วันนี้ (17 ม.ค.2563) นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกรัฐบาล ชี้แจงกรณีข่าวคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบกลางข่าวงบกลาง จำนวน 3,079 ล้านบาท เพื่อไปแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งทำให้เกิดกระแสในโซเชียลว่าจะนำไปขุดบ่อบาดาล 500 บ่อ ราคาบ่อละ 6 ล้านบาท โดยเรื่องนี้เป็นข่าวปลอม ใครก็ตามที่นำข้อมูลอันเป็นเท็จนี้เข้าสู่ระบบ ก็จะให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ป.อ.ท.) ดำเนินคดี
งบ 3,079 ล้านบาท ครอบคลุม 2,041 โครงการ ซึ่งจะถูกนำไปใช้ขุดบ่อบาดาล 1,103 บ่อ โดย 3 บ่อจะอยู่ในสถานพยาบาล ส่วนอีก 1,100 บ่อ จะอยู่เขตนอกเขตการประปา
นางนฤมล กล่าวอีกว่า สำหรับงบนี้ จะแยกเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยสูงใน 1,270 หมู่บ้าน จะมีการขุดเจาะ 577 บ่อ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 526 บ่อ รวมเป็น 1,103 บ่อ ทั้งนี้ยังมีการหาแหล่งน้ำผิวดินอีก 230 โครงการ โครงการซ่อมแซมประปา 650 รวมเป็น 2,041 โครงการ ดังนั้นงบที่ใช้ขุดเจาะบ่อบาดาลไม่ใช่ราคาบ่อละ 6 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ โฆษกรัฐบาล ระบุว่า นายกฯ สั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงกลาโหม ติดตามและประสานการทำงานร่วมกับศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำของรัฐ บาล และประสานกับศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของทุกเหล่าทัพสนับสนุนทั้งมาตรการป้องกัน มาตรการแก้ปัญหาภัยแล้งเฉพาะหน้า
อย่าเชื่อข่าวเท็จ!! ขุดบ่อบาดาล 500 บ่อ ราคาบ่อละ 6 ล้านบาท ไม่จริง!! เพราะงบประมาณ 3,079 ล้านบาท ครอบคลุมโครงการทั้งสิ้น 2,041 โครงการ ซึ่งถูกนำไปใช้ขุดบ่อบาดาลจำนวน 1,103 บ่อ แยกเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยสูง 577 บ่อ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 526 บ่อ #โฆษกบอกต่อ #อาจารย์แหม่ม pic.twitter.com/2iaF9YEgwM
— Professor Narumon Pinyosinwat (@DrNarumonP) January 17, 2020
ขณะที่เพจไทยคู่ฟ้า ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีมาตรการแก้ปัญหาภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินการตามแผนแม่บทบริหารจัดการน้ำปี 2561-2580 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการแก้ปัญหาเรื่อง “น้ำ” ของรัฐบาลมาโดยตลอด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชลประทานที่ 8 มั่นใจมีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอ
"ยอ-ยก-ลม" น้ำยมพิจิตรแห้งขอด 4 เขื่อนลุ่มเจ้าพระยาส่อวิกฤต
แท็กที่เกี่ยวข้อง: