ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เอกชน ถก รัฐ ดันเกษตรไทย ฝ่าวิกฤตสงครามการค้า เสนอ 8 ทางออกเร่งด่วน

เศรษฐกิจ
1 พ.ค. 68
17:23
92
Logo Thai PBS
เอกชน ถก รัฐ ดันเกษตรไทย ฝ่าวิกฤตสงครามการค้า เสนอ 8 ทางออกเร่งด่วน
อ่านให้ฟัง
08:01อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ประธานหอการค้าไทยฯ นำทีมถกกระทรวงเกษตรฯ ดัน 8 ข้อเสนอเร่งด่วนฝ่าวิกฤตสงครามการค้า หวังเพื่อเพิ่มศักยภาพภาคเกษตรไทย

วันนี้ ( 1พ.ค.2568) นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังการหารือกับนายอิทธิ ศิริลัทธยากร รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรภายในประเทศและการส่งออกสินค้าเกษตรไปต่างประเทศ ซึ่งต้องยอมรับว่าภาคเกษตรและอาหารมีความสำคัญ อย่างยิ่งต่อการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานกรรมการ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรและส่งออก นับว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการจ้างงาน แต่ด้วยสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์และสงครามการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ รวมถึงการส่งออกทุเรียนไปจีนที่มีปัญหาเรื่องสาร Basic Yellow 2 หากไม่ได้การแก้ไขเป็นการเร่งด่วนจะทำให้ภาคเกษตรของไทยได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งห่วงโซ่อุปทานของภาคการเกษตรไทย

ประธานหอการค้า กล่าวอีกกว่า คณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้นำเสนอนโยบาย Unlocking New Growth : ศักยภาพใหม่แห่งการเติบโต ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักในการขับเคลื่อนประเทศ ให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก พร้อมทั้งได้ให้ความสำคัญกับ 5 Core Value Chain ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และธุรกิจ

ได้แก่ ภาคการค้าและการลงทุน ภาคเกษตรและอาหาร ภาคท่องเที่ยวและบริการ AI Robot & Digital Technology และ 5Sustainability ในการขับเคลื่อนเป้าหมายให้ตรงจุด พร้อมกับยกระดับภาคเกษตร และอาหารของไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นคลังอาหารของโลก

โดย หอการค้าไทย ได้เสนอประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะเร่งด่วนของธุรกิจเกษตรและอาหารต่อรมช.เกษตรกรฯ เพื่อแก้ปัญหาภาคเกษตรภายในประเทศและการส่งออกสินค้าเกษตร ไปต่างประเทศ ดังนี้

1. จัดตั้งคณะกรรมการ Global Trade Task Force เพื่อสร้างความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาภาคเกษตรภายในประเทศและการส่งออกสินค้าเกษตรไปต่างประเทศ พร้อมทั้ง พิจารณาการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารที่จำเป็นจากสหรัฐฯ ที่จะช่วยให้ไทยมีจุดยืนที่ดีขึ้นในการเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯ และเสนอให้กระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนงบประมาณเพื่อยกระดับประสิทธิการผลิตและลดต้นทุนสินค้าเกษตร ตลอดจน สนับสนุนการนำเข้าสินค้าเกษตรคุณภาพจากต่างประเทศมาแปรรูปแล้วส่งออกในรูปแบบสินค้ามูลค่าสูง

ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้มีคำสั่งบริหารฉบับใหม่ชื่อ “Restoring American Seafood Competitiveness” Executive Orders April 17, 2025 เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารทะเลของสหรัฐฯ

ขอให้กระทรวงเกษตรฯ ช่วยประสานงานกับสหรัฐฯ พิจารณายกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าทูน่ากระป๋อง (160414) ที่ผลิตจากทูน่าของสหรัฐฯ ให้กับไทย (US MFN Rate ทูน่ากระป๋อง 12.5%) และลดอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีทั้งหมด (Non-Tariff Barriers: NTBs) รวมถึงเร่งรัดการเจรจา FTA เพื่อประโยชน์ทางสิทธิภาษีในด้านสินค้าประมง โดยต้องไม่กระทบเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศ
นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2. ปัญหาการส่งออกทุเรียนไปจีน จึงขอให้จัดตั้ง “ทีมประเทศไทยแก้ไขปัญหาส่งออกทุเรียนและผลไม้ไปจีน (Team Thailand)” เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมกันวางแนวทางการเจรจาและดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาการส่งออกทุเรียนไปยังจีนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเสนอให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งรัดประสานงานทางการจีนพิจารณาผ่อนปรนมาตรการตรวจสอบสารตกค้างในทุเรียนไทยและเพิ่มเพิ่มความรวดเร็วในการตรวจผ่านด่านเพิ่มเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจ รวมทั้งเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่เพื่อรองรับปริมาณสินค้าที่จะส่งออกไปยังตลาดจีนในช่วงฤดูผลไม้

3. เสนอให้กระทรวงเกษตรฯ ร่วมมือกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนดำเนินการควบคุมการใช้ ผลิต นำเข้า ส่งออก และห้ามมีไว้ครอบครองสารคลอร์ไพริฟอส ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาการส่งออกข้าวไทยไปต่างประเทศ

4. เสนอให้กระทรวงเกษตรฯ ลดอุปสรรคต่อการส่งออก ทั้งด้านกฎหมายและกฎระเบียบที่สุ่มเสี่ยง ต่อการขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศ NTB

5. เร่งรัดการประสานงานกับ Federal Service for Veterinary and Phytosanitary Surveillances (FSVPS) เพื่อลดอุปสรรคการถูกระงับการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำแปรรูปและอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยจากประเทศรัสเซีย

6. การบูรณาการความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมแช่เยือกแข็งไทย โดยเร่งรัดแก้ไขปัญหาวัตถุดิบขาดแคลน ทั้งด้านการเลี้ยงและการจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งเสริมและสรรหาแหล่งวัตถุดิบจากประเทศที่มีศักยภาพ สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ระบบเทคโนโลยี ในการตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างฐานข้อมูลภาครัฐและเอกชน ให้เกิดประสิทธิภาพ

7. เสนอให้ยกระดับอาหารแห่งอนาคต (Future Food) โดยร่วมมือกับหอการค้าไทยในการสนับสนุน และส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงผำ ตั้งแต่การให้องค์ความรู้ด้านการผลิต การรับรองตามระบบมาตรฐานสินค้าเกษตร การพัฒนาสายพันธุ์ผำที่ตลาดต้องการ ฯลฯ พร้อมทั้งสนับสนุน Lab ตรวจวิเคราะห์โปรตีนในผำอบแห้ง และร่วมส่งเสริมการตลาดผำอบแห้งของไทยในชื่อ ผำฉะ ที่มีคุณประโยชน์และสามารถประกอบอาหารคล้ายชาเขียวมัทฉะ

8. การบูรณาการความร่วมมือขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรและอาหาร (AFC) โดยให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดทั่วประเทศจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบศูนย์ AFC ประจำจังหวัด เพื่อร่วมกันทำงานต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด-ราคาตกต่ำของเกษตรกร



ทั้งนี้คณะกรรมการหอการค้าฯจะรวบรวมข้อเสนอจากสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศซึ่งกระทรวงเกษตรฯจะจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือภาครัฐและเอกชนด้านเกษตรและอาหาร (กรอ.กษ) เพื่อพิจารณานำประเด็นที่เกี่ยวข้องไปร่วมแก้ไขร่วมกัน

อ่านข่าว:

 สศค. หั่น GDP ไทย โต 2.1% ปัจจัยเสี่ยงภาษีทรัมป์-เศรษฐกิจโลกชะลอ

“มูดีส์” ส่งสัญญาณไทยโตต่ำ หอการค้าฯแนะภาคธุรกิจเร่งปรับตัว

แรงงานไทย “หนี้” เต็มกระเป๋า 98.8% ชี้ "ค่าจ้างขั้นต่ำ" ไม่สอดคล้องยุคของแพง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง