สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "อบจ." แต่อาจจะยังคงต้องติดตามผลว่า การเลือกตั้งในบางจังหวัด นั้นเป็นไปอย่าง "โปร่งใส-ยุติธรรม" หรือไม่ สืบเนื่องจากคำร้องที่ถึงมือ กกต.มากกว่า 150 เรื่อง และยังคงต้องเกาะติดการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "เทศบาล" นี้ด้วย
"ณัฐพงษ์" แถลงพรรคประชาชนชนะเลือกตั้ง ส.อบจ. 132 คน จี้ กกต.ทบทวนประกาศจัดเลือกตั้งวันเสาร์ทำให้คนมาใช้สิทธิน้อย พร้อมยื่นตรวจสอบบัตรเสีย จ.สมุทรปราการ ขณะที่ ว่าที่นายก อบจ.ลำพูน พร้อมทำงาน ยึดหลัก 3 ป.โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และทำงานร่วมกับประชาชน
วันนี้ (30 ม.ค. 68) รศ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา ประเมินการเลือกตั้ง อบจ. ในวันที่ 1 ก.พ.นี้ ค่ายสีแดง นำโดย นายทักษิณ ชินวัตร จะคว้าชัยชนะได้ไม่ต่ำกว่า 10 จังหวัด ที่ได้เดินสายปราศรัย แน่นอนได้ชัยชนะมากกว่าค่ายสีส้ม แต่ทั้งหมดนี้ให้จับตาค่ายสีน้ำเงิน ที่แม้ก่อนหน้านี้ประกาศตัวไม่ส่งผู้สมัครในนามพรรคภูมิใจไทย ลงแข่งขัน แต่สุดท้ายอาจได้ชัยชนะเลือกตั้ง อบจ. มากกว่าค่ายสีแดงและค่ายสีส้ม
นายทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคเพื่อไทย เปิดปฏิบัติการ “ไล่หนูตีงูเห่า” ต่อเนื่อง 2 วัน ประกาศจะคว้าเก้าอี้ สส. ยกจังหวัดศรีสะเกษ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ระหว่างช่วยผู้สมัครนายก อบจ. จากพรรคเพื่อไทยหาเสียง ท่ามกลางกระแสโซเชียลมีเดียทวงถาม “จะไล่หนูกี่โมง ?” นายทักษิณ ย้ำว่า ตอนนี้กลับมาแล้ว และพร้อมจะทำงานเพื่อประชาชน ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ก่อนจะเตือนว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ อยากให้กำนันผู้ใหญ่บ้านวางตัวเป็นกลาง หลังพบมีการถูกเรียกไปพบ
จับตาการเลือกตั้งนายก อบจ. จำนวน 47 จังหวัด วันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ หากผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย กวาดเก้าอี้นายก อบจ. ไปได้เป็นส่วนใหญ่ จะทำให้อำนาจการต่อรองในพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะกับพรรคภูมิใจไทย ดีขึ้นหรือไม่ วิเคราะห์ไปกับ รศ.ธนพร ศรียากูล ผอ.สถาบันวิเคราะห์การเมืองฯ
“ทักษิณ ชินวัตร” ลงพื้นที่ช่วยผู้สมัคร นายก อบจ.หาเสียง ขึ้นเวทีปราศรัย 3 เวทีรวดที่เชียงราย ส่งสัญญาณการกลับมาอย่างเต็มตัวของอดีตนายกรัฐมนตรี เรียกคืนความเชื่อมั่นผ่านการนำเสนอตัวเองเป็นผู้มีประสบการณ์และมีคอนเน็กชันกับบุคคลสำคัญทั้งในและต่างประเทศ การเลือกตั้ง อบจ. ที่กำลังจะมาถึงจะเป็นบททดสอบสำคัญว่ากลยุทธ์ของทักษิณจะยังคงได้ผลอยู่หรือไม่
ตามกฎหมายท้องถิ่นกำหนดให้มี "นายก อบจ." 1 ตำแหน่ง แต่สมาชิกสภา หรือ ส.อบจ. ให้ขึ้นอยู่จำนวนประชากรในแต่ละจังหวัด ขณะที่ งบประมาณของแต่ละจังหวัด ให้เป็นไปตามสภาผู้แทนราษฎร "เห็นชอบ-อนุมัติ" กฎหมายงบฯ แต่ละปี ประกอบกับการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น ตั้งแต่หลักร้อยล้านไปถึงพันล้านบาท และกลายเป็นเหตุหนึ่งให้ "บ้านใหญ่ทางการเมือง" ช่วงชิงกันเข้าสู่ตำแหน่ง
วิเคราะห์คะแนนเลือกตั้ง นายก อบจ. เทียบปีที่ผ่านมา กับนักรัฐศาสตร์จากนิด้า รศ.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต โดยมองว่า การมาของ “ทักษิณ” เป็นเพียงการตรึงฐานเสียงเดิมไว้ แต่ไม่ได้ทำให้คะแนนเพิ่มขึ้น หรือคนที่ปันใจกลับมาเลือกพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ “พรรคประชาชน” แม้แพ้เลือกตั้ง แต่พบคะแนนเสียงเพิ่มขึ้น
วันนี้ (24 พ.ย. 67) รศ. ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.บูรพา ชวนจับตาการเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช ที่ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ผู้สมัครจากค่ายสีน้ำเงิน มีคะแนนนำผู้สมัครจากค่ายสีฟ้า จะคล้าย ๆ กับตอนเลือก สว. ที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่าไม่ส่งคนลงแข่ง แต่สุดท้าย มาเงียบ ๆ แต่กินเรียบ
ไทยพีบีเอส รวบรวมข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของ อบจ. ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 – 2566 (ช่วง 10ปี) โดยเฉพาะงบฯ ที่ใช้กับระบบสาธารณูปโภค พบข้อสังเกตที่สำคัญ คือส่วนใหญ่เป็นการใช้งบฯ กับโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.การบริหารจัดการทรัพยากรฯ ซึ่งจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการขุดลอกแหล่งน้ำ และฝายน้ำล้น 2.การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล และ 3.โครงสร้างพื้นฐาน เป็นการใช้งบฯ เกี่ยวกับการสร้างถนน ระบบน้ำประปา และไฟฟ้า เป็นต้น อย่าง อบจ. 3 จังหวัด ที่มีการเลือกตั้งวันนี้ (24 พ.ย.) ทั้งหมดใช้งบฯ ส่วนใหญ่ไปกับโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ อบจ.นครศรีธรรมราช ใช้งบฯ กว่า 3,900 ล้านบาท ในช่วง 10ปี, อบจ.อุดรธานี ใช้งบฯ กว่า 2,400 ล้านบาทและ อบจ.เพชรบุรี ใช้งบฯ กว่า 2,400 ล้านบาท
วันนี้ (18 พ.ย. 67) จับสัญญาณการเมือง สู้ศึกเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในส่วนพรรคประชาชน ได้แถลงเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครนายก อบจ. 12 จังหวัด โดยตั้งเป้ายึดเก้าอี้นายก อบจ. “1 แห่งในทุกภูมิภาค” ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวย้ำถึงการวางตัวเป็นกลาง ในฐานะข้าราชการฝ่ายปกครองในพื้นที่ จึงได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงทำหนังสือแจ้งทุกพื้นที่ให้วางตัวเป็นกลาง และเพิ่มความระมัดระวังให้มากที่สุด ส่วนพรรคเพื่อไทย เตรียมประชุมใหญ่วิสามัญ ประจำปี 2567 ในวันพรุ่งนี้ (19 พ.ย. 67) เพื่อรับรองรายงานการประชุมประจำปี ร่างข้อบังคับพรรคและการเลือกคณะกรรมการสรรหาผู้สมัคร “อบจ.และ สส.”
ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ที่จัดวานนี้ (4 ก.ค. 67) ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชัยนาท และพะเยา ผู้ชนะการเลือกตั้งล้วนมาจากกลุ่มบ้านใหญ่ ได้แก่ จ.พระนครศรีอยุธยา นางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล หรือซ้อสมทรง บ้านใหญ่อยุธยา ครองเก้าอี้ นายก อบจ. นาน 5 สมัย หรือประมาณ 20 ปี ผู้อยู่เบื้องหลังชัยชนะ สส. 3 ที่นั่งของภูมิใจไทย ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ชนะการเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.ฯอีกสมัย จ.ชัยนาท นางจิตร์ธนา ยิ่งทวีลาภา บ้านใหญ่ตระกูลนาคาศัย ซึ่งเป็นพี่สาวนายอนุชา นาคาศัย สส.ชัยนาท และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชนะการเลือกตั้ง จ.พะเยา นายธวัช สุทธวงศ์ ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย ชนะคู่แข่งแบบขาดลอย