ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หอฯอันดามัน ห่วง “น้ำท่วมใต้” อาหารขาดแคลน -พื้นที่เกษตรจม

เศรษฐกิจ
29 พ.ย. 67
18:08
306
Logo Thai PBS
หอฯอันดามัน ห่วง “น้ำท่วมใต้” อาหารขาดแคลน -พื้นที่เกษตรจม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ห่วง อาหารขาดแคลน-พื้นที่เพราะปลูกเสียหาย “ทุเรียน - ยางพารา ”นครศรีฯ-ยะลา -นราธิวาส ชาวสวนขาดรายได้ ชี้ยังประเมินความเสียหายไม่ได้ วอนรัฐเร่งขนย้ายประชาชนขึ้นที่สูง พาณิชย์ สั่งสินค้า “ห้ามขาด-ห้ามแพง”

สถานการณ์น้ำท่วมใน 4 จังหวัดภาคใต้ “ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา” ครั้งนี้ ถือว่าเป็นน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 38 ปี โดยบางแห่งท่วมมากกว่าถึง 2 เท่าที่ไม่เคยท่วม เช่น เขตเทศบาลเมืองยะลาที่ท่วมหมด ทางรถไฟไม่สามารถเดินรถได้ การคมนาคมขาดในหลายอำเภอ ถือเป็นภัยพิบัติรุนแรงมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้

นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เปิดเผยกับ “ไทยพีบีเอสออนไลน์” ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ ใน 4 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา นับว่าเป็นความเสียหายหนักสุดในรอบ 38 ปี ที่ไม่เคยเจอเหตุการณ์น้ำท่วมสูงเช่นนี้ ทำให้ไม่สามารถประเมินความเสียจากอุทกภัยในครั้งนี้ได้ เพราะเหตุการณ์เพิ่งเกิด ประกอบกับหลายพื้นที่ยังเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ เพราะเส้นทางคมนาคมถูกน้ำท่วมสูง

อย่างไรก็ตามความเสียหายที่เกิดขึ้น อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจ และพื้นที่เกษตรบางส่วน เช่น นครศรีธรรมราช แม้ว่าตัวเลขความเสียหายยังไม่ชัดเจน แต่สวนทุเรียนได้รับความเสียหายจากลมกรรโชกแรง ลูกร่วง ชาวสวนไม่สามารถเข้าไปเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ หรือ สวนยางพาราที่มีฝนตกหนักทำให้ไม่สามารถเข้าไปกรีดยางได้ทำให้ขาดรายได้ หรือแม้แต่ในพื้นที่จ.ยะลา นราธิวาสที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ก็ยังเข้าไปประเมินความเสียหายไม่ได้ เพราะการเดินทางค่อนข้างลำบาก ส่วนพื้นที่อ.หาดใหญ่อยู่ระว่างการเฝ้าระวังเช่นกัน

หนักสุดในรอบกว่า 30 ปี จากการถามคนในพื้นที่บอกว่า หนักสุด สาเหตุน่าจะเกิดจากมีปริมาณฝนตกหนัก ทำให้น้ำระบายไม่ทันประกอบกับน้ำทะเลหนุนและมีปริมาณน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านไหลเอ่อเข้ามาสบทบทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เช่นที่ปัตตานี มีรายงานปริมาณน้ำบางวันมากถึง 100 มิลลิเมตร/24ชม. ทำให้เกิดน้ำล้นและเป็นจังวะที่น้ำทะเลหนุนทำให้การระบายน้ำทำได้ช้า ทำให้เกิดผลเสียหาย
นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน กล่าวอีกว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้นอกจากพื้นที่เกษตรกรรมที่ชาวสวนไม่มีรายได้แล้ว อาหาร วัตถุดิบ สำหรับประกอบอาหารที่บางส่วนมาจากภาคกลางก็เดินทางมาไม่ได้ เพราะเส้นทางขนส่งที่ถูกน้ำท่วม

ดังนั้นหากปริมาณน้ำยังไม่ลดจนอยู่ในระดับปลอดภัย อาจจะทำให้ขาดแคลนอาหารได้ เพราะทุกคนไม่ได้มีการสำรองอาหารไว้เพียงพอและไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ส่วนราคาสินค้าและอาหารต่างๆยังทรงตัว เพราะทุกคนทราบดีกว่าอยู่ในช่วงของความยากลำบากต้องช่วยเหลือกันและกัน

ล่าสุดนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานหอการค้าไทยและสภาหอการค้า โดยมูลนิธิพาณิชย์สงเคราะห์ในนามหอการค้าไทย ได้มอบเงิน 4 แสนบาท เพื่อให้หอการค้าแต่ละจังหวัดในภาคใต้นำไปทำกิจกรรมในพื้นที่น้ำท่วม โดยมอบให้หอการค้าจ.นครศรีธรรมราช 50,000 บาท หอการค้าจ.สงขลา100,000 บาท หอการค้าจ.ปัตตานี 100,000 บาท หอหารค้าจ.ยะลา 50,00 บาท และหอการค้าจ.นราธิวาส 100,000 บาท ซึ่งเป็นเงินตั้งต้นที่ภาคเอกชนเข้ามาให้การช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน

ยังเร็วไปที่จะประเมิน ขอรอดูตัวเลขอีกสักระยะเวลาก่อน ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมูลค่าเท่าไหร่ และพื้นที่ไหนบ้าง เพราะขณะนี้ทุกภาคส่วนต่างระดมคนเข้าไปช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน บางคนต้องอยู่บนหลังคา บางคนเริ่มขาดแคลนอาหาร 

ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ย้ำว่า สิ่งที่ประชาชนต้องการมากที่สุดในตอนนี้ คือ อาหาร ที่หลบฝน เพราะว่าขณะนี้ ฝนยังไม่หยุดตก บางคนขึ้นไปอยู่บนหลังคา หากมีที่พักพิงพื้นที่น้ำท่วมถูกตัดไฟเพื่อความปลออดภัย อยากให้รัฐบาลเร่งเคลื่อนย้ายคนไปอยู่ในที่ปลอดภัย ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

พ่อค้าผ้าม่านตลาดมะพร้าวยะลา ขนของหนีไม่ทัน

นายมูฮำหมัด มาหิเละ เจ้าของร้านผ้าม่าน ในตลาดมะพร้าว จ.ยะลา ซึ่งเป็นตลาดเสื้อผ้ามือสองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด กล่าวว่า ขณะนี้น้ำท่วมเกือบมิดหลังคา ซึ่งชาวบ้านบางส่วนอพยพออกมาอยู่ในพื้นที่สูง บางส่วนยังไม่สามารถออกมาได้ เพราะห่วงทรัพย์สิน ซึ่งร้านของตนเป็นร้านขายผ้าม่านได้รับความเสียหายกือบทั้งหมด เพราะขนย้ายสินค้าหนีน้ำไม่ทันและไม่คาดคิดว่าปริมาณน้ำจะสูง ทำให้เครื่องจักร ผ้าม่าน อุปกรณ์ตัดเย็บต่างๆจมไปกับน้ำ

นาย มูฮำหมัด มาหิเละ เจ้าของร้านผ้าม่าน ในตลาดมะพร้าว จ.ยะลา

นาย มูฮำหมัด มาหิเละ เจ้าของร้านผ้าม่าน ในตลาดมะพร้าว จ.ยะลา

นาย มูฮำหมัด มาหิเละ เจ้าของร้านผ้าม่าน ในตลาดมะพร้าว จ.ยะลา

น้ำท่วมรอบนี้มากกว่าปีก่อนมาก ปีก่อนผมแค่ขนของขึ้นที่สูงในร้านได้ แต่ปีนี้ทำไม่ได้เพราะน้ำมาเร็วและปริมาณน้ำมาก ทำให้ต้องขนของเฉพาะที่จำเป็นออกมาก่อน มีบางส่วนที่ขนออกมาไม่ทันก็ต้องไปลุ้นหลังน้ำลดว่าจะเสียหายมากน้อยแต่ไหน หากผ้าม่านชิ้นไหนดีก็น้ำมาล้างน้ำหากชิ้นไหนซ่อมไม่ได้ก็คงต้องทิ้งไป

นาย มูฮำหมัด กล่าวอีกว่า ตอนนี้ตนอพยพออกมาอยู่ที่บ้านในอ.ยะรัง แล้ว ซึ่งน้ำยังไม่ท่วม แต่ก็มีบางพื้นที่ใกล้เคียงท่วมบ้านชาวบ้านและติดอยู่ข้างใน อยากฝากถึงหน่วยงานรัฐให้เข้ามาเหลือประชาชนที่ยังติดอยู่ในตลาด เพราะบางส่วนเริ่มเดือนร้อนจากการไม่มีอาหาร น้ำไว้อุปโภคบริโภค

พาณิชย์ สั่งสินค้า “ห้ามขาด-ห้ามแพง”

นายวิทยากร มณีเนตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯได้ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าในพื้นที่น้ำท่วมภาคใต้อย่างใกล้ชิด ภายใต้นโยบาย ห้ามขาด-ห้ามแพง โดยเฉพาะในจ.นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล พบว่า สินค้าในห้างยังจำหน่ายปกติ ไม่มีการปิดห้างจากเหตุน้ำท่วม

ยกเว้นร้านสะดวกซื้อและร้านค้าในแหล่งชุมชนพื้นที่น้ำท่วมบางแห่งที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งกรมพร้อมประสานและเข้าช่วยเหลือ หากมีปัญหาในเรื่องของสถานการณ์สินค้า ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของห้าง หรือประชาชน โดยสามารถแจ้งผ่านสำนักงานพาณิชย์จังหวัดหรือโทรสายด่วน 1569 ได้ทันที

 นายวิทยากร มณีเนตร อธิบดีกรมการค้าภายใน

นายวิทยากร มณีเนตร อธิบดีกรมการค้าภายใน

นายวิทยากร มณีเนตร อธิบดีกรมการค้าภายใน

ทั้งนี้ กรมได้ประสานงานไปยังห้างค้าปลีกค้าส่ง ให้เตรียมสต๊อกสินค้าให้เพียงพอ และให้วางแผนรับมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และประสานไปยังผู้ขนส่งสินค้า ให้เตรียมการในเรื่องการขนส่งสินค้าให้ดี เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งทั้งห้างและผู้ประกอบการขนส่ง ได้รับที่จะดูแลไม่ให้มีปัญหาทั้งในเรื่องสินค้า และเรื่องการขนส่งแล้ว

ขณะเดียวกัน ได้เน้นย้ำให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง หากมีปัญหาตรงจุดใด หรือมีปัญหาสินค้ารายการใดไม่เพียงพอ ก็ให้ประสานงานเข้ามายังส่วนกลางทันที เพื่อที่จะได้ประสานงานไปยังผู้ผลิต และจะได้ดำเนินการแก้ไขอย่างทันท่วงที รวมทั้งให้กำกับดูแล ไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคา กักตุนสินค้า และเอารัดเอาเปรียบประชาชน ตลอดจนติดตามตรวจสอบการปิดป้ายแสดงราคา ให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน

สำหรับโทษ กรณีกักตุนสินค้า ฉวยโอกาสขึ้นราคา เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีไม่ปิดป้ายแสดงราคา มีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท

 อ่าข่าว:

 ศึกสิบทิศ “ข้าวไทย” 2568 “สต็อก” โลกล้น เขย่าธุรกิจวงการค้า

คลี่ยุทธศาสตร์การค้า โชว์พาว “สุนันทา กังวาลกุลกิจ” อธิบดีป้ายแดง

ถึงเวลา ? ชาวนาไทยปรับตัวรับเทรนด์โลก ผลิต "ข้าว"คาร์บอนต่ำ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง