียนมา เพราะเป็นแหล่งสนับสนุนทางการเงินสำคัญของกองทัพ
ทางด้านรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ แถลงว่า “มาตรการคว่ำบาตรที่ประกาศวันนี้ พุ่งเป้าไปที่ผลประโยชน์ทางธุรกิจของกองทัพเมียนมา เพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงทางการเงินที่นำไปใช้ปราบปรามประชาชน”
มาตรการกดดันทางการเงินกับธุรกิจกองทัพเมียนมา สร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนและกลุ่มรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา แต่องค์กรเหล่านี้ มีความเห็นว่า สหรัฐฯและอังกฤษต้องกดดันมากกว่านี้ คือต้องมีมาตรการตัดท่อน้ำเลี้ยงจากบริษัทน้ำมันและแก๊สธรรมชาติต่างประเทศ ไม่ให้จ่ายค่าประทานบัตร สัมปทาน และผลประโยชน์อื่น ๆ ให้กับกองทัพเมียนมา
“สหรัฐอเมริกาควรจะขยายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ บีบให้บริษัทเชฟรอน (Chevron) ระงับการจ่ายผลประโยชน์จากรายได้แก๊สธรรมชาติให้กับกองทัพมัยนมา” Anna Robert กรรมการบริหาร Burma Campaign UK กล่าว
บริษัทธุรกิจพลังงานต่างชาติ ที่ทำธุรกิจสำรวจและขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติในเมียนมา ประกอบด้วย Total ของฝรั่งเศส Posco เกาหลีใต้ Petronas มาเลเซีย และ PTTEP
ที่กรุงจาการ์ตา นายวิเวียน บาลากริชนัน รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ แถลงข่าวคู่กับนางเร็ตโน มาซุดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ประกาศจุดยืนของรัฐบาลสิงคโปร์สนับสนุนข้อเสนอของประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ที่ขอให้จัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนัดฉุกเฉิน เพื่อร่วมกันหาทางออกวิกฤตการเมืองเมียนมา
สหรัฐฯ จับมืออังกฤษ คว่ำบาตรบริษัท “ท่อน้ำเลี้ยงกองทัพเมียนมา”
สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรแบบจำเพาะเจาะจง (target sanction) ผู้นำกองทัพเมียนมา ก่อนหน้านี้ อายัดทรัพย์สินและผลประโยชน์อื่น ๆ ของนายพลเมียนมาที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร และบงการการใช้กำลังทหาร ตำรวจ ปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยอาวุธสงคราม และต่อมาได้มีการออกประกาศเพิ่มเติมให้มีมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจครอบคลุมทรัพย์สินและธุรกิจของลูก ๆ พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย รวมทั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ล่าสุดเมื่อคืนวันพฤหัสบดี นายโดมินิค ร้าบ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษทวีตข้อความ “ผมและนายแอนโทนี บลิงเค่น รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แถลงขยายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมองค์กรธุรกิจที่สร้างผลประโยชน์โดยตรงให้กับกองทัพเมียนมา”
สหรัฐอเมริกาคว่ำบาตร 2 บริษัทโฮลดิ้งของกองทัพเมียนมา คือ Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ส่วนรัฐบาลอังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรเฉพาะ MEHL
ทั้งสองบริษัทเป็นน้ำเลี้ยงหลักของอาณาจักรธุรกิจกองทัพเมียนมา ลงทุนในธุรกิจเหมืองแร่ โรงงานผลิตเบียร์ กิจการป่าไม้ ธนาคาร ธุรกิจก่อสร้าง ประกันชีวิต โรงงานยาสูบ และธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมาย
ก่อนหน้านี้ Kirin บริษัทผู้ผลิตเบียร์ชั้นนำของญี่ปุ่นก็ประกาศถอนการลงทุนใน Myanmar Brewery โรงงานผลิตเบียร์ที่ร่วมทุนกับ MEHL แถลงการณ์ ระบุชัดเจนว่า เนื่องจากรายได้จากบริษัทร่วมทุนในเมียนมา มีการนำใช้สนับสนุนกองทัพซึ่งขัดกับจริยธรรมการลงทุนของ Kirin จึงต้องประกาศถอนตัวจากการลงทุน
Andrea M.Gacki ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างชาติ กระทรวงการคลังสหรัฐฯ แถลงว่า มาตรการคว่ำบาตรองค์กรธุรกิจของกองทัพเมียนมา เพราะเป็นแหล่งสนับสนุนทางการเงินสำคัญของกองทัพ
ทางด้านรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ แถลงว่า “มาตรการคว่ำบาตรที่ประกาศวันนี้ พุ่งเป้าไปที่ผลประโยชน์ทางธุรกิจของกองทัพเมียนมา เพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงทางการเงินที่นำไปใช้ปราบปรามประชาชน”
มาตรการกดดันทางการเงินกับธุรกิจกองทัพเมียนมา สร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนและกลุ่มรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา แต่องค์กรเหล่านี้ มีความเห็นว่า สหรัฐฯและอังกฤษต้องกดดันมากกว่านี้ คือต้องมีมาตรการตัดท่อน้ำเลี้ยงจากบริษัทน้ำมันและแก๊สธรรมชาติต่างประเทศ ไม่ให้จ่ายค่าประทานบัตร สัมปทาน และผลประโยชน์อื่น ๆ ให้กับกองทัพเมียนมา
“สหรัฐอเมริกาควรจะขยายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ บีบให้บริษัทเชฟรอน (Chevron) ระงับการจ่ายผลประโยชน์จากรายได้แก๊สธรรมชาติให้กับกองทัพมัยนมา” Anna Robert กรรมการบริหาร Burma Campaign UK กล่าว
บริษัทธุรกิจพลังงานต่างชาติ ที่ทำธุรกิจสำรวจและขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติในเมียนมา ประกอบด้วย Total ของฝรั่งเศส Posco เกาหลีใต้ Petronas มาเลเซีย และ PTTEP
ที่กรุงจาการ์ตา นายวิเวียน บาลากริชนัน รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ แถลงข่าวคู่กับนางเร็ตโน มาซุดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ประกาศจุดยืนของรัฐบาลสิงคโปร์สนับสนุนข้อเสนอของประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ที่ขอให้จัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนัดฉุกเฉิน เพื่อร่วมกันหาทางออกวิกฤตการเมืองเมียนมา