วันนี้ ( 3 พ.ค.2568) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยทำงานกับภาคีภาคสังคม ขยายขอบเขตการต่อต้านคอร์รัปชันลงถึงฐานหน่วยเลือกตั้งหน่วยแรก เริ่มจากการเลือกตั้ง อบจ.

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ซึ่งเป็นหน่วยสำคัญพื้นฐานในระดับพื้นที่หรือจังหวัด รวมทั้งเทศบาลเป็นกำลังสำคัญทางการเมือง เป็นหน่วยเศรษฐกิจสังคมในระดับจุลภาค หรือระดับย่อย เชื่อมต่อถึง อบต. และก่อนจะถึง สส. จะเห็นพัฒนาการระบบแนวคิด ทัศนคติประชาชนที่มีต่อระบบเลือกตั้ง เราจะเริ่มเห็นพัฒนาการเปลี่ยนแปลงเพราะเราทำงานวิชาการระดับประเทศ
โดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อ “คนไทย” สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี จากกลุ่มเป้าหมาย: ประชาชน จำนวน 1,020 ตัวอย่างทั่วประเทศ (สำรวจระหว่างวันที่ 16-25 เม.ย.2568) ประกอบด้วย กลุ่มประชาชนทั่วไปผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 711 ตัวอย่าง และกลุ่มประชาชนที่ยังไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง (อายุ 15 ปี) จำนวน 309 ตัวอย่าง

จากผลสำรวจ พบว่า ประชาชนมองว่าการโกงเป็นสิ่งไม่ดี พร้อมจะปฏิเสธคนไม่ดี ถ้าได้ทราบประวัติหรือข้อบกพร่อง จะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือก แต่น่าเสียดายที่ผลเลือกตั้งที่ออกมาทุกครั้งมีความล้มเหลวเกิดขึ้น ประชาชนจะตอบปานกลางกับน้อย ผลสำรวจบอกซื้อเสียง 1,100 บาบ/หัว สูงสุด 4,000 บาท/ตัว จ่ายต่ำสุด 120 บาท/ตัว แต่ในสนามจริง 2,000 บาทก็มี ซึ่งกกต.ต้องปราบปรามอย่างจริงจังกว่านี้
สำหรับเยาวชนอายุ 15-17 ปี ยังไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ชัดเจนว่า เน้นความโปร่งใสอันดับ 1 ขณะที่ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ให้ความสำคัญเรื่องนี้ลำดับท้ายๆ ทำให้ภาคีและมหาวิทยาลัยเห็นร่วมกันว่า ยังมีความหวังกับคนรุ่นใหม่ เอาเด็กมาเติมน้ำใสไล่น้ำเสีย

โดยจากการสอบถามว่าหากมีการรับเงินแล้วจะเลือกคนที่จ่ายเงินหรือไม่ พบว่า 86.1% ตอบไม่เลือก และ13.9%ตอบเลือก และ 84.2% การซื้อเสียงเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ และ 15.8% ยอมรับได้
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างตอบว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการซื้อเสียงโดยทั่วไปถึง 47.4% และ42.1% มองว่าจะมีการซื้อเสียงในพื้นที่ และ 10.5%มองว่าจะไม่มีการซื้อเสียง กลุ่มตัวอย่างยังระบุถึงความเชื่อมั่นในระบบการเลือกตั้งท้องถิ่น จะเลือกคนดี มีความสามารถ มองว่า 46.6% มีน้อย และ 45% ปานกลาง มีเพียง 8.4% ที่ตอบ มาก
ผลสำรวจชัดเจนว่าประชาชนปฏิเสธผู้นำองค์กรที่ไม่ซื่อสัตย์ไม่สุจริตและพร้อมจะร่วมมือทุกภาคส่วนในการกำจัดคอร์รัปชันให้สิ้น ไม่ยอมรับผู้นำที่ไม่โปร่งใสแต่ทำผลงาน
ส่วนแนวทางในอนาคต ตัวเลข CPI ไทยอันดับ 108 คะแนน 34 คะแนน ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยได้ 40 คะแนน ทำไมเวียดนามทำได้ 40 คะแนน เพราะเวลาพูดถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นักลงทุนจะมองเรื่องคอร์รัปชันเป็นสำคัญถ้าต้องจ่ายเงินจะไม่น่าสนใจในการลงทุน
ในขณะที่เวียดนามมีเสน่ห์ในการลงทุน ดังนั้น การที่ในระดับท้องถิ่นยังมีการซื้อเสียง มีการทุจริตและน่าจะมีเงินสะพัดมาก ยิ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองหลัง พ.ค. ตัวเลขเงินสะพัดน่าจะมากกว่านี้

คาดหวังว่ากกต.น่าจะทำงานเข้มข้นขึ้นในการสกัดการซื้อเสียง เพื่อให้ได้คนโปร่งใส การสำรวจเทศบาลจึงสำคัญในอันดับต้นๆ เพราะเป็นการเลือกตั้งในระดับพื้นฐาน ถ้ามีการทุจริตในการเลือกตั้งระดับนี้ การเลือกตั้งระดับอื่นย่อมจะมีตามมาด้วย
อย่างไรก็ตามคาดว่าเลือกตั้งเทศบาลจะมีเงินสะพัด 20,000-40,000ล้านบาท ส่วนเลือกตั้งระดับประเทศ เงินสะพัด 30,000-50,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการประเมินทางวิชาการ หากมีอุบัติเหตุทางการเมือง การวางรากฐานทางการเมืองท้องถิ่นและการเชื่อมโยงจังหวัดจะยิ่งทำให้เม็ดเงินสะพัดสูงขึ้น

นายวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิ เพื่อคนไทย
นายวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิ เพื่อคนไทย
นายวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิ เพื่อคนไทย กล่าวว่า ประชาชนในเขตเทศบาลต่างๆ รับทราบและไม่ยอมรับคนโกง ประชาชนทราบว่ามีการทุจริตคอร์รัปชันกว้างขวาง และการทุจริตมีผลต่อมิติต่างๆ ในชีวิตความเป็นอยู่ จึงไม่พอใจกับผลงานของผู้บริหารเทศบาลในอดีต กลุ่มตัวอย่างตอบ พอใจน้อยมาก ส่วนใหญ่ตอบไม่พอใจ ซึ่งประชาชนไม่พอใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต มีพอใจไม่ถึง 10%
ดร.มานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า รูปแบบการโกง พฤติกรรมการโกงในภาครัฐและในท้องถิ่นไม่แตกต่าง และมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ จากผลสำรวจได้เห็นข้อมูลความเห็นของประชาชนในพื้นที่การเลือกตั้ง อบจ. ก่อนหน้านี้

ดร.มานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
ดร.มานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
มีผลวิจัยสะท้อนให้เห็นผลกระทบการทุจริตต่อประชาชนในหมู่บ้าน และชัดเจนว่า ประชาชนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง เลือกตั้งครั้งนี้ เทศบาลทั่วประเทศสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มาก หากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเปลี่ยนวิธีการตัดสินใจเลือกตั้ง ไม่ยอมแลกการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ในการเลือกตั้งครั้งนี้
ขอให้ยึดหลัก 1 สิทธิ์พลิกชีวิตมหาศาลก็จะเป็นการสร้างแนวพัฒนาที่ดีทางการเมือง สิ่งที่ทำได้ ACT และภาคีพยายามเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ไปถึงระดับชุมชนเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

ดร.มานะ กล่าวอีกว่า เงินซื้อเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่น เดิม อบจ. 700-800 บาท ต่อหัว แต่ครั้งนี้ หน่วยเลือกตั้งเล็กลง จำนวนเงินซื้อเสียงจะมากขึ้น ในระดับ อบต. ที่มีงบลงทุนหรือมีผลประโยชน์สูง หรือแหล่งท่องเที่ยว อัตราการซื้อเสียงจะมีผลประโยชน์มากขึ้น บางจุดพุ่งไป 10,000 กว่าบาท แต่แง่การดำเนินคดี น่าผิดหวัง หน่วยงาน กกต. นำจับ นำคนผิดมาลงโทษได้น้อยมาก ประชาชนรู้ดีว่า พื้นที่ตรงนั้นมีการซื้อเสียง ครั้งนี้ก็มีอีก
อ่านข่าว:
ปราจีนฯ อัสดง “บ้านใหม่-ทุนใหญ่” รุกฆาต “การเมืองท้องถิ่น”
เลือกตั้งเทศบาล 2568 ใครมีสิทธิ เลือกวันไหน ต้องเตรียมอะไรบ้าง
“กกต.” รณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งเทศบาล 11 พ.ค.นี้
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
- เลือกตั้งเทศบาลทั่วประเทศ
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง
- กกต.
- เลือกตั้ง สท.
- ทุจริตเลือกตั้ง สท.
- เลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล - นายกเทศมนตรี
- เลือกตั้งนายกเทศมนตรี
- เลือกตั้งท้องถิ่น
- เลือกตั้งท้องถิ่น2568
- เลือกตั้งท้องถิ่น 2568
- กฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น
- การเลือกตั้งท้องถิ่น
- สนามเลือกตั้งท้องถิ่น
- หอการค้าไทย
- องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
- มูลนิธิ เพื่อคนไทย
- นายธนวรรธน์ พลวิชัย
- ข่าววันนี้
- ข่าวล่าสุด