เรียกร้องผู้นำอาเซียนยึดหลักการ "เสียงข้างมาก" แก้วิกฤตเมียนมา
ในที่สุดความพยายามของนายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ที่ริเริ่มผลักดันให้อาเซียนจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนัดฉุกเฉิน ก็มีความคืบหน้าใกล้บรรลุเป้าหมายเมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ ประมุขแห่งบรูไนดารุสซาลาม ประธานอาเซียน ทรงออกแถลงการณ์ร่วมกับนายมูห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรี ที่กรุงบันดาเสรีเบกาวัน สนับสนุนความคิดริเริ่มของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย
ผู้นำชาติอาเซียนทั้งสองประเทศ แถลงร่วมกันว่า เป็นความประสงค์อย่างแรงกล้าของผู้นำทั้งสองที่ปรารถนาให้วิกฤตการเมืองในเมียนมาได้รับการแก้ไข ให้ประเทศกลับมามีเสถียรภาพดังเดิม
แถลงการณ์ระบุว่าได้มีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่อาวุโส และรัฐมนตรีต่างประเทศเตรียมการจัดประชุมสุดยอดผู้นำชาติอาเซียน ที่ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ในกรุงจาการ์ตา
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนางเร็ตโน มาซุดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียได้พบปะหารือกับนายหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน และนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ที่มณฑลฟูเจี้ยน ประเทศจีน
"ทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศจีนและรัสเซียสนับสนุนข้อเสนอของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ให้มีการจัดประชุมสุดยอดผู้นำชาติอาเซียน บนหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของเมียนมา" นางเร็ตโน กล่าว
บทบรรณาธิการ The Jakarta Post ฉบับประจำวันที่ 6 เมษายน Endy Bayuni บรรณาธิการอาวุโส เรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนเร่งแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองในเมียนมา พร้อมเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการตัดสินใจ กระบวนการลงมติของผู้นำชาติอาเซียน จากหลักการฉันทามติ คือ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้นำทั้ง 10 ประเทศ เป็นหลักการเสียงข้างมาก คือ ใช้มติของเสียงข้างมาก หรือ วิธีการที่เรียกว่า Asean minus X คือไม่ต้องยึดความพร้อมของทุกประเทศสมาชิก แต่ให้พิจารณาเป็นรายประเด็น หรือแนวทาง ประเด็นไหนพร้อมก็เริ่มลงมือปฏิบัติก่อน
บทบรรณาธิการ The Jakarta Post พูดถึงหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก ว่า วิกฤตการเมืองเมียนมาคราวนี้ อินโดนีเซีย ได้ละเมิดกฎที่ว่านี้ ด้วยการออกมาเรียกร้องให้จัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนัดฉุกเฉิน เช่นเดียวกับรัฐบาลมาเลเซียและสิงคโปร์ ที่มีท่าทีวิพากษ์วิจารณ์กองทัพเมียนมาอย่างรุนแรง
"การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จะปล่อยให้การประชุมล้มเหลวไม่ได้ ทั้งในมุมของประชาชนเมียนมา และอาเซียน การประชุมครั้งนี้ถูกจับตาจากประชาคมโลก อย่างใกล้ชิด ดังนั้นทั้งผู้นำอินโดนีเซียและชาติสมาชิกอาเซียนจะต้องร่วมกันหาทางออกให้กับวิกฤตการเมืองเมียนมา" บทบรรณาธิการ The Jakarta Post ระบุ
"การให้วิกฤตการเมืองในเมียนมายืดเยื้อ มิเพียงบ่อนเซาะเสถียรภาพของเมียนมา แต่ยังบ่อนเซาะเสถียรภาพของอาเซียนโดยรวมด้วย"
หมายเหตุภาพจากผู้สื่อข่าวพลเมืองเมียนมา พระสงฆ์ที่วัด Moe Kaung ในมณฑลมัณฑะเลย์ ร่วมสวดมนต์เมื่อคืนวันจันทร์ ขอให้ประชาชนปลอดภัย จากการต่อสู้เพื่อฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย
เรียกร้องผู้นำอาเซียนยึดหลักการ "เสียงข้างมาก" แก้วิกฤตเมียนมา
ในที่สุดความพยายามของนายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ที่ริเริ่มผลักดันให้อาเซียนจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนัดฉุกเฉิน ก็มีความคืบหน้าใกล้บรรลุเป้าหมายเมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ ประมุขแห่งบรูไนดารุสซาลาม ประธานอาเซียน ทรงออกแถลงการณ์ร่วมกับนายมูห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรี ที่กรุงบันดาเสรีเบกาวัน สนับสนุนความคิดริเริ่มของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย
ผู้นำชาติอาเซียนทั้งสองประเทศ แถลงร่วมกันว่า เป็นความประสงค์อย่างแรงกล้าของผู้นำทั้งสองที่ปรารถนาให้วิกฤตการเมืองในเมียนมาได้รับการแก้ไข ให้ประเทศกลับมามีเสถียรภาพดังเดิม
แถลงการณ์ระบุว่าได้มีการสั่งการให้เจ้าหน้าที่อาวุโส และรัฐมนตรีต่างประเทศเตรียมการจัดประชุมสุดยอดผู้นำชาติอาเซียน ที่ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ในกรุงจาการ์ตา
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนางเร็ตโน มาซุดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียได้พบปะหารือกับนายหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน และนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ที่มณฑลฟูเจี้ยน ประเทศจีน
"ทั้งรัฐมนตรีต่างประเทศจีนและรัสเซียสนับสนุนข้อเสนอของประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ให้มีการจัดประชุมสุดยอดผู้นำชาติอาเซียน บนหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของเมียนมา" นางเร็ตโน กล่าว
บทบรรณาธิการ The Jakarta Post ฉบับประจำวันที่ 6 เมษายน Endy Bayuni บรรณาธิการอาวุโส เรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนเร่งแก้ปัญหาวิกฤตการเมืองในเมียนมา พร้อมเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการตัดสินใจ กระบวนการลงมติของผู้นำชาติอาเซียน จากหลักการฉันทามติ คือ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้นำทั้ง 10 ประเทศ เป็นหลักการเสียงข้างมาก คือ ใช้มติของเสียงข้างมาก หรือ วิธีการที่เรียกว่า Asean minus X คือไม่ต้องยึดความพร้อมของทุกประเทศสมาชิก แต่ให้พิจารณาเป็นรายประเด็น หรือแนวทาง ประเด็นไหนพร้อมก็เริ่มลงมือปฏิบัติก่อน
บทบรรณาธิการ The Jakarta Post พูดถึงหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก ว่า วิกฤตการเมืองเมียนมาคราวนี้ อินโดนีเซีย ได้ละเมิดกฎที่ว่านี้ ด้วยการออกมาเรียกร้องให้จัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนนัดฉุกเฉิน เช่นเดียวกับรัฐบาลมาเลเซียและสิงคโปร์ ที่มีท่าทีวิพากษ์วิจารณ์กองทัพเมียนมาอย่างรุนแรง
"การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จะปล่อยให้การประชุมล้มเหลวไม่ได้ ทั้งในมุมของประชาชนเมียนมา และอาเซียน การประชุมครั้งนี้ถูกจับตาจากประชาคมโลก อย่างใกล้ชิด ดังนั้นทั้งผู้นำอินโดนีเซียและชาติสมาชิกอาเซียนจะต้องร่วมกันหาทางออกให้กับวิกฤตการเมืองเมียนมา" บทบรรณาธิการ The Jakarta Post ระบุ
"การให้วิกฤตการเมืองในเมียนมายืดเยื้อ มิเพียงบ่อนเซาะเสถียรภาพของเมียนมา แต่ยังบ่อนเซาะเสถียรภาพของอาเซียนโดยรวมด้วย"
หมายเหตุภาพจากผู้สื่อข่าวพลเมืองเมียนมา พระสงฆ์ที่วัด Moe Kaung ในมณฑลมัณฑะเลย์ ร่วมสวดมนต์เมื่อคืนวันจันทร์ ขอให้ประชาชนปลอดภัย จากการต่อสู้เพื่อฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย