ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

บริษัทญี่ปุ่นในเมียนมาวางตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าควรอยู่ข้างประชาชนหรือกองทัพ

ออกอากาศ7 เม.ย. 64

บริษัทญี่ปุ่นในเมียนมาวางตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าควรอยู่ข้างประชาชนหรือกองทัพ

แนวทางการต่อสู้ของขบวนการอารยะขัดขืนในเมียนมา หรือ CDM ที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญลำดับต้น ๆ คือ ตัดท่อน้ำเลี้ยงกองทัพเมียนมา ด้วยการไม่จ่ายภาษีเงินได้

ลูกจ้างในบริษัทเอกชนจำนวนไม่น้อย ต่อรองขอให้นายจ้างงดการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินเดือนของลูกจ้าง ประเด็นนี้สร้างความอึดอัดและกังวลใจให้กับบริษัทญี่ปุ่นในเมียนมา เพราะการไม่เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากรเป็นความผิดตามกฎหมายเมียนมา ขณะที่หากปฏิบัติตามกฎหมายก็มีความเสี่ยงถูกต่อต้านจากประชาชนเมียนมา ด้วยการบอยคอตไม่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการ

Fumiaki Kai แห่งบริษัทที่ปรึกษากฎหมายญี่ปุ่นชื่อ TMI Associates Services สำนักงานย่างกุ้ง บอก Nikkei Asia ว่า มีบริษัทญี่ปุ่นขอคำปรึกษาในประเด็นนี้ จำนวนมาก

“พนักงานในบริษัทขอให้งดหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินเดือน บริษัทควรจัดการเรื่องนี้อย่างไรดี?”

CRPH องค์กรที่จัดตั้งโดยนักการเมืองที่ชนะเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน อ้างความชอบธรรมที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน จัดตั้งรัฐบาลเมียนมา คู่ขนานกับรัฐบาลที่จัดตั้งโดยกองทัพเมียนมา CRPH ประกาศเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ว่าขอให้ประชาชนชะลอการจ่ายภาษีจนถึงเดือนกันยายน พร้อมทั้งขอให้เจ้าหน้าที่สรรพากรงดการจัดเก็บภาษีในระหว่างนี้ด้วย

Nikkei Asia รายงานว่า การประกาศของ CRPH เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ประชาชนเมียนมาไม่ยอมจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย

“ตอนนี้กองทัพมีอำนาจควบคุมรัฐบาล และกฎหมายภาษีก็ยังมีผลบังคับใช้ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง หน้าที่ชำระภาษีจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่ในโลกของความเป็นจริงการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลูกจ้างในเวลานี้ ก็อาจจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง” Kai นักกฎหมายชาวญี่ปุ่นให้ความเห็น

Yusuke Yukawa นักกฎหมายจากบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย Nishimura&Asahi เป็นอีกคนที่ให้ความเห็นว่า การปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงบริบทที่เกี่ยวข้องอาจเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด

“ในเวลานี้บริษัทญี่ปุ่นในเมียนมา ควรคำนึงถึงแนวปฏิบัติของบริษัทโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกป้องสิทธิมนุษยชนประกอบด้วย”

ก่อนหน้านี้ Kirin Holding บริษัทผู้ผลิตเบียร์ญี่ปุ่นได้ประกาศถอนตัวจากการร่วมทุนในบริษัทผลิตเบียร์ที่เมียนมา ซึ่ง Kirin ร่วมทุนกับวิสาหกิจของกองทัพเมียนมา ทำให้องค์กรรณรงค์สิทธิมนุษยชนหลายองค์กร รวมทั้งประชาชนในเมียนมาเรียกร้องให้บอยคอตไม่ซื้อสินค้า Kirin กระทั่งท้ายที่สุด Kirin ต้องประกาศถอนตัวจากบริษัทร่วมทุนในเมียนมา หลังการรัฐประหารได้ไม่กี่วัน

Yukawa บอกว่า ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาก็คือ ไม่ว่าเงินหรือผลประโยชน์จะตกอยู่ในมือผู้นำกองทัพ หรือกองทัพโดยตรงก็ตาม บริษัทญี่ปุ่นควรพิจารณาปรับเปลี่ยนคู่ค้า เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับกองทัพเมียนมา

เรื่องปวดหัวของบริษัทญี่ปุ่นในเมียนมาอีกเรื่องก็คือ พนักงานหยุดงานไปร่วมชุมนุมประท้วง ซึ่งตามกฎหมายเมียนมาสามารถไล่พนักงานที่ขาดงานเกินเวลาที่กฎหมายกำหนดได้ แต่หากทำเช่นนั้นบริษัทญี่ปุ่นก็มีความเสี่ยงถูกประชาชนเมียนมาบอยคอตไม่ซื้อสินค้าเช่นกัน ตอนนี้บริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากจึงยังคงจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานที่หยุดงานไปประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหาร

Nikkei Asia รายงานว่า บริษัทญี่ปุ่นแห่เข้าไปทำธุรกิจในเมียนมาจำนวนมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยและความได้เปรียบทางการแข่งขันจากค่าจ้างราคาถูก ส่งผลให้บริษัทญี่ปุ่นที่มีอยู่เพียง 50 แห่งในปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็น 427 แห่งในขณะนี้

หมายเหตุภาพ ประชาชนในเมืองผ้ากั๊น (Hpakant) รัฐกะฉิ่นเดินขบวนประท้วงรัฐบาลทหารเมียนมา วันพุธที่ 7 เมษายน ภาพถ่ายประชาชน ถูกนำมาเผยแพร่ต่อโดย Irrawaddy.org

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

บริษัทญี่ปุ่นในเมียนมาวางตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าควรอยู่ข้างประชาชนหรือกองทัพ

แนวทางการต่อสู้ของขบวนการอารยะขัดขืนในเมียนมา หรือ CDM ที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญลำดับต้น ๆ คือ ตัดท่อน้ำเลี้ยงกองทัพเมียนมา ด้วยการไม่จ่ายภาษีเงินได้

ลูกจ้างในบริษัทเอกชนจำนวนไม่น้อย ต่อรองขอให้นายจ้างงดการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินเดือนของลูกจ้าง ประเด็นนี้สร้างความอึดอัดและกังวลใจให้กับบริษัทญี่ปุ่นในเมียนมา เพราะการไม่เก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากรเป็นความผิดตามกฎหมายเมียนมา ขณะที่หากปฏิบัติตามกฎหมายก็มีความเสี่ยงถูกต่อต้านจากประชาชนเมียนมา ด้วยการบอยคอตไม่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการ

Fumiaki Kai แห่งบริษัทที่ปรึกษากฎหมายญี่ปุ่นชื่อ TMI Associates Services สำนักงานย่างกุ้ง บอก Nikkei Asia ว่า มีบริษัทญี่ปุ่นขอคำปรึกษาในประเด็นนี้ จำนวนมาก

“พนักงานในบริษัทขอให้งดหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินเดือน บริษัทควรจัดการเรื่องนี้อย่างไรดี?”

CRPH องค์กรที่จัดตั้งโดยนักการเมืองที่ชนะเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน อ้างความชอบธรรมที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน จัดตั้งรัฐบาลเมียนมา คู่ขนานกับรัฐบาลที่จัดตั้งโดยกองทัพเมียนมา CRPH ประกาศเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ว่าขอให้ประชาชนชะลอการจ่ายภาษีจนถึงเดือนกันยายน พร้อมทั้งขอให้เจ้าหน้าที่สรรพากรงดการจัดเก็บภาษีในระหว่างนี้ด้วย

Nikkei Asia รายงานว่า การประกาศของ CRPH เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ประชาชนเมียนมาไม่ยอมจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย

“ตอนนี้กองทัพมีอำนาจควบคุมรัฐบาล และกฎหมายภาษีก็ยังมีผลบังคับใช้ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง หน้าที่ชำระภาษีจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่ในโลกของความเป็นจริงการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลูกจ้างในเวลานี้ ก็อาจจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง” Kai นักกฎหมายชาวญี่ปุ่นให้ความเห็น

Yusuke Yukawa นักกฎหมายจากบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย Nishimura&Asahi เป็นอีกคนที่ให้ความเห็นว่า การปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงบริบทที่เกี่ยวข้องอาจเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด

“ในเวลานี้บริษัทญี่ปุ่นในเมียนมา ควรคำนึงถึงแนวปฏิบัติของบริษัทโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปกป้องสิทธิมนุษยชนประกอบด้วย”

ก่อนหน้านี้ Kirin Holding บริษัทผู้ผลิตเบียร์ญี่ปุ่นได้ประกาศถอนตัวจากการร่วมทุนในบริษัทผลิตเบียร์ที่เมียนมา ซึ่ง Kirin ร่วมทุนกับวิสาหกิจของกองทัพเมียนมา ทำให้องค์กรรณรงค์สิทธิมนุษยชนหลายองค์กร รวมทั้งประชาชนในเมียนมาเรียกร้องให้บอยคอตไม่ซื้อสินค้า Kirin กระทั่งท้ายที่สุด Kirin ต้องประกาศถอนตัวจากบริษัทร่วมทุนในเมียนมา หลังการรัฐประหารได้ไม่กี่วัน

Yukawa บอกว่า ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาก็คือ ไม่ว่าเงินหรือผลประโยชน์จะตกอยู่ในมือผู้นำกองทัพ หรือกองทัพโดยตรงก็ตาม บริษัทญี่ปุ่นควรพิจารณาปรับเปลี่ยนคู่ค้า เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับกองทัพเมียนมา

เรื่องปวดหัวของบริษัทญี่ปุ่นในเมียนมาอีกเรื่องก็คือ พนักงานหยุดงานไปร่วมชุมนุมประท้วง ซึ่งตามกฎหมายเมียนมาสามารถไล่พนักงานที่ขาดงานเกินเวลาที่กฎหมายกำหนดได้ แต่หากทำเช่นนั้นบริษัทญี่ปุ่นก็มีความเสี่ยงถูกประชาชนเมียนมาบอยคอตไม่ซื้อสินค้าเช่นกัน ตอนนี้บริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากจึงยังคงจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานที่หยุดงานไปประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหาร

Nikkei Asia รายงานว่า บริษัทญี่ปุ่นแห่เข้าไปทำธุรกิจในเมียนมาจำนวนมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยและความได้เปรียบทางการแข่งขันจากค่าจ้างราคาถูก ส่งผลให้บริษัทญี่ปุ่นที่มีอยู่เพียง 50 แห่งในปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็น 427 แห่งในขณะนี้

หมายเหตุภาพ ประชาชนในเมืองผ้ากั๊น (Hpakant) รัฐกะฉิ่นเดินขบวนประท้วงรัฐบาลทหารเมียนมา วันพุธที่ 7 เมษายน ภาพถ่ายประชาชน ถูกนำมาเผยแพร่ต่อโดย Irrawaddy.org

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย