ครบรอบ 2 ปี ทรูควบรวมดีแทค เผชิญข้อกังวลต่อผู้บริโภคหลายด้าน ขณะที่ กสทช. มีปัญหาภายใน คดี "พิรงรอง" ที่ถูกศาลตัดสินจำคุก ทำให้เกิดข้อกังวลถึงการคุ้มครองผู้บริโภคและการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ และยังมีประเด็นประมูลคลื่นความถี่ 6G เดือน พ.ค.ที่ต้องจับตา
เป็นครั้งแรกที่ ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช.ออกมาให้สัมภาษณ์ หลังศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิพากษาจำคุก ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ โดยวันนี้ ยืนยันว่า มีกำลังใจมากขึ้น พร้อมร่วมมือทำหน้าที่ยกระดับมาตรฐานการนำเสนอข่าวสาร และเนื้อหาของสื่อต่อไป
นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ นักวิชาการด้านความมั่นคงไซเบอร์และอดีตกรรมการที่ร่างกฎหมาย กสทช. อธิบายถึงเจตนารมย์ของกฎหมายที่ให้อำนาจ “กสทช.” ในการควบคุมดูแลสื่อที่ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ OTT ด้วยหรือไม่ รวมถึงบทบาทการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช. จากนี้ควรเป็นเช่นไร
กรณีศาลอาญาคดีทุจริตฯ ตัดสินให้ ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. มีความผิดตามมาตรา 157 จากการที่ บริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ได้ยื่นฟ้องนั้น สะเทือนไปถึงการกำกับดูแลทีวีดิจิทัลและเทเลคอมที่อาจไปต่อไม่ได้ ? เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแล กสทช. อย่างเร่งด่วน เป็นมุมมองและข้อเรียกร้องเร่งด่วนของ อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ อุปนายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย)
กรณีศาลอาญาคดีทุจริตฯ ตัดสินให้ ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. มีความผิดตามมาตรา 157 จากการที่ บริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ได้ยื่นฟ้องนั้น สุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการ กสทช. เปิดใจส่วนตัวก็เคยถูกฟ้อง ม.157 เช่นกัน แต่เป็นการฟ้องทางปกครอง เรื่องไปที่ศาลปกครอง ไม่ใช่ไปที่ศาลอาญาแบบ ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง แต่ทั้งนี้ ยอมรับว่าการถูกฟ้อง ทำให้กระทบกับการทำงาน ทำงานได้ไม่เต็มที่
กรณีศาลอาญาคดีทุจริตฯ ตัดสินให้ ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. มีความผิดตามมาตรา 157 จากการที่ บริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ได้ยื่นฟ้องนั้น ในมุมมอง สุภิญญา กลางณรงค์ อดีตกรรมการ กสทช. และ อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ อุปนายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอล (ประเทศไทย) มองอย่างไร
หลังศาลมีคำสั่งพิพากษา ศ.กิตติคุณ พิรงรอง รามสูต กสทช. มีคำถามตามมามากมาย โดยเฉพาะอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ในการกำกับดูแลสื่อและโทรคมนาคมหลังจากนี้ เราคุยเรื่องนี้กับ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. ประเมินเรื่องนี้
กรณีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาจำคุก 2 ปี ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช. จากการออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในแอปพลิเคชัน True ID ซึ่งมี บริษัท ทรู ดิจิทัล เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ก่อนศาลจะให้ประกันตัวนั้น รศ.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า กรณีดังกล่าวทำให้เกิดคำถามว่าหลังจากนี้ จะมีใครกล้าทำงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน
พรุ่งนี้ (6 ก.พ. 68) ศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบกลาง ตลิ่งชัน นัดฟังคำพิพากษา ในคดีที่ บริษัท ทรูดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ฟ้อง ศาสตราจารย์กิตติคุณ พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรก บนแพลตฟอร์มทรูไอดี ซึ่งคดีนี้กำลังเป็นที่จับตามองของภาคประชาชน