เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่พรรคประชาธิปัตย์ มีการประชุมระหว่างกรรมการบริหาร และ ส.ส. เพื่อพิจารณายืนยันมติของกรรมการบริหารพรรค ที่มีมติเอกฉันท์มาก่อนหน้านี้ว่าให้ร่วมรัฐบาล พร้อมเสนอชื่อ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรค ให้เป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ นายเดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรค ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตามโควต้าที่เพื่อไทยจัดให้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบว่ามีแผ่นป้ายปริศนา ข้อความระบุว่า เพียงเพื่อสนองตัณหาของคนสองสามคน เราจะยอมคบคนชั่วเป็นมิตร โดยไม่รู้จักแยกแยะแยกชั่วเลยหรือ มาวางอยู่บริเวณหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้นำมาวางไว้
สถานการณ์การเมืองไทยในเวลานี้ "ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร" เมื่อกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย มีมติไม่เอาพรรคพลังประชารัฐ ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เข้าร่วมรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร ก่อนส่งหนังสือเทียบเชิญพรรคประชาธิปัตย์ร่วมรัฐบาล การที่พรรคเพื่อไทยจับมือพรรคประชาธิปัตย์ถือเป็นการยุติ 26 ปี ศัตรูการเมือง และถือเป็นการปิดตำนานการเมือง "บิ๊กป้อม" หรือไม่ ? พูดคุยกับ ไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ)
พูดคุยกับ ไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เพื่อวิเคราะห์ทิศทางพรรคพลังประชารัฐในวันที่ต้องกลายเป็นฝ่ายค้าน บารมีทางการเมืองของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และประเมินการเดินเกมตอบโต้กลับ หรือจะยอมแพ้ ปิดตำนานการเมือง พล.อ.ประวิตร ?
วันนี้ (27 ส.ค. 67) มีความเคลื่อนไหวการตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทั้งในฟากพรรคประชาธิปัตย์ ที่แกนนำพรรคต่างแสดงความพร้อม แต่มีรายงานข่าวว่ายังไม่ได้รับเทียบเชิญมา ส่วนพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค นัดกินข้าวมื้อเที่ยงกับบรรดา สส.ของพรรค แต่ไร้เงากลุ่ม ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรค และสส.ในกลุ่ม ซึ่ง ร.อ. ธรรมนัส ย้ำว่าอำนาจเลือกรัฐมนตรีเป็นของนายกฯ พรรคร่วมรัฐบาลต้องเคารพ และคาดว่าการจัดทำโผ ครม.แพทองธาร จะจบลงไม่เกินวันที่ 30 ส.ค.นี้
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำยืนยันว่า 2 รายชื่อ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ "เฉลิมชัย ศรีอ่อน-เดชอิศว์ ขาวทอง" ถูกส่งถึงพรรคเพื่อไทย เพื่อพิจารณาชื่อเป็นรัฐมนตรีใน ครม. "แพทองธาร" เป็นจริงตามข่าวหรือไม่ แต่ดูเหมือนจะไร้ปัญหา เมื่อผู้ใหญ่ในพรรค "ชวน หลีกภัย" บอกว่า ไม่ขัดข้องถ้าเป็นมติพรรค
วานนี้ (20 ส.ค. 67) เป็นกำหนด "เดดไลน์" ให้พรรคร่วมรัฐบาลส่งชื่อรัฐมนตรีตามโควต้าเดิมของแต่ละพรรคให้กับพรรคเพื่อไทย เพื่อพิจารณาและส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและกฤษฏีกา ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ข้อมูลล่าสุด ส่งมาหลายพรรคการเมืองแล้ว ทั้งพรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคประชาชาติ พรรคชาติไทยพัฒนา และมีรายงานว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้โควตารัฐมนตรีเข้าร่วมรัฐบาลในครั้งนี้ด้วย
ถึงเวลานี้มีความเป็นไปได้สูง ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จะตบเท้าเข้าร่วมเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ภายหลังแกนนำพรรคแสดงท่าที และเตรียมเปิดการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค ปชป. หากลงมติเห็นด้วย ส.ส. 25 เก้าอี้ ทั้งหมดของ ปชป. จะเข้าร่วมรัฐบาลได้ทันที มีรายงานข่าวว่า เงื่อนไขการเจรจาร่วมรัฐบาลระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ คือมาทั้งพรรคครบทั้ง 25 เสียง จะได้โควตารัฐมนตรี 2 ตำแหน่งคือ 1 รัฐมนตรีว่าการฯ และ 1 รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การปะทะฝีปากกันระหว่าง นายเศรษฐา ทวีสิน และ นายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ เรียกความสนใจจากคอการเมืองได้มาก คนหนึ่งคือผู้นำบริหารประเทศรุ่นใหม่ทางการเมือง อีกคนคือผู้คร่ำหวอดที่อยู่บนเวทีการเมืองมาทั้งชีวิต ไม่บ่อยที่จะมีใครสักคนตอบโต้ "ชวน" ได้แบบนี้ ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
การอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ วันที่ 3-4 เมษายนนี้ เป็นเวทีแรกของ 2 แกนนำ พรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคก้าวไกล ซึ่งหัวหน้าประชาธิปัตย์การันตีว่าไม่มีล้มมวย ขณะที่พรรคก้าวไกลซุ่ม-ซ้อมใหญ่ไปแล้ว ขณะที่แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลอย่าง พรรคเพื่อไทย ไม่ห่วงถูกอภิปรายปม 2 มาตรฐาน กรณีการรับโทษของ นายทักษิณ ชินวัตร ประเด็นที่ถูกกำหนดไว้ในการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ ของฝ่ายค้าน คือ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ยังมีเรื่องการดำเนินการแบบ 2 มาตรฐาน กรณี นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกอภิปรายโจมตีตั้งแต่เวทีของ สว. นางสาว แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และแกนนำพรรคเพื่อไทย ไม่หวั่นไหว เพราะมองว่าไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ และมั่นใจว่ารัฐบาลจะตอบข้อสงสัยได้ทั้งหมด เพราะให้ข้อมูลที่จำเป็นกับผู้ที่รับผิดชอบไปแล้ว
นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งคำถามถึงกรมคุมประพฤติและกรมราชทัณฑ์ พร้อมจับตากระบวนการเบื้องหลัง เมื่อ "ทักษิณ" กลับเชียงใหม่ ว่าเอื้อประโยชน์ให้กับใครหรือไม่ และอย่างไร รับชมรายการมุมการเมือง (11 มี.ค. 67) ที่ www.thaipbs.or.th/program/PoliticalView/episodes/100449