จนท.ระดมกำลังเข้าไปจัดการฟื้นฟูพื้นที่ดินโคลนทับถมจำนวนมากที่ชุมชนไม้ลุงขน อ.แม่สาย ส่วนเหตุน้ำท่วมใหญ่ 2 ครั้งติดในตัวเมืองเชียงใหม่ ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ซึ่งเดือนหน้าต้องเตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยว บางร้านยอมรับต้องเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ทั้งหมด
ชาวชุมชนเมืองสาตร ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ ล้างผางประทีปที่เปื้อนโคลน เพื่อเตรียมขายในช่วงเทศกาลลอยกระทง หรือ ประเพณียี่เป็ง หวังลดภาวะการขาดทุน หลังแม่น้ำปิงทะลักเข้าท่วม ช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้ โคมล้านนา และ โคมลอย ที่ทำจากกระดาษ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ผู้ผลิตบางราย มีสินค้าเสียหายมากกว่า 3-4 แสนบาท
จังหวัดเชียงใหม่ ยังมีบ้านเรือนในตำบลแม่ริม อำเภอแม่ริม ที่เสียหายจากน้ำกัดเซาะ จนเกิดการทรุดตัวถึง 2 หลัง และกระแสน้ำพัดบ้านพังทั้งหลัง ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน จนถึงวันนี้ เกือบ 1 เดือน ก็ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ และต้องไปอาศัยอยู่กับญาติเพื่อความปลอดภัย
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ประกาศ! เตรียมตัดไฟในพื้นที่ที่มีความจำเป็นต้องดับไฟฉุกเฉิน เช่นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน เนื่องจากน้ำท่วมสูงหากผู้ใช้ไฟ มีปัญหาการใช้ไฟฟ้า หรือต้องการแจ้งเหตุด้านระบบไฟฟ้า โทร.1129 PEA Contact Center ติดตามชมรายการสถานีประชาชน ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/People/episodes/104412
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำปิง ลดระดับอย่างต่อเนื่อง จากจุดวัดระดับ P1 ที่เคยสูงกว่า 5 เมตร ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (7 ต.ค. 67) เวลา 7.00 น. ลดลงต่ำกว่า 4 เมตรแล้ว อยู่ที่ 3.95 เมตร ส่งผลให้ปัญหาน้ำท่วมในเขตอำเภอเมืองและอำเภอสารภี หลายจุดมีสถานการณ์ที่ดีมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ใช่ว่าจะหายเดือดร้อนกันเลยทีเดียว เพราะยังมีบ้านหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ และน้ำยังท่วมอยู่ ติดตามชมรายการสถานีประชาชน ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/People/episodes/104388
ฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผอ.ศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประเมินสถานการณ์น้ำ โดยยืนยันว่าการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 2,200 ลบ.ม. เนื่องจากไม่มีฝนตกเพิ่ม และมวลน้ำสูงสุดกำลังเคลื่อนผ่านเขื่อนเจ้าพระยา คาดว่าหลังจากนี้ 1 สัปดาห์จะเริ่มเห็นระดับน้ำลดลง
น้ำท่วมเชียงใหม่ครั้งนี้ นอกจากคนที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากแล้ว ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่ได้รับผลกระทบ เหตุน้ำป่าที่ศูนย์บริบาลช้าง จังหวัดเชียงใหม่ แม้จะมีการเร่งช่วยชีวิตช้างกว่าร้อยเชือกไว้ แต่ก็ช่วยได้ไม่หมด มีช้างตาย 2 เชือก จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ การเลี้ยงช้างแบบไม่ล่ามโซ่ ทำให้ช้างไม่เชื่อฟังจนเป็นข้อจำกัดในการเข้าช่วยเหลือหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ชนิดอื่น ๆ ถูกน้ำพลัดหลงกับเจ้าของ แต่ขณะที่บางชนิดที่มากับน้ำก็สร้างความกังวลให้กับชาวบ้านเช่นกัน