ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายสายการบินในต่างประเทศ ประกาศห้ามใช้งานแบตเตอรี่สำรอง หรือ พาวเวอร์แบงค์ ขณะอยู่บนเครื่องบิน ด้านกระทรวงคมนาคมของเกาหลีใต้ ออกระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น ทีมข่าวสอบถามไปที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีการเปลี่ยนกฎระเบียบ แต่ กพท. อาจพิจารณามาตรการเพิ่มเติมในกรณีได้รับคำแนะนำหรือข้อกำหนดใหม่จากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
กลายเป็นความเห็นต่างในแวดวงการบิน เมื่อหน่วยงานกำกับดูแลด้านความปลอดภัยการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) เสนอแนวคิดความเป็นไปได้ในการใช้ “นักบินเพียงคนเดียว” ควบคุมเครื่องบินโดยสารในบางช่วงเวลา ล่าสุด มีความเห็นจากผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ที่ระบุว่า เป็นเรื่องที่ยังต้องใช้เวลาศึกษา
ทีมสอบสวนจากสหรัฐฯ และโบอิง บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินโดยสารลำที่ประสบอุบัติเหตุไถลหลุดรันเวย์ เดินทางลงจุดที่เกิดเหตุ เพื่อร่วมตรวจสอบซากเครื่องบินกับทีมสอบสวนของเกาหลีใต้ ขณะที่ประธานาธิบดีรักษาการและชาวเกาหลีใต้ร่วมไว้อาลัยให้กับผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในช่วงเช้าวันนี้(31ธ.ค.67) เจ้าหน้าที่กู้ภัยและทีมสอบสวนยังคงปักหลักอยู่ในบริเวณจุดเกิดเหตุภายในสนามบินมูอัน เพื่อเร่งตรวจสอบซากเครื่องบินและรวบรวมหลักฐานทั้งหมด หาเบาะแสที่อาจบ่งชี้ถึงสาเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้
กรณีสิงคโปร์ แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 ตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงฉับพลัน ถือเป็นอุบัติเหตุรุนแรงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตครั้งแรกในรอบ 24 ปี โดย ลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ขอบคุณการสนับสนุนจากทางการไทยและให้คำมั่นในการเปิดการสอบสวนอย่างละเอียด ขณะที่ ผู้โดยสารเที่ยวบิน SQ321 คนหนึ่ง เล่าถึงวินาทีเกิดเหตุว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นในเวลาไม่ถึง 10 นาที มันเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ผมคิดว่าไม่มีใครได้ทันตั้งตัว เท่าที่จำได้ผมนั่งอยู่และคาดเข็มขัดนิรภัยไว้ และเริ่มรู้สึกว่าเครื่องบินบินเข้าเขตอากาศแปรปรวน จากนั้นเครื่องบินเริ่มสั่น สัญญาณเตือนรัดเข็มขัดไม่ได้เปิดไว้ ผมไม่ได้ยินเสียงสัญญาณ และไม่มีประกาศจากนักบิน ผมคิดว่านักบินพยายามรับมือกับสถานการณ์ ก่อนที่เขาจะเตือนให้เตรียมความพร้อม และคาดเข็มขัดนิรภัย
กรณีสิงคโปร์แอร์ไลนส์ตกหลุมอากาศ เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อวานนี้ (21 พ.ค. 67) อาจทำให้หลายคนสงสัยว่า หลุมอากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันได้อย่างไร จากการศึกษาและรวบรวมสถิติพบ 4 ปัจจัยคือ • การก่อตัวของเมฆ ส่วนมากจะเป็นเมฆฝน ซึ่งนักบินจะบินเลี่ยง เพราะมองเห็นจากเรดาร์ • ลมผ่านภูเขาสูง ลมถูกดันขึ้นบ้างบน • อากาศยานอื่นอยู่ใกล้ มักเกิดตอนเครื่องลำอื่นบินผ่าน หรือขึ้นลงก่อนหน้า • อากาศปั่นป่วนในอากาศแจ่มใส เรดาร์ตรวจจับไม่ได้ เกิดขึ้นฉับพลัน ทำให้หลายครั้งนำมาซึ่งการบาดเจ็บของลูกเรือและผู้โดยสาร
มีการเรียกร้องให้กระทรวงคมนาคมแก้ไขปัญหาราคาตั๋วเครื่องบินแพง เพราะบางจังหวัด บางช่วงเวลา แพงกว่าไปต่างประเทศเสียอีก สภาองค์กรของผู้บริโภค เร่งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ทบทวนและศึกษาการกำหนดเพดานค่าโดยสารสายการบิน เพื่อให้เป็นธรรมกับผู้โดยสารและสายการบินมากที่สุด
ในภารกิจสำรวจคุณภาพอากาศด้วยเครื่องบินของนาซ่า นักวิทยาศาสตร์จะต้องอยู่บนเครื่องบินที่ติดตั้งอุปกรณ์พิเศษยาวนานถึง 8 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก ในขณะที่เครื่องบินจะเปลี่ยนระดับความสูงขึ้น-ลงระหว่าง 1 หมื่นฟุต ลงมาจนถึง 50 ฟุตเหนือพื้นดิน วนไปเรื่อยๆ ซึ่งมีความท้าทายไม่น้อย.. ซึ่งไทยพีบีเอส ได้รับอนุญาตจากองค์การนาซ่า เพื่อให้ขึ้นไปสำรวจ ภายในเครื่องบินที่ใช้ในภารกิจนี้ ติดตามกับคุณเฌอศานต์ ศรีสัจจัง