ญี่ปุ่นเผชิญวิกฤตนักท่องเที่ยวล้นเมือง (Overtourism) เมื่อยอดพุ่งสูงสุด 36.9 ล้านคนในปี 2024 เกียวโต โตเกียว โอซากะ แออัดจนกระทบชีวิตคนท้องถิ่น รัฐบาลตั้งเป้า 60 ล้านคนอีก 5 ปี แต่ปัญหาความวุ่นวาย ขนส่งล้น พฤติกรรมนักท่องเที่ยวอาจทำลายเอกลักษณ์ดั้งเดิม
ยูเนสโกได้ประกาศให้ 8 แห่งในประเทศไทยเป็นเมืองมรดกโลก และมีอีกหลายพื้นที่อยู่ใน "บัญชีรายชื่อเบื้องต้น" ขณะเดียวกันก็ยังมีความไม่พร้อม หรือความไม่เข้าใจของคนในชุมชนรอบเมืองมรดโลก ไปจนถึงเรื่องการพัฒนาพื้นที่และการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นบทเรียนสำหรับการพัฒนาพื้นที่
ไทยมีแหล่งมรดกโลกแล้ว 8 แห่ง ซึ่งการมีสถานะ "มรดกโลก" จากยูเนสโก จะได้รับประโยชน์ทั้งในแง่งบประมาณสนับสนุน รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่กว่าจะได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างเมืองเชียงใหม่ มีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้นมาตั้งแต่ปี 2558
กระทรวงวัฒนธรรม ชูนโนบายวัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตั้งเป้าประเทศไทย 1 ภาค 1 มรดกโลก ผลักดันให้แต่ละภูมิภาคมีมรดกโลกเป็นของตัวเอง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ภายใต้โอกาสยังมีข้อท้าทาย คือ ทำอย่างไรให้เศรษฐกิจในพื้นที่กับมรดกโลกโตได้พร้อมงานอนุรักษ์ เพื่อให้เป็นเมืองมรดกโลกที่มีชีวิต
ชาวภูเก็ตภูมิใจ หลังชุด "เคบายา" ได้ถูกประกาศเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยเชื่อว่าหลังจากนี้จะทำให้เกิดกระแสความนิยมสวมใส่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ช่วยกันสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และยังต่อยอดสร้างรายได้ให้กับช่างตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมืองด้วย
“ต้มยำกุ้ง” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒธรรมที่จับต้องไม่ได้จาก “ยูเนสโก” ด้าน ร้านอาหารหลายแห่งต่างดีใจ เพราะจะช่วยส่งเสริมให้ผู้คนทั่วโลกรู้จักเมนูนี้มากขึ้น โดยมองว่า ต้มยำกุ้ง ถือเป็นเมนูที่ควรค่าแก่การเชิดชู เพราะเป็นภูมิปัญญาของคนไทยอย่างแท้จริง
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนที่ต้องการรักษาอนุรักษ์ กับกลุ่มคนที่ต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อพื้นที่มรดกโลก เลขาฯ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนยันว่า โครงการนี้จะยังไม่เกิดขึ้น หากแผน SEA หรือ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ยังทำไม่เสร็จสมบูรณ์ ตามที่เครือข่ายประชาชนเดินทางไปร้องเรียน
เครือข่ายภาคประชาชน 29 กลุ่มในพื้นที่นครนายก-นครราชสีมา-ปราจีนบุรี คัดค้านโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำรอบพื้นที่ป่ามรดกโลก ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ของกรมชลประทาน พื้นที่ป่ารวมกว่า 20,000 ไร่ โดยตั้งข้อสังเกตว่าการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม อาจมีข้อมูลไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
วันนี้ (29 ก.ค. 67) นักท่องเที่ยวทยอยเข้าชมความงดงาม “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” จ.อุดรธานี ภายหลังองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของประเทศไทย การประกาศของยูเนสโกครั้งนี้ ทำให้อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกลำดับที่ 8 ของประเทศไทย และแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 5 ของประเทศไทย ต่อจากเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่ได้ประกาศไปเมื่อปี 2566 และยังเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 2 ของ จ.อุดรธานี ต่อจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก เมื่อปี 2535