รัสเซียเปิดฉากโจมตีกรุงเคียฟระลอกใหม่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 12 คน ถือเป็นการโจมตีกรุงเคียฟครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 9 เดือนและใหญ่ที่สุดของปีนี้ เหตุโจมตีดังกล่าวทำให้ผู้นำยูเครนลดกำหนดการเยือนต่างประเทศและเดินทางกลับยูเครนทันที
สมรภูมิสงครามรัสเซีย-ยูเครน กลับมาดุเดือดอีกครั้ง หลังรัสเซียยิงขีปนาวุธโจมตียูเครนครั้งใหญ่ในเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 34 คน บาดเจ็บ 117 คน ท่ามกลางเสียงประณามจากหลายชาติ ขณะที่ "เซเลนสกี" เรียกร้องนานาชาติให้ร่วมกันกดดันรัสเซีย
วลาดิเมียร์ ปูติน อาจไม่ได้มองสันติภาพในยูเครน แต่ตั้งเป้าพลิกโฉมระเบียบโลกให้รัสเซียเป็นผู้นำสูงสุด แม้ต้องขัดแย้งกับยูเครนและชาติตะวันตก ขณะที่ ทรัมป์ หวังสงครามจบเร็วโดยไม่สนใจอะไร ผู้เชี่ยวชาญเตือนนี่อาจเป็นโอกาสให้ปูตินก้าวสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า
ผู้แทนจากสหรัฐฯ เดินทางถึงรัสเซียเพื่อเดินหน้าเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิง 30 วัน หลังยูเครนยอมรับข้อเสนอ ขณะที่ที่ปรึกษาผู้นำรัสเซีย มองว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นผลดีแก่รัสเซีย ด้านปูตินเห็นด้วยแต่ต้องการการรับประกันว่าจะนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืน
รัสเซียยืนยันแล้วว่ากำลังรอข้อมูลจากสหรัฐฯ เกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิง 30 วัน ที่ทั้ง 2 ประเทศได้ประชุมกัน ขณะเดียวกันตอนนี้ตลาดการค้าโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กและอะลูมิเนียมกำลังร้อนๆ หนาวๆ หลังผู้นำสหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีนำเข้าจากทุกประเทศทั่วโลก 25%
นาทีแสงสว่างวาบไปทั่วทั้งท้องฟ้าเหนือกรุงเคียฟ พร้อมกับเสียงระเบิดดังสนั่นหลายต่อหลายครั้ง หลังจากรัสเซียโจมตียูเครนด้วยขีปนาวุธอย่างน้อย 70 ลูก โดรนอีกไม่ต่ำกว่า 145 ลำ ช่วงกลางดึกถึงเช้ามืดวันพฤหัสบดี (24 เม.ย. 68) ตามเวลาท้องถิ่น ถือเป็นการโจมตีใส่กรุงเคียฟครั้งใหญ่ที่สุดของปีนี้ ตัวเลขผู้เสียชีวิตในกรุงเคียฟเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 12 คน มีผู้บาดเจ็บอีก 90 คน และอาจพบผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บเพิ่มอีกจากใต้ซากปรักหักพัง ขณะที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หันกลับมาวิจารณ์วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียอีกครั้ง โดยระบุว่า ตนไม่พอใจที่รัสเซียโจมตีใส่กรุงเคียฟโดยไม่จำเป็นและไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง และบอกกับปูตินให้หยุดได้แล้ว เพราะทุก ๆ สัปดาห์มีทหารสูญเสียชีวิตถึง 5,000 นาย พร้อมทั้งเรียกร้องให้ปูตินมาทำข้อตกลงสันติภาพกับสหรัฐฯ
ยุติสงครามรัสเซีย-ยูเครนภายใน 24 ชั่วโมง เป็นหนึ่งในนโยบายต่างประเทศสำคัญของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แต่ผ่านมามากกว่า 2 เดือน กับการเดินเกมทางการทูตของสหรัฐฯ ด้วยการเดินสายคุยกับคู่ขัดแย้งทั้ง 2 ฝ่าย กลับไม่ได้ผลลัพธ์อะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันเลยสักอย่าง ทำให้ทรัมป์ ระบุว่า สหรัฐฯ จะเลิกพยายามช่วยยุติสงครามในยูเครน ถ้ารัสเซียหรือยูเครนยังเอาแต่ขัดขวางความพยายามดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แม้สหรัฐฯ และยูเครนจะสามารถบรรลุข้อตกลง เรื่องการขุดเจาะแร่ธาตุ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการลงนามภายในสัปดาห์นี้ แต่ถ้ารัสเซียยอมให้ผลประโยชน์อะไรบางให้กับสหรัฐฯ เช่นกัน เช่น แร่ธาตุในดินแดนยูเครนที่รัสเซียยึดครองอยู่ สหรัฐฯ จะเทไปทางไหน ซึ่งคำตอบก็คงเดากันได้ไม่ยากนัก
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์สื่อบนเครื่องบินแอร์ ฟอร์ซ วัน ระหว่างเดินทางกลับกรุงวอชิงตัน ดีซี โดยยอมรับว่า การโจมตียูเครนของรัสเซียเป็นเรื่องที่เลวร้าย พร้อมทั้งระบุว่าได้รับแจ้งว่ารัสเซียทำพลาด แต่ผู้นำสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้รายละเอียดใดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อผิดพลาดที่กล่าวถึง
รัสเซียยิงโดรนโจมตียูเครน 147 ลำในชั่วข้ามคืน พุ่งเป้าโจมตีหลายพื้นที่ของประเทศ โดยระบบป้องกันภัยทางอากาศทำลายโดรนไปได้ 97 ลำ และอีก 25 ลำ ถูกสกัดไม่ให้โจมตีเป้าหมาย ขณะที่มีรายงานผู้เสียชีวิตในกรุงเคียฟอย่างน้อย 3 คน ในจำนวนนี้มีเด็กอายุ 5 ขวบรวมอยู่ด้วย
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เปิดเผยบน Truth Social ว่า วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เห็นชอบหลายประเด็น ก่อนการพูดคุยทางโทรศัพท์ของผู้นำทั้ง 2 คนจะเปิดฉากขึ้น เพื่อวางแนวทางในการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงของรัสเซียกับยูเครน Semafor สื่อออนไลน์สหรัฐฯ รายงานว่า ผู้นำสหรัฐฯ กำลังพิจารณาความเป็นไปในการรับรองคาบสมุทรไครเมียเป็นดินแดนรัสเซีย ขณะที่ผู้นำสหรัฐฯ ยังไม่ตัดสินใจเกี่ยวกับการรับรองคาบสมุทรไครเมีย และทางเลือกดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อเสนอยุติสงคราม
เจ้าหน้าที่หน่วยรับมือเหตุฉุกเฉินยูเครนเข้าฉีดน้ำดับเพลิงและควบคุมสถานการณ์ภายในเมืองแห่งหนึ่งในภูมิภาคโดเนตสค์ ทางตะวันออกของประเทศ หลังพื้นที่ดังกล่าวตกเป็นเป้าโจมตีทางอากาศด้วยโดรน ขีปนาวุธและจรวดหลายลูกของรัสเซีย กระทรวงมหาดไทยยูเครน เปิดเผยว่า การโจมตีดังกล่าวส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 11 คน และบาดเจ็บอีกไม่ต่ำกว่า 30 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีเด็กรวมอยู่ด้วย 5 คน
“พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย” เดินทางเยือนกรุงมอสโกอย่างเป็นทางการตามคำเชิญอย่างเป็นมิตรของ “วลาดิเมียร์ ปูติน” ประธานาธิบดีรัสเซีย และนำหนังสือที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1938 ขึ้นมาให้ปูตินอ่าน หนังสือกล่าวถึงพระราชประวัติของพระเจ้าอลองพญาในช่วงศตวรรษที่ 18 เนื้อหาได้สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์อันยาวนานของสองประเทศ
ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาเดินทางเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของ "วลาดิเมียร์ ปูติน" เพื่อหารือกระชับความร่วมมือทวิภาคี ซึ่งถือเป็นการพบกันระหว่าง 2 ผู้นำเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 2 ปี ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้น ท่ามกลางการจับตามองถึงการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ขณะที่ผู้นำทั้ง 2 ประเทศ ลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์ร่วมกัน ปูทางสู่การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในเมียนมา