หลังจากประสบอุบัติเหตุรถล้มจนแขนหัก ลุงนกนักเขียนวัย 60 ปีที่เคยมีชื่อเสียงน่าจับตามองในอดีต ได้มาขอความช่วยเหลือจากป้าภา เจ้าของบ้านรับฝากผู้สูงอายุ เพื่อหาผู้ช่วยพิมพ์งานแทนในช่วงที่เขาพักฟื้น ป้าภาจึงแนะนำให้โจโจ้ ผู้ช่วยหลักของเธอมาช่วยลุงนก โจโจ้มั่นใจในฝีมือการพิมพ์ตัวเองจึงตื่นเต้นมาก และรับปากว่าจะทำงานให้อย่างเต็มที่ แต่สถานการณ์ไม่เป็นดังใจ เมื่อโจโจ้เริ่มพิมพ์งานให้ลุงนก เธอกลับใช้สำนวนภาษาแบบวัยรุ่นที่ไม่เข้ากับงานเขียนของลุงนก แม้จะพยายามอธิบายและแก้ไข แต่ช่องว่างระหว่างวัยและวิธีการใช้ภาษาก็ทำให้ลุงนกรู้สึกไม่พอใจและตัดสินใจไม่ทำงานกับโจโจ้
ในขณะเดียวกัน แจน เด็กสาวที่มาบำเพ็ญประโยชน์ที่บ้านรับฝากผู้สูงอายุของป้าภา ก็กำลังประสบปัญหาเช่นกัน ความตรงไปตรงมาตามสไตล์ Gen Z ของเธอทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อเธอพูดจาตรงเกินไปจนทำให้ยายเต่า ผู้สูงอายุคนหนึ่งในบ้าน ร้องไห้เสียใจ แม้แจนจะช่วยป้องกันไม่ให้ยายเต่าตกเป็นเหยื่อแก๊งหลอกลวงออนไลน์ แต่วิธีการพูดของเธอกลับทำร้ายจิตใจผู้สูงอายุโดยไม่ตั้งใจ แจนรู้สึกผิดและสับสนมาก เธอไม่เข้าใจว่าทำไมการพูดความจริงถึงทำให้คนอื่นเสียใจได้ เธอเริ่มคิดว่าตัวเองอาจไม่เหมาะกับงานดูแลผู้สูงอายุที่ต้องมีความละเอียดอ่อนทางอารมณ์ และควรทำงานที่ใช้ทักษะทางเทคโนโลยีของเธอมากกว่า ป้าภาสังเกตเห็นปัญหาของทั้งสองฝ่าย จึงคิดแผนที่จะแก้ปัญหาทั้งหมดด้วยวิธีเดียว นั่นคือการให้แจนไปช่วยลุงนกพิมพ์งานแทนโจโจ้ ด้วยหวังว่าสถานการณ์นี้จะเป็นโอกาสให้ทั้งคู่ได้เรียนรู้จากกันและกัน ลุงนกอาจได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จากแจน ขณะที่แจนอาจได้เรียนรู้ทักษะการสื่อสารที่นุ่มนวลขึ้นจากประสบการณ์ของลุงนก
แต่การเริ่มต้นไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง เมื่อแจนและลุงนกพบกันครั้งแรก บรรยากาศเต็มไปด้วยความตึงเครียด ทั้งสองมีมุมมองและทัศนคติที่แตกต่างกันสุดขั้ว ความขัดแย้งเริ่มตั้งแต่การพูดคุยครั้งแรก ลุงนกมองว่าเด็กสมัยนี้ไม่มีสัมมาคารวะ ในขณะที่แจนมองว่าผู้ใหญ่อย่างลุงนกยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ มากเกินไป ลุงนกปฏิเสธข้อเสนอของแจนเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงาน เขายึดมั่นว่างานศิลปะต้องสร้างด้วยมือศิลปิน ต้องมีจิตวิญญาณ และอธิบายว่านักเขียนรุ่นพี่ที่เขานับถือเคยบอกว่า สิ่งที่ทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นคือ "กระดูกสันหลัง ภาษา และมือ" เขารู้สึกว่าการสูญเสียความสามารถในการใช้มือ (จากอุบัติเหตุ) และภาษา (หากยอมให้เทคโนโลยีมาแทนที่) จะทำให้เขาสูญเสียตัวตนไปในที่สุด แจนพยายามพิสูจน์คุณค่าของเทคโนโลยีโดยการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับลุงนก เธอพบว่าเขาเคยเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง เคยเข้าชิงรางวัลซีไรท์ และได้รางวัลอื่น ๆ มากมาย เธอตั้งใจจะช่วยปรับปรุงงานเขียนของลุงนกให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่มากขึ้น เนื่องจากบทความของเขามียอดอ่านน้อยมากเมื่อเทียบกับบทความอื่นในเพจเดียวกัน
เมื่อแจนลองนำเสนอไอเดียการใช้ AI ช่วยปรับภาษาในบทความของลุงนก ความขัดแย้งยิ่งทวีความรุนแรง ลุงนกโกรธมากและกล่าวหาว่าแจนก้าวก่ายและไม่เคารพงานของเขา เขาตอกย้ำว่าเด็กสมัยนี้ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ มองตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล และไม่เข้าใจคุณค่าของงานศิลปะที่แท้จริง ป้าภาพยายามไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง โดยชี้ให้ลุงนกเห็นว่าการยึดติดกับตัวตนและวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป เธอเตือนลุงนกให้นึกถึงชื่อนามปากกา "ไร้รัง" ที่แสดงถึงความโดดเดี่ยว และถามว่าการใช้ชีวิตแบบนั้นมาตลอดทำให้เขามีความสุขจริงหรือไม่ ในขณะเดียวกัน ป้าภาเองก็กำลังเผชิญกับความท้าทายในการดูแลคุณยายออมสิน ผู้เป็นแม่ที่เริ่มมีอาการหลงลืม ทำให้เธอเข้าใจดีว่าการยึดมั่นในวิธีการเดิม ๆ อาจไม่ช่วยให้เราก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้
ลุงนกจะยอมเปิดใจให้กับเทคโนโลยีและความคิดใหม่ ๆ หรือจะยึดมั่นในอุดมการณ์เดิม? และบ้านรับฝากผู้สูงอายุของป้าภาจะกลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และเยียวยาสำหรับทุกคนได้จริงหรือไม่?
ติดตามชมละคร เกิด/แก่/เจ็บ/โต ตอนที่ 2 ตัวตน : วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2568 เวลา 20.30 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3
▶️ ชมสดออนไลน์
▶️ ชมละคร "เกิด/แก่/เจ็บ/โต"อีกครั้ง
หลังจากประสบอุบัติเหตุรถล้มจนแขนหัก ลุงนกนักเขียนวัย 60 ปีที่เคยมีชื่อเสียงน่าจับตามองในอดีต ได้มาขอความช่วยเหลือจากป้าภา เจ้าของบ้านรับฝากผู้สูงอายุ เพื่อหาผู้ช่วยพิมพ์งานแทนในช่วงที่เขาพักฟื้น ป้าภาจึงแนะนำให้โจโจ้ ผู้ช่วยหลักของเธอมาช่วยลุงนก โจโจ้มั่นใจในฝีมือการพิมพ์ตัวเองจึงตื่นเต้นมาก และรับปากว่าจะทำงานให้อย่างเต็มที่ แต่สถานการณ์ไม่เป็นดังใจ เมื่อโจโจ้เริ่มพิมพ์งานให้ลุงนก เธอกลับใช้สำนวนภาษาแบบวัยรุ่นที่ไม่เข้ากับงานเขียนของลุงนก แม้จะพยายามอธิบายและแก้ไข แต่ช่องว่างระหว่างวัยและวิธีการใช้ภาษาก็ทำให้ลุงนกรู้สึกไม่พอใจและตัดสินใจไม่ทำงานกับโจโจ้
ในขณะเดียวกัน แจน เด็กสาวที่มาบำเพ็ญประโยชน์ที่บ้านรับฝากผู้สูงอายุของป้าภา ก็กำลังประสบปัญหาเช่นกัน ความตรงไปตรงมาตามสไตล์ Gen Z ของเธอทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อเธอพูดจาตรงเกินไปจนทำให้ยายเต่า ผู้สูงอายุคนหนึ่งในบ้าน ร้องไห้เสียใจ แม้แจนจะช่วยป้องกันไม่ให้ยายเต่าตกเป็นเหยื่อแก๊งหลอกลวงออนไลน์ แต่วิธีการพูดของเธอกลับทำร้ายจิตใจผู้สูงอายุโดยไม่ตั้งใจ แจนรู้สึกผิดและสับสนมาก เธอไม่เข้าใจว่าทำไมการพูดความจริงถึงทำให้คนอื่นเสียใจได้ เธอเริ่มคิดว่าตัวเองอาจไม่เหมาะกับงานดูแลผู้สูงอายุที่ต้องมีความละเอียดอ่อนทางอารมณ์ และควรทำงานที่ใช้ทักษะทางเทคโนโลยีของเธอมากกว่า ป้าภาสังเกตเห็นปัญหาของทั้งสองฝ่าย จึงคิดแผนที่จะแก้ปัญหาทั้งหมดด้วยวิธีเดียว นั่นคือการให้แจนไปช่วยลุงนกพิมพ์งานแทนโจโจ้ ด้วยหวังว่าสถานการณ์นี้จะเป็นโอกาสให้ทั้งคู่ได้เรียนรู้จากกันและกัน ลุงนกอาจได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จากแจน ขณะที่แจนอาจได้เรียนรู้ทักษะการสื่อสารที่นุ่มนวลขึ้นจากประสบการณ์ของลุงนก
แต่การเริ่มต้นไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง เมื่อแจนและลุงนกพบกันครั้งแรก บรรยากาศเต็มไปด้วยความตึงเครียด ทั้งสองมีมุมมองและทัศนคติที่แตกต่างกันสุดขั้ว ความขัดแย้งเริ่มตั้งแต่การพูดคุยครั้งแรก ลุงนกมองว่าเด็กสมัยนี้ไม่มีสัมมาคารวะ ในขณะที่แจนมองว่าผู้ใหญ่อย่างลุงนกยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ มากเกินไป ลุงนกปฏิเสธข้อเสนอของแจนเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงาน เขายึดมั่นว่างานศิลปะต้องสร้างด้วยมือศิลปิน ต้องมีจิตวิญญาณ และอธิบายว่านักเขียนรุ่นพี่ที่เขานับถือเคยบอกว่า สิ่งที่ทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นคือ "กระดูกสันหลัง ภาษา และมือ" เขารู้สึกว่าการสูญเสียความสามารถในการใช้มือ (จากอุบัติเหตุ) และภาษา (หากยอมให้เทคโนโลยีมาแทนที่) จะทำให้เขาสูญเสียตัวตนไปในที่สุด แจนพยายามพิสูจน์คุณค่าของเทคโนโลยีโดยการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับลุงนก เธอพบว่าเขาเคยเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง เคยเข้าชิงรางวัลซีไรท์ และได้รางวัลอื่น ๆ มากมาย เธอตั้งใจจะช่วยปรับปรุงงานเขียนของลุงนกให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่มากขึ้น เนื่องจากบทความของเขามียอดอ่านน้อยมากเมื่อเทียบกับบทความอื่นในเพจเดียวกัน
เมื่อแจนลองนำเสนอไอเดียการใช้ AI ช่วยปรับภาษาในบทความของลุงนก ความขัดแย้งยิ่งทวีความรุนแรง ลุงนกโกรธมากและกล่าวหาว่าแจนก้าวก่ายและไม่เคารพงานของเขา เขาตอกย้ำว่าเด็กสมัยนี้ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้ใหญ่ มองตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล และไม่เข้าใจคุณค่าของงานศิลปะที่แท้จริง ป้าภาพยายามไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง โดยชี้ให้ลุงนกเห็นว่าการยึดติดกับตัวตนและวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป เธอเตือนลุงนกให้นึกถึงชื่อนามปากกา "ไร้รัง" ที่แสดงถึงความโดดเดี่ยว และถามว่าการใช้ชีวิตแบบนั้นมาตลอดทำให้เขามีความสุขจริงหรือไม่ ในขณะเดียวกัน ป้าภาเองก็กำลังเผชิญกับความท้าทายในการดูแลคุณยายออมสิน ผู้เป็นแม่ที่เริ่มมีอาการหลงลืม ทำให้เธอเข้าใจดีว่าการยึดมั่นในวิธีการเดิม ๆ อาจไม่ช่วยให้เราก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงในชีวิตได้
ลุงนกจะยอมเปิดใจให้กับเทคโนโลยีและความคิดใหม่ ๆ หรือจะยึดมั่นในอุดมการณ์เดิม? และบ้านรับฝากผู้สูงอายุของป้าภาจะกลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และเยียวยาสำหรับทุกคนได้จริงหรือไม่?
ติดตามชมละคร เกิด/แก่/เจ็บ/โต ตอนที่ 2 ตัวตน : วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2568 เวลา 20.30 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3
▶️ ชมสดออนไลน์
▶️ ชมละคร "เกิด/แก่/เจ็บ/โต"อีกครั้ง