รู้จักพี่ยาใจไหม ?
เรื่องราวของ ยาใจ ยังมีหลายแง่มุมให้คุณผู้ชมได้สัมผัส ได้ค้นหา และได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของเธอ ชีวิตของยาใจ จะดำเนินต่อไปอย่างไร ผู้คนรอบข้างจะทำให้เธอวุ่นวายแค่ไหน ต้องติดตาม “รู้จักพี่ยาใจไหม ?”
นิศาชล สิ่วไธสง
รับบท ยาใจ
อนุชิต สพันธุ์พงษ์
รับบท ชาติชาย
วโรดม เข็มมณฑา
รับบท ป๊อป
รัตนวดี วงค์ทอง
รับบท ชมพู
ฐิตินันท์ คลังเพชร
รับบท ออมสิน
สุพจน์ จันทร์เจริญ
รับบท เกรียงไกร
ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
รับบท คุณยายน้อย
“ยาใจหัตถ์เทวดา” ฉายาของ ยาใจ หมอนวดสาวที่เป็นที่ต้องการตัวของรีสอร์ตสปามากมายแต่หลบหนีทุกสิ่ง ใช้ชีวิตลึกลับ เพื่อซ่อนตัวจากชื่อเสียงมาอยู่ในแฟตเล็ก ๆ ที่มีชาวแฟลตขี้ระแวง และสงสัยว่าเธอทำมาหากินไม่สุจริต และหลบซ่อนตัวจาก คุณยายน้อย ญาติผู้ใหญ่เพียงคนเดียวของเธอที่พยายามจะจับคู่เธอกับ เกรียงไกร เพื่อหวังให้มีทายาทเพื่อสืบทอดวิชาการนวด “หัตถ์เทวดา”
ท่ามกลางความสงสัยของเหล่าเพื่อนบ้านและความวุ่นวายรอบตัว เธอมีที่พักใจเพียงแห่งเดียว คือ ร้านทำผมของ ชาติชาย ซึ่งเป็นเพื่อนที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยมัธยม แต่ก็ต้องพบกับการต่อต้านของ ชมพู ลูกสาวของชาติชาย ชีวิตของยาใจ จะดำเนินต่อไปอย่างไร ผู้คนรอบข้างจะทำให้เธอวุ่นวายแค่ไหน ต้องติดตาม “รู้จักพี่ยาใจไหม ?”
ติดตามชมละคร "รู้จักพี่ยาใจไหม ?" ทุกวันศุกร์ - อาทิตย์ เวลา 20.30 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3
The Taste of Rayong Cacao : ลิ้มรสโกโก้ระยอง
เรื่องราวของวัตถุดิบจากต่างถิ่นในจังหวัดระยองที่พัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจ วัตถุดิบโกโก้เป็นหนึ่งในพืชที่ชุมชนหันมาปลูกและใส่ใจในการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากโกโก้ยังนำลูกกระบก อัลมอนด์จากผืนป่า ปรับสูตรให้เข้ากับคนรุ่นใหม่ในรูปแบบเนยถั่วกระบก เพิ่มความหลากหลายให้กับการบริโภคของคนในยุคปัจจุบัน
ตอนที่ 1/2
เจวัน ช่างภาพหนุ่ม ถูกกดดันจาก เพิร์ล แฟนสาวของเขาให้แต่งงาน แม้เขาจะยังไม่พร้อม แต่ก็ยอมแต่งงานเพราะความสงสารแฟนสาว แต่ในช่วงเตรียมการจัดงานแต่งงาน เจวันได้รับงานถ่ายภาพปฏิทิน “ของดีจังหวัดน่าน” ที่จังหวัดน่านเจวันได้เจอปัญหาในการขอถ่ายภาพผ้าโบราณจาก แม่อุ้ยแสง เจ้าขอเรือนผ้าโบราณ ทำให้ได้พบกับ แว่นฟ้า ครูสอนฟ้อนไทลื้อหลานแม่อุ้ยแสงที่ได้เข้ามาช่วยคลายปัญหาเรื่องนี้ไว้ ความผูกพันของทั้งคู่เริ่มต้นขึ้นเมื่อทั้งคู่ช่วยกันฟื้นฟูประเพณีเกี๋ยงเป็งให้น่าสนใจเหมาะกับยุคสมัย ท่ามกลางการคัดค้านจากคนในหมู่บ้าน
เมี่ยงผลไม้รสเปรี้ยวพื้นบ้าน
กินผลไม้รสเปรี้ยวพื้นบ้านไทยที่มีมากในช่วงฤดูร้อนทั้ง มะยม, มะปรางดิบ, มะยงชิด, มะดัน, ตะลิงปลิง, เชอร์รีไทย, มะหลอด และลิ้นจี่ป่า มากินกับเครื่องจิ้มตัดรสเปรี้ยวของผลไม้อย่าง ตำเมี่ยง ที่ใส่พริกแห้งข่า ตะไคร้ ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้าแบบดั้งเดิม และทำตำเมี่ยงแบบประยุกต์ใส่ถั่วลิสง และงาขาว งาดำคั่ว เพิ่มรสชาติแล้วทำเมี่ยงน้ำปลาหวานแบบแห้ง