ผลสอบ “ปลาหมอคางดำ” ไม่เสร็จใน 7 วัน อธิบดีกรมประมงแจ้งปลัดกระทรวงเกษตร ขอเลื่อนส่งผลสอบ หาต้นตอ-การระบาดของ “ปลาหมอคางดำ” ออกไปเป็น 1 ส.ค.2567 ปลัดย้ำ ผลตรวจสอบต้องชัดเจน- เป็นธรรมกับทุกฝ่าย และรายงานต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้
พาไปทำความรู้จักวงจรชีวิต "ปลาหมอคางดำ" ทำชาวบ้านหมดเนื้อหมดตัวทำมาหากินไม่ได้ ซึ่ง 14 ปีที่ผ่านมา ทำให้ปลาหมอคางดำ ไม่เคยหายไปไหน ระบาดครั้งแรก จ.สมุทรสงคราม ทั้งแพร่ระบาดกินลูกกุ้งหอยปูปลามานานนับ 10 ปีแล้ว ก็ยังแก้ไม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะไม่มีใครไล่ล่าวงจรชีวิตปลาหมอทัน
ปลาหมอคางดำ มีลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ซึ่งพบการนำเข้าไปในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ที่มีรายงานเข้ามา ในปี 2553 โดยบริษัทเอกชน จำนวน 2,000 ตัว มาทดลองเลี้ยงที่ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม แต่เอกชนแจ้งว่า มันตายลงทั้ง 2,000 ตัว ในศูนย์ทดลอง จึงได้ทำลายและฝังกลบซากปลา แต่สำนักข่าวอิศรา รายงานอ้างว่า ไม่มีการจัดทำรายงาน แจ้งกรมประมงอย่างเป็นทางการ แต่ในปี 2555 เกษตรกรใน ต.ยี่สาร แจ้งว่า พบปลาหมอสีคางดำ อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นครั้งแรก ก่อนทยอยพบใน จ.เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ราชบุรี ระยอง จันทบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และล่าสุดยังพบใน ชุมพร สงขลา ปลาหมอคางดำ กินทั้งพืช สัตว์ แพลงก์ตอน ลูกปลา ลูกหอย ซากสิ่งมีชีวิต ที่ชอบมาก ๆ คือ ลูกกุ้ง ลูกปลาวัยอ่อน ระบบย่อยของมันดี มีลำไส้ยาวกว่าลำตัวถึง 4 เท่า ทำให้ย่อยกุ้ง 1 ตัวได้ ในเวลาไม่ถึง 30 นาที มันจึงเป็นปลานักล่าที่น่ากลัว
‘ปลาหมอคางดำ’ หรือ ‘ปลาหมอสีคางดำ’ เอเลี่ยนสปีชีส์สัตว์สายพันธุ์ต่างถิ่นจากทวีปแอฟริกา ที่ถูกขนานนามว่าเป็นสิ่งมีชีวิต “อันตราย” เพราะความอึด ทนทาน อยู่ได้ทุกสภาพแวดล้อม แถมยังกินสัตว์น้ำตัวเล็กชนิดอื่น ๆ จนหมดเกลี้ยง ชาวประมงและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์ในไทยต้องได้รับผลกระทบมายาวนานกว่า 10 ปี ถึงวันที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้แล้ว