ดีเอสไอ ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมโยธาธิการและผังเมือง เข้าเก็บตัวอย่างปูนอาคาร สตง. นำไปประกอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุอาคารถล่ม ส่วนความคืบหน้าการรื้อถอนซากอาคารถล่มมีความคืบหน้าไปมาก สามารถเข้าถึงชั้นใต้ดินได้แล้วประมาณ 2 เมตร
รมว.อุตสาหกรรม เดินหน้าประชุมคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อพิจารณายกเลิกมาตรฐานเหล็ก ที่ผลิตจากเตา IF ซึ่งจะนำไปสู่การปิดโรงงานเหล็กไม่ได้มาตรฐานถาวร ย้ำเพิกถอนสิทธิประโยชน์บีโอไอ ซิน เคอ หยวน ทำให้หมดโอกาสเปิดโรงงานใหม่ในไทย
วันนี้ (21 เม.ย. 68) เจ้าหน้าที่ยังคงเดินหน้ากู้ซากอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่มต่อเนื่อง มีความคืบหน้าไปมาก โดยซากอาคารลดลงมาต่ำกว่า 12 เมตรแล้ว โดยเฉพาะในโซนบี ซึ่งเป็นจุดที่ทีมค้นหานานาชาติ เคยระบุว่า เป็นจุดที่พบสัญญาณชีพ ขณะนี้เปิดพื้นที่เข้าไปได้มากขึ้น เหลืออีกประมาณ 1 เมตร จะถึงตำแหน่งที่ถูกระบุไว้
วันนี้ (17 เม.ย. 68) ครบ 21 วัน เหตุอาคาร สตง. ถล่ม การค้นหาผู้สูญหายยังดำเนินต่อเนื่อง โดยใช้ทั้งเครื่องจักรหนักและเจ้าหน้าที่เข้าตัดเหล็กเพื่อเปิดทาง ขณะเดียวกันต้องเตรียมรับมือฝนที่เริ่มตกในพื้นที่ รองผู้ว่าฯ กทม. ระบุ มีการวางแผนระบายน้ำ พร้อมโรยปูนขาวฆ่าเชื้อก่อนปล่อยน้ำออกนอกพื้นที่ ขณะที่ พล.ต.ต. วาที อัศวุตมางกุร ผู้บังคับการกองพิสูจน์หลักฐานกลาง เผยว่า การพิสูจน์อัตลักษณ์ทำได้ยากขึ้น เพราะเวลาผ่านไปกว่า 20 วัน และมีฝนตก โดยจะใช้วิธีตรวจ DNA จากกระดูกที่ยังสมบูรณ์
14 เม.ย. 68 ภารกิจรื้อถอนซากอาคาร สตง. ถล่ม เพื่อค้นหาผู้ประสบภัย ที่ติดค้างอยู่ภายในยังเดินหน้าต่อเนื่องเป็นวันที่ 17 แล้ว เมื่อคืนที่ผ่านมามีรายงานความคืบหน้าว่าพบร่างผู้เสียชีวิตอยู่ภายในบ้านอาคารถล่มถูกนำออกมาได้แล้ว 3 คน ติดตามรายละเอียดกับคุณคัมคุณ ยมนาค ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส
หลังการรื้อถอนซากอาคาร สตง. เมื่อคืนที่ผ่านมา ได้ยุติค้นหาผู้สูญหายชั่วคราว เนื่องจากมีฝนตกลงมาอย่างหนัก เช้านี้ (10 เม.ย. 68) เจ้าหน้าที่เร่งเดินหน้าใช้เครื่องจักรหนักค้นหาอีกครั้ง จนถึงขณะนี้การขุดเจาะพื้นที่เป้าหมายสำคัญ สามารถเจาะทะลุเป็นโพรงเชื่อมโยงได้แล้วหลายจุดแล้ว
ผู้ประกอบการเหล็กตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุที่สามารถทำให้ “ตึก สตง.” ถล่ม มี 3 ปัจจัย คือ การออกแบบไม่ถูกต้อง ก่อสร้างไม่ดี หรือใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยสัดส่วนวัสดุก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานที่มีผลต่อการถล่มของตึก อาจจะต้องสูงกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนวัสดุทั้งหมดที่ใช้
เปิดพื้นที่โซน B และ C ของตึก สตง. หลังคาดว่ามีผู้ติดค้างในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งแม้ว่าจะใช้เครื่องมือหนักก็ยังต้องทำด้วยความระมัดระวัง ส่วนแผนงานต่อไปจะใช้เครื่องจักรทยอยรื้อถอนโครงสร้างในพื้นที่กึ่งกลางยอดกองซากอาคาร เพื่อเปิดช่องแนวดิ่งก่อนลงไปค้นหาผู้ติดค้างภายใน