กรมอุตุนิยมวิทยา เผย มวลอากาศเย็นค่อนข้างแรงจากจีนปกคลุมไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลง บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและฝนที่ตกสะสม
น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ ยังคงทิ้งความเสียหายเป็นวงกว้าง อย่างกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ตลอดแนวชายหาดจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่วางแผนเลี้ยงกุ้งไว้ขายช่วงปีใหม่นี้ เตรียมเครื่องผลักดันน้ำ พร้อมช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่ ซึ่งยังคงท่วมขัง โดยเฉพาะริมน้ำตาปี รองรับปริมาณน้ำฝนที่จะตกหนักในช่วงวันที่ 28-31 ธ.ค.นี้ ตามคำเตือนของศูนย์อุตุนิยมวิทยา ซึ่งทางจังหวัดสั่งการให้เฝ้าระวังต่อเนื่อง
เกาะติด "น้ำท่วมภาคใต้" (ยัง) วิกฤต "ภัยพิบัติซ้ำซาก" โดยเฉพาะสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และหลายจังหวัดทางภาคใต้ และปัจจัยที่ทำให้ฝนตกหนักมากกว่าปกติ พูดคุยกับ ไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ระดับน้ำลดลงและเริ่มเข้าสู่สภาวะฟื้นฟูแล้ว แต่หลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยยังต้องเตรียมรับมือกับฝนตกหนักในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากซ้ำอีก ติดตามชมรายการสถานีประชาชน ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/People/episodes/104593
กรมอุตุนิยมวิทยา เผยไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เจอฝนตกหนัก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วน กรุงเทพฯ และปริมณฑล ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
แม้ว่าภาคกลางจะยังไม่ได้มีปัญหาน้ำท่วมหนักเทียบเท่ากับพื้นที่ตอนบน แต่ก็ถูกใช้เป็นเหตุผลที่ทำให้ข้าวของราคาแพงขึ้น แม้แต่ข้าวสาร ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีสต๊อกล่วงหน้า ล่าสุด ที่ จ.ตรัง พบว่า ข้าวสารอย่างดี ปรับราคาแพงขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ กระสอบละกว่า 100 บาท
ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากอิทธิพล “พายุซูลิก” แม้ว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ยังมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ แต่หากเรามา วัดพลังความรุนแรง “พายุยางิ" ที่ถล่มแม่สาย จ.เชียงราย และ “พายุซูลิก" แม้ฝนครั้งนี้จะไม่รุนแรงเท่า แต่เรายังไว้วางใจได้หรือไม่ ชวนวิเคราะห์เพิ่มเติม กับ รศ. เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญ IPCC