สหภาพยุโรปเตรียมคว่ำบาตร เมียนมารอบใหม่ ตัดท่อน้ำเลี้ยงกองทัพ
ฌอง-อีฟว์ เลอ ดริยอง (Jean-Yves Le Drian) แถลงในที่ประชุมรัฐสภาฝรั่งเศส ว่า สหภาพยุโรปกำลังเตรียมมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรอบใหม่ พุ่งเป้าไปที่องค์กรธุรกิจ หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับผลประโยชน์ของกองทัพเมียนมา
วิสาหกิจที่ทำหน้าที่เสมือนโฮลดิ้งส์ของกองทัพเมียนมา มีสององค์กรหลัก คือ Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC)
รัฐบาลอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตร MEHL และ MEC ไปก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งนี้คาดว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปต่อกองทัพเมียนมา หมายถึงวิสาหกิจเมียนมา 2 แห่งนี้ ซึ่งนายเลอ ดริยอง แถลงต่อรัฐสภาฝรั่งเศสว่าจะดำเนินการโดยเร็ว
สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรแบบจำเพาะเจาะจง (target sanction) ผู้นำกองทัพเมียนมา ก่อนหน้านี้ อายัดทรัพย์สินและผลประโยชน์อื่น ๆ ของนายพลเมียนมาที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร และบงการการใช้กำลังทหาร ตำรวจ ปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยอาวุธสงคราม และต่อมาได้มีการออกประกาศเพิ่มเติมให้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจครอบคลุมทรัพย์สินและธุรกิจของลูก ๆ พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย รวมทั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
มาตรการกดดันทางการเงินกับธุรกิจกองทัพเมียนมา สร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนและกลุ่มรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา แต่องค์กรเหล่านี้ มีความเห็นว่า สหรัฐฯ และอังกฤษต้องกดดันมากกว่านี้ คือต้องมีมาตรการตัดท่อน้ำเลี้ยงจากบริษัทน้ำมันและแก๊สธรรมชาติต่างประเทศ ไม่ให้จ่ายค่าประทานบัตร สัมปทาน และผลประโยชน์อื่น ๆ ให้กับกองทัพเมียนมา
“สหรัฐอเมริกาควรจะขยายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ บีบให้บริษัทเชฟรอน (Chevron) ระงับการจ่ายผลประโยชน์จากรายได้แก๊สธรรมชาติให้กับกองทัพเมียนมา” Anna Robert กรรมการบริหาร Burma Campaign UK กล่าว
บริษัทธุรกิจพลังงานต่างชาติ ที่ทำธุรกิจสำรวจและขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติในเมียนมา ประกอบด้วย Total ของฝรั่งเศส Posco เกาหลีใต้ Petronas มาเลเซีย และ PTTEP
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Petronas บริษัทน้ำมันและพลังงานแห่งชาติมาเลเซีย ประกาศระงับการผลิตแก๊สธรรมชาติจากแหล่งเยตากุน 3 แปลง อ้างเหตุผล “ปริมาณการผลิตแก๊สธรรมชาติแปลง M12 M13 และ M14 ต่ำกว่าเกณฑ์ผลผลิตขั้นต่ำ ไม่คุ้มต่อการผลิต”
ขณะที่ Total บริษัทน้ำมันฝรั่งเศส ยังยืนยันเดินหน้าผลิตแก๊สธรรมชาติในทะเลอันดามันต่อไป อ้างเหตุผล “แก๊สธรรมชาติที่ผลิตโดย Total ป้อนโรงผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับมณฑลย่างกุ้ง และภาคตะวันตกของประเทศไทย ดังนั้นหาก Total หยุดผลิตแก๊สธรรมชาติ คนเมียนมาและคนไทยหลายล้านคน จะไม่มีไฟฟ้าใช้”
หมายเหตุภาพประกอบ ประชาชนเมียนมาที่ร่วมประท้วงต่อต้านเผด็จการทหารชูป้ายประท้วงรัฐบาลจีนมีข้อความว่า “จีนไม่ใช่เพื่อนบ้านที่ดีของเรา” และหลายการชุมนุมมีการเผาธงชาติจีน หรือ รูปภาพธงชาติจีน แสดงออกถึงความไม่พอใจนโยบายต่างประเทศของจีน ซึ่งผู้ชุมนุมมองว่า “เข้าข้างกองทัพเมียนมา”
สหภาพยุโรปเตรียมคว่ำบาตร เมียนมารอบใหม่ ตัดท่อน้ำเลี้ยงกองทัพ
ฌอง-อีฟว์ เลอ ดริยอง (Jean-Yves Le Drian) แถลงในที่ประชุมรัฐสภาฝรั่งเศส ว่า สหภาพยุโรปกำลังเตรียมมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรอบใหม่ พุ่งเป้าไปที่องค์กรธุรกิจ หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับผลประโยชน์ของกองทัพเมียนมา
วิสาหกิจที่ทำหน้าที่เสมือนโฮลดิ้งส์ของกองทัพเมียนมา มีสององค์กรหลัก คือ Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC)
รัฐบาลอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตร MEHL และ MEC ไปก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งนี้คาดว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปต่อกองทัพเมียนมา หมายถึงวิสาหกิจเมียนมา 2 แห่งนี้ ซึ่งนายเลอ ดริยอง แถลงต่อรัฐสภาฝรั่งเศสว่าจะดำเนินการโดยเร็ว
สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรแบบจำเพาะเจาะจง (target sanction) ผู้นำกองทัพเมียนมา ก่อนหน้านี้ อายัดทรัพย์สินและผลประโยชน์อื่น ๆ ของนายพลเมียนมาที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร และบงการการใช้กำลังทหาร ตำรวจ ปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยอาวุธสงคราม และต่อมาได้มีการออกประกาศเพิ่มเติมให้มาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจครอบคลุมทรัพย์สินและธุรกิจของลูก ๆ พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย รวมทั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
มาตรการกดดันทางการเงินกับธุรกิจกองทัพเมียนมา สร้างความพึงพอใจให้กับกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนและกลุ่มรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในเมียนมา แต่องค์กรเหล่านี้ มีความเห็นว่า สหรัฐฯ และอังกฤษต้องกดดันมากกว่านี้ คือต้องมีมาตรการตัดท่อน้ำเลี้ยงจากบริษัทน้ำมันและแก๊สธรรมชาติต่างประเทศ ไม่ให้จ่ายค่าประทานบัตร สัมปทาน และผลประโยชน์อื่น ๆ ให้กับกองทัพเมียนมา
“สหรัฐอเมริกาควรจะขยายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ บีบให้บริษัทเชฟรอน (Chevron) ระงับการจ่ายผลประโยชน์จากรายได้แก๊สธรรมชาติให้กับกองทัพเมียนมา” Anna Robert กรรมการบริหาร Burma Campaign UK กล่าว
บริษัทธุรกิจพลังงานต่างชาติ ที่ทำธุรกิจสำรวจและขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติในเมียนมา ประกอบด้วย Total ของฝรั่งเศส Posco เกาหลีใต้ Petronas มาเลเซีย และ PTTEP
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Petronas บริษัทน้ำมันและพลังงานแห่งชาติมาเลเซีย ประกาศระงับการผลิตแก๊สธรรมชาติจากแหล่งเยตากุน 3 แปลง อ้างเหตุผล “ปริมาณการผลิตแก๊สธรรมชาติแปลง M12 M13 และ M14 ต่ำกว่าเกณฑ์ผลผลิตขั้นต่ำ ไม่คุ้มต่อการผลิต”
ขณะที่ Total บริษัทน้ำมันฝรั่งเศส ยังยืนยันเดินหน้าผลิตแก๊สธรรมชาติในทะเลอันดามันต่อไป อ้างเหตุผล “แก๊สธรรมชาติที่ผลิตโดย Total ป้อนโรงผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับมณฑลย่างกุ้ง และภาคตะวันตกของประเทศไทย ดังนั้นหาก Total หยุดผลิตแก๊สธรรมชาติ คนเมียนมาและคนไทยหลายล้านคน จะไม่มีไฟฟ้าใช้”
หมายเหตุภาพประกอบ ประชาชนเมียนมาที่ร่วมประท้วงต่อต้านเผด็จการทหารชูป้ายประท้วงรัฐบาลจีนมีข้อความว่า “จีนไม่ใช่เพื่อนบ้านที่ดีของเรา” และหลายการชุมนุมมีการเผาธงชาติจีน หรือ รูปภาพธงชาติจีน แสดงออกถึงความไม่พอใจนโยบายต่างประเทศของจีน ซึ่งผู้ชุมนุมมองว่า “เข้าข้างกองทัพเมียนมา”