วันนี้ (16 พ.ค.2568) รศ.ณดา จันทร์สม ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) กล่าวถึงระบบการบริหารจัดการเงินวัดตามที่ระบุใน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ให้อำนาจสูงสุดอยู่ที่เจ้าอาวาสวัด ในการที่จะเป็นผู้ที่มีอำนาจในการแต่งตั้ง ตรวจสอบ หรืออำนาจในการตัดสินใจทั้งหมดภายในวัด
คณะกรรมการวัดเป็นสิ่งที่อยากผลักดันให้มี และคณะกรรมการวัดควรจะได้มีบทบาทในการที่จะไปกำกับทิศทาง ในการบริหารจัดการวัดในเรื่องต่างๆ เพียงแต่ว่าอำนาจในการไปในการบริหารวัดจริงๆ ยังอยู่ที่ท่านเจ้าอาวาสวัดเพราะฉะนั้นก็หมายความว่า ถึงแม้มีคณะกรรมการวัด ซึ่งคำถามก็ต้องตั้งคำถามว่าคณะกรรมการได้มาอย่างไร เพราะยังไม่ได้มีกฎหมายกำหนดว่าคณะกรรมการวัดต้องกำหนดขึ้นมาอย่างไร และก็เป็นเรื่องที่ท่านเจ้าอาวาสเองเป็นคนกำหนดว่าจะมีคณะกรรมการวัด

รศ.ณดา จันทร์สม ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ NIDA
รศ.ณดา จันทร์สม ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพัฒนาการเศรษฐกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ NIDA
คณะกรรมการวัด ไม่ได้เป็นข้อกำหนดว่าจะต้องมี ซึ่งบางวัดเองอาจจะมีข้อจำกัดในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องขนาดของวัด วัดที่อยู่ในประเทศไทยมีประมาณ 40,000 วัด มีวัดขนาดใหญ่อยู่เพียงไม่กี่วัด วัดขนาดเล็กบางวัดอาจจะมีรายได้ไม่ถึง 100,000 บาทต่อปี จึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างในการกำกับที่มีความรัดกุมรอบคอบมากขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาที่จะดำเนินการเพื่อให้มันเกิดความโปร่งใสมากขึ้นและตรวจสอบได้
ตามกฎหมายกำหนดเอาไว้แค่บทบาทของไวยาวัจกร ซึ่งก็ยังมีประเด็นว่าไวยาวัจกรที่มาทำหน้าที่ในเรื่องต่างๆ แทนเจ้าอาวาสที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ หรือเรื่องที่สงฆ์ไม่พึงจะต้องทำเอง
ไวยาวัจกรเองกฎหมายก็ยังกำหนดเอาไว้ว่าได้มาโดยที่ท่านเจ้าอาวาสเสนอชื่อแต่งตั้ง เสนอชื่อไปตามลำดับชั้นการปกครอง เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้ว อำนาจในการบริหารภายในวัดเอง ก็ยังคงอยู่ที่เจ้าอาวาสวัด
อ่านข่าว : "เจ้าคุณแย้ม" ยอมสึกหน้าพระพุทธรูป ก่อน ตร.ส่งศาลฝากขัง
ซึ่งเป็นกฎหมายยังอยู่ แล้วก็ไม่ได้มีการแก้ไขประเด็นนี้ แม้ว่าจะอยากจะให้มีลักษณะของการปรับเปลี่ยนที่เป็นคณะกรรมการที่มาจากภายนอก และคณะกรรมการก็ควรจะมีที่มาที่ไปที่ชัดเจนว่าจะถูกคัดเลือกคัดกรองอย่างไร ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ หรือว่าคนใน ในพื้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร

รศ.ณดา ยังระบุว่าเรื่องบัญชีวัดเป็นอีกหนึ่งช่องโหว่ ถึงแม้จะมีคำสั่งให้ทำบัญชีขึ้นมา แต่ต้องไปดูรูปแบบของวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรูปแบบบัญชีอย่างง่าย และยังไม่ได้มีการกำหนดว่าจะต้องมีการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรับการจ่าย มีระเบียบในการเบิกจ่ายเงินที่ชัดเจน จึงทำให้บัญชีที่แต่ละวันทำขึ้นมามีความเป็นไปได้ว่า จะถูกทำขึ้นมาโดยที่ไม่มีเอกสารประกอบในการเบิกจ่ายที่สามารถเทียบได้ว่า เงินเหล่านั้นถูกนำไปใช้จ่ายอะไรบ้าง
บัญชีที่วัดส่งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อาจไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการวัด หรือบุคคลภายนอก ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการโยกย้ายเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาในเรื่องการกำกับดูแลในเรื่องของวัด มีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความรัดกุม รอบคอบ
รศ.ณดาเสนอให้มีการพิจารณาปรับปรุง กลไกการตรวจสอบภายในวัดให้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ รวมถึงกำหนดให้ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลบัญชีต่อสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และป้องกันไม่ให้เงินบริจาคจากความศรัทธาถูกนำไปใช้ผิดทาง
ระบบที่มีอยู่ ระเบียบที่มีอยู่ตอนนี้ สามารถที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้หรือไม่
อ่านข่าว :
พระทาสพนัน "พระพยอม" ซัดทำเสื่อม เอาศีล สมาธิ ปัญญา ไปไว้ไหน
"ชูศักดิ์" สั่ง "พศ." ตรวจสอบความเชื่อมโยงวัดอื่น หลังเกิดเหตุยักยอกเงินวัดไร่ขิง
ค้นวัดไร่ขิงหาหลักฐานเพิ่มคดี "อดีตเจ้าอาวาส" ยักยอกเงิน 300 ล้าน
จับเพิ่ม "อรัญญาวรรณ" คดีเจ้าอาวาสวัดไร่ขิงยักยอกเงินวัด 300 ล้าน